คลัสเตอร์ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมฯ “ผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนไม่เห็นด้วยต่อการปรับลดภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป”

พุธ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๕:๔๙
อ้างถึงแหล่งข่าวจากสื่อต่างๆ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 ระบุว่า สมาคมผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์ใหม่ ขอให้กระทรวงการคลัง พิจารณาการปรับลดภาษีนำเข้ารถยนต์ (CBU) ทุกยี่ห้อ จากเดิมจัดเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 80% โดยขอปรับลดเหลือประมาณ 40% ซึ่งได้รับการตอบรับจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่อัตราการจัดเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์จะปรับลดลงหรือไม่ จะต้องติดตามจากมติคณะรัฐมนตรีนั้น

คลัสเตอร์ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมยาน-ยนต์และกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย

ไม่เห็นด้วยต่อการปรับลดภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป โดยขอให้คงอัตราภาษีนำเข้าปัจจุบัน เพื่อเป็นการรักษาฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนภายในประเทศ เนื่องจาก

การปรับอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป จะมีส่วนในการสร้างแรงจูงใจในการนำเข้าแทน การผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนภายในประเทศ ซึ่งโดยข้อเท็จจริง อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน มีส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับประเทศ มากกว่าร้อยละ 10 ของ GDP ภาคอุตสาหกรรม และมีการจ้างงานมากกว่า 850,000 คน ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำถึงปลายน้ำ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ประกอบการยานยนต์ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ รวมถึงอุตสาหกรรมสนับสนุน ซึ่งรวมจำนวนผู้ประกอบการแล้วมีมากกว่า 2,500 ราย อีกทั้ง ในปี 2560 อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมียอดผลิตรถยนต์ที่ 1.98 ล้านคัน ดังนั้น การปรับลดภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป จะทำให้เกิดการนำเข้า ทดแทนการผลิตภายในประเทศ และจะส่งผลต่อเศรษฐกิจ และการจ้างงานของประเทศไทย รวมถึงยังมีโอกาสให้นักลงทุนย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศที่มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน

การปรับลดอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป จะไม่สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมการลงทุนและการรักษาฐานการผลิตของประเทศไทย เนื่องจากในปัจจุบันภาครัฐ มีการส่งเสริมการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ภายในประเทศ ในหลากหลายประเภทรถยนต์เป็นอย่างมาก อีกทั้ง ภาครัฐอยู่ระหว่างการส่งเสริมการลงทุนในเชิงพื้นที่ อาทิ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มเติม ดังนั้น การปรับลดอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปของภาครัฐจะสวนทางกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนในปัจจุบันและสร้างสัญญาณในเชิงลบต่อการลงทุน ไปยังนักลงทุนภาคเอกชนจากต่างประเทศ ที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนภายในประเทศไทยเพิ่มเติม

อัตราโครงสร้างภาษีนำเข้าในปัจจุบันทั้งรถยนต์สำเร็จรูปและชิ้นส่วน มีความสมดุลและเหมาะสมกับสภาพการแข่งขันระหว่างรถยนต์ที่ผลิตในประเทศและรถยนต์นำเข้าอยู่แล้ว

การปรับลดภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป จะส่งผลให้ภาครัฐสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษีนำเข้า รวมถึงการที่ไม่สามารถสร้างรายได้จากการเก็บภาษีอื่นๆ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ อาทิ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีบุคคลธรรมดา เนื่องจากนักลงทุนลดปริมาณการผลิต และลดการจ้างงานภายในประเทศ ทำให้ปริมาณการเก็บภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องลดลง

ดังนั้น คลัสเตอร์ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มผู้ประกอบการภาคเอกชน ไม่เห็นด้วยต่อการปรับลดภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป โดยขอให้คงอัตราภาษีนำเข้าปัจจุบัน เพื่อรักษาการเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของโลก รักษาการจ้างงานภายในประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนในการดำเนินนโยบายของภาครัฐที่มีความชัดเจนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น