MTLS หวังรัฐลดอุปสรรคสินเชื่อรายย่อย แนะเพิ่มความชัดเจนกฎเกณฑ์ดูแล ชี้ยังมีผู้ประกอบการนอกระบบเอาเปรียบโขกดอกเบี้ยปชช.

พุธ ๐๗ มีนาคม ๒๐๑๘ ๑๑:๓๒
เมืองไทยลิสซิ่งวอนรัฐลดอุปสรรคปรับเงื่อนไขสินเชื่อรายย่อย เพื่อเข้าถึงประชาชน หลังพบผู้ประกอบการนอกระบบ ยังคงเอาเปรียบโขกดอกเบี้ย แนะเพิ่มบทบาทให้ชัดเจน 4 ประเด็นหลัก กำกับ-ดูแล-แก้ไข-ควบคุม

นาย ชูชาติ เพ็ชรอำไพ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมืองไทย ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ MTLS เปิดเผยว่า กรณีการยกร่างพ.ร.บ.การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงิน และให้มีหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่มากำกับดูแลโดยเฉพาะ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากการคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่สูงเกินไป และดูแลให้การให้บริการทางการเงินมีคุณภาพ และเป็นธรรมแก่ประชาชนนั้น แนวคิดดังกล่าวได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการทุกราย ที่ผ่านมามีข้อร้องเรียนจากทางการให้ผู้ประกอบการสินเชื่อห้องแถว ซึ่งมีไม่น้อยกว่า 500 ราย ทั่วประเทศ มีสาขารวมกันไม่น้อยกว่า 5,000 สาขา และมีฐานลูกค้าที่มาใช้บริการไม่น้อยกว่า 3 ล้านคน โดยมีวงเงินหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 1 แสนล้านบาท

โดยมีผู้ประกอบการบางแห่งได้คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสูงเกินไป และสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทางราชการต้องเข้ามาดูแล โดยการให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อทั้งจากกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น สินเชื่อ พิโกไฟแนนซ์, สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ, สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขในการกู้ยืม ตั้งแต่ 28-36 %

อย่างไรก็ตาม เมื่อทางราชการได้เปิดให้มีการขอจดทะเบียนสินเชื่อประเภทต่างๆ ดังกล่าวแล้ว แต่เงื่อนไขต่างๆ ที่ทางการกำหนดก็ยังไม่ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการอีกจำนวนมาก รวมทั้งยังไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชนที่ต้องการใช้เงิน เช่น ห้ามผู้ประกอบการทำธุรกิจข้ามจังหวัด,ห้ามเรียกหลักประกันจากลูกค้า,ห้ามระดมทุนจากมหาชน,ห้ามใช้รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ , รถเพื่อการเกษตรเป็นหลักประกัน,วงเงินที่กำหนดให้ไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ,การเรียกดอกเบี้ย และค่าบริการไม่ได้แยกระหว่างลูกค้าที่มีประวัติการชำระดี และลูกค้าค้างชำระ แต่คิดแบบเหมารวม

ดังนั้น มาตรการหรือเครื่องมือต่างๆ ที่ทางราชการประกาศออกมา จึงไม่ได้เป็นประโยชน์กับประชาชนดังนั้นจึงมีสินเชื่อห้องแถวอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ยังคงประกอบธุรกิจให้กู้ยืมแก่ประชาชน โดยผู้ที่ดำเนินธุรกิจดังกล่าว มีทั้งบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และบริษัทที่เป็นลูกของธนาคารพาณิชย์โดยคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมน้อยกว่า หรือเท่ากับที่ทางราชการกำหนด คือ ระหว่าง 23-36 %

เมื่อความต้องการของชาวบ้านที่อยากได้สินเชื่อ กลับไม่ได้รับการตอบสนองจากนโยบายและเครื่องมือของรัฐบาลที่ได้มา จึงทำให้ผู้ประกอบการเหล่านั้น ทำธุรกิจได้โดยไม่มีใบอนุญาต ดังนั้น การที่รัฐบาลมีความคิดที่จะเข้ามากำกับดูแลธุรกิจสินเชื่อนอนแบงก์ทั้งที่มีใบอนุญาตอยู่แล้ว และที่ยังไม่มีใบอนุญาตเหล่านี้ให้เข้าสู่ระบบ โดยการให้บริการที่ไม่เอาเปรียบลูกค้า จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องและตรงกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง อีกทั้งผู้ประกอบการเองก็อยากให้มีใครมากำกับดูแล จะได้ปฏิบัติเหมือนกันทั่วประเทศ

สิ่งที่ทางการสามารถทำได้ นอกจากกำกับดูแล แล้วควรจะเพิ่มบทบาทอย่างน้อย 4 เรื่อง คือ กำกับ ทางการควรเข้ามากำหนดกฎเกณฑ์กติกาให้ชัดเจน ,ดูแล เมื่อกำหนดกฎเกณฑ์และเงื่อนไขทั้งดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม,วงเงินสินเชื่อ,หลักประกันที่เป็นธรรมให้กับผู้บริโภคแล้ว ทางการควรมีหน้าที่ดูแลให้ผู้ประกอบการทุกรายปฏิบัติอยู่ภายใต้กรอบเดียวกัน , แก้ไข เงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ที่ทางการกำกับ อาจจะไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ทางการก็ควรจะเข้ามาแก้ไขปรับปรุงให้เป็นไปตามสภาพที่เป็นจริง เช่น การกำกับว่าให้คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 15 %โดยไม่มีค่าธรรมเนียมหรือค่าติดตาม ในทางปฏิบัติ ทำได้หรือไม่ และถ้าทำไม่ได้ก็ควรจะมากำหนดอัตราที่เหมาะสมและให้ทุกคนถือปฏิบัติเหมือนกัน , และควบคุม หลังจากได้มีการแก้ไขกฎเกณฑ์ต่างๆ แล้ว ก็ควรจะได้เข้ามาควบคุมดูแลให้ทุกฝ่ายปฏิบัติเหมือนกัน เพื่อประโยชน์กับผู้บริโภค

ในเมื่อทางการมีดำริว่าจะออก พ.ร.บ.เข้ามากำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงิน และคุ้มครองผู้บริโภคแล้ว ก็ควรจะทำให้ครอบคลุมและครบถ้วนตามที่กล่าวมา ประโยชน์ที่ได้จะได้ตกถึงมือประชาชนผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน และประชาชนจะได้ไม่ถูกโขกดอกเบี้ยตามยถากรรมทั้งจากผู้ที่มีใบอนุญาตและยังไม่มีใบอนุญาตอีกต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน