ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thai Regional Economic Sentiment Index: RSI)ประจำเดือนเมษายน 2561 “ดัชนี RSI เดือนเมษายน 2561 ชี้แนวโน้มอนาคตเศรษฐกิจดีขึ้นทุกภูมิภาค นำโดยภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”

ศุกร์ ๒๗ เมษายน ๒๐๑๘ ๑๔:๓๑
นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนเมษายน 2561 ว่า "การประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดล่าสุด จากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ (คาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้า) อยู่ในระดับที่ดีขึ้นกว่าเดือนก่อนเกือบทุกภูมิภาค นำโดยภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมและการลงทุน เป็นสำคัญ"

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลาง ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 92.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแนวโน้มที่ดีขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้าของภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของการส่งออก อีกทั้งได้รับแรงสนับสนุนจากโครงการกองทุนพัฒนา SMEs ตามแนวประชารัฐ ประกอบกับภาคบริการ โดยเฉพาะสาขาการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มสดใส เนื่องจากหลายจังหวัดจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมตลอดปี อีกทั้ง การท่องเที่ยวตามรอยประวัติศาสตร์กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย ส่งผลให้ดัชนีแนวโน้มภาคบริการของภูมิภาคยังปรับตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตภาคตะวันออก อยู่ที่ระดับ 89.6 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคอุตสาหกรรมและภาคการลงทุนภายในภูมิภาค เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายส่งเสริมการลงทุนตามโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) อีกทั้งมีบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่างอาลีบาบาของนายแจ็ก หม่า สนใจที่จะเข้ามาลงทุนสร้างศูนย์สมาร์ท ดิจิทัล ฮับในเขตพื้นที่ EEC โดยเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2561 ได้มีการประกาศแผนการลงทุนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ระดับ 84.4 เนื่องจากแนวโน้มที่ดีขึ้นในภาคอุตสาหกรรม ตามทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่องของการส่งออก ส่งผลให้ยอดคำสั่งเพิ่มขึ้น ประกอบกับยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ นอกจากนี้ ดัชนีแนวโน้มของภาคการลงทุนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ตามระดับความเชื่อของนักลงทุนที่มีต่อเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือปรับตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้ง มีการอนุมัติการลงทุนเพิ่มเติมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งน่าจะเป็นแรงสนับสนุนสำคัญต่อไป ในขณะที่ภาคการผลิตของภาคเหนือ ที่มีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม พบว่า มีแนวโน้มการขอตั้งโรงงานเพิ่มขึ้นในจังหวัดเพชรบูรณ์และโรงงานใหญ่ในจังหวัดลำพูน มีการประกาศแผนปรับเพิ่มการผลิต อีกทั้ง นโยบายภาครัฐด้านการปล่อยสินเชื่อ SMEs ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ รวมถึงดัชนีแนวโน้มภาคเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 89.9 ตามสภาพอากาศที่เอื้อต่อการเพาะปลูก และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจเหนือ ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 81.3 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้ ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 80.0 จากดัชนีแนวโน้มในภาคบริการ ส่งสัญญาณที่ดีต่อเนื่องอยู่ที่ 89.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการท่องเที่ยว เป็นสำคัญ เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวเกิดใหม่ในหลายจังหวัด เช่น สตูล พัทลุง เป็นต้น อีกทั้ง หลายจังหวัดมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในเกณฑ์ดี ตามการขยายตัวของการส่งออก สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตก อยู่ที่ 78.2 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากแนวโน้มที่ดีของภาคบริการ โดยเฉพาะสาขาการท่องเที่ยว ที่จะได้รับอานิสงส์จากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดราชบุรีและเพชรบุรี อีกทั้งค้าส่งค้าปลีกที่มีแนวโน้มสดใส จากโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประกอบกับแนวโน้มที่ดีในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากโรงงานในจังหวัดสมุทรสงครามได้รับยอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการลงทุนเพิ่มขึ้นในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม.และปริมณฑล อยู่ที่ 77.6 ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน ตามดัชนีแนวโน้มในอีก 6 เดือนข้างหน้าของภาคบริการยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่ 84.7 อีกทั้ง ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการลงทุน

ตารางสรุปดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ปี 2561 (ณ เดือนเมษายน 2561)

กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก

เฉียงเหนือ

ภาพรวม

ดัชนีความเชื่อมั่น 77.6 89.6 84.4 80.0 92.1 81.3 78.2

อนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค

ดัชนีแนวโน้มรายภาค

1) ภาคเกษตร 70.1 57.1 77.0 73.8 88.5 89.9 68.4

2) ภาคอุตสาหกรรม 72.9 99.6 96.3 82.6 99.2 93.4 84.7

3) ภาคบริการ 84.7 99.1 76.1 89.5 97.7 75.9 91.8

4) ภาคการจ้างงาน 79.8 92.9 86.2 80.4 79.3 72.9 68.4

5) ภาคการลงทุน 80.3 99.2 86.5 73.7 96.0 74.1 77.5

สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3254 หรือ 3215

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud