“ดัชนีฯ เดือนพฤษภาคม 2561 ปรับลดลงมาอยู่ระดับทรงตัวเป็นเดือนแรกในรอบ 9 เดือน

จันทร์ ๒๑ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๓:๒๗
นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำเดือนพฤษภาคม 2561 ว่า "ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ในภาวะทรงตัว (Neutral) เป็นเดือนแรกในรอบ 9 เดือน โดยผลสำรวจระบุว่านักลงทุนกังวลปัจจัยจากต่างประเทศ โดยเฉพาะนโยบายทางการเงินสหรัฐฯ และปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นมากที่สุด ขณะที่นักลงทุนเชื่อมั่นว่าการลงทุนจะได้รับผลดีจากผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศ "

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำเดือนพฤษภาคม 2561 ได้ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้

§ ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (กรกฎาคม 2561) ลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ "ทรงตัว" (Neutral) (ช่วงค่าดัชนี 80 - 120) โดยลดลง 22.90% จากระดับ 120.17 ในเดือนก่อน

- ดัชนีความเชื่อมั่นของกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศและกลุ่มสถาบันภายในประเทศลดลงจากการสำรวจเดือนก่อน มาอยู่ใน Zone ซบเซา (Bearish)

- ดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และกลุ่มนักลงทุนรายบุคคลต่างปรับตัวลดลง แต่ยังคงอยู่ใน Zone ทรงตัว (Neutral)

- หมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERG)

- หมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดธุรกิจการเกษตร (AGRI)

- ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน

- ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ นโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ

"ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ เดือนเมษายนเคลื่อนไหวในลักษณะแกว่งตัวค่อนข้างกว้างอยู่ในช่วง 1724-1801 จุด โดยแรงกดดันการลงทุนหลักมาจากการคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ย Bond Yield ของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 3% และมูลค่าขายสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศในภูมิภาคเอเชียในช่วงนี้ และนโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ และปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ยังเป็นปัจจัยที่นักลงทุนติดตาม

ผลสำรวจชี้ว่าทิศทางการลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า ปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นจากความคาดหวังผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนและภาวะเศรษฐกิจในประเทศ โดยมีประเด็นติดตามความชัดเจนว่าสหรัฐฯ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้หรือไม่ หลังจากการประชุมในเดือนพฤษภาคมไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ปัญหาการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน และปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศในซีเรียและการประกาศเตรียมถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านของสหรัฐเป็นปัจจัยความเสี่ยงต่อการลงทุนมากที่สุดที่นักลงทุนติดตามอย่างใกล้ชิดถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในภูมิภาค นอกจากนี้สถานการณ์ทางการเมือง สำหรับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการได้มาของส.ส.และส.ว. ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญและจะส่งผลต่อกำหนดการเลือกตั้ง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่นักลงทุนในประเทศเฝ้าติดตาม สำหรับเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นๆ นั้น ประเด็นหลักที่ต้องพิจารณาคือ 1. อัตราการขยายตัวของ GDP จีนในไตรมาสแรกปี 2018 ที่ 6.8% เป็นไปตามคาดการณ์ ขณะที่ความไม่แน่นอนในนโยบายการค้าของสหรัฐฯ มีแนวโน้มยืดเยื้อกว่าจะได้ข้อสรุป 2.การปรับตัวผันผวนของราคาน้ำมันที่มีการเคลื่อนไหวทะลุ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศในช่วงนี้" นางวรวรรณ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๔๙ ไอแบงก์ ลงนาม MOU สินเชื่อสวัสดิการแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำ สำนักงานศาลยุติธรรม กว่า 16,000 คน ทั่วประเทศ
๑๐:๕๔ รวม 4 วิธีที่ช่วยปรับให้รถที่ขับอยู่นุ่มนวลขึ้นเหมือนได้คันใหม่
๑๐:๔๘ ซีพีแรม เปิดตัว FTEC (Food Technology Exchange Center) ศูนย์ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีอาหาร
๑๐:๑๔ iQIYI (อ้ายฉีอี้) เดินหน้ารุกตลาดยกระดับวงการ จัดงาน iQIYI 2025 World Conference เปิดตัวพรีเมียมไลน์อัพกว่า 400
๑๐:๑๓ บล.เกียรตินาคินภัทร แนะ 5 หุ้นนอกคุณภาพ นำโดย Netflix และ Mastercard คว้าโอกาสท่ามกลางตลาดผันผวน
๑๐:๓๖ อบอุ่นมาก! จิม ทอมป์สัน x ซี-นุนิว เสิร์ฟความฟินขั้นสุดกับ Exclusive Lucky Fan Dinner ค่ำคืนสุดพิเศษที่เหล่า ซนซน
๑๐:๕๓ เวียตเจ็ทเสริมฝูงบิน เดินหน้ารุกตลาดญี่ปุ่น ขยายเส้นทางระหว่างประเทศ หนุนแผนเติบโตปี 2568
๑๐:๕๖ เบทาโกร ได้รับการยกระดับ CAC ในระดับสูงสุด ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล ซื่อสัตย์ และโปร่งใส
๐๙:๓๖ เฮ้าส์ สามย่าน จัดสองเทศกาลภาพยนตร์คุณภาพ กับ MOVIEMOV Italian Film Festival 2025 และ European Union Film Festival
๐๙:๑๑ จากไอดอลสู่หมอผี! ซอฮยอนฟาดหนัก เสิร์ฟความเดือด Holy Night: Demon Hunters คนต่อยผี 8 พ.ค.นี้