ธนาคารไอซีบีซี (เอเชีย) เลือกใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยของ หัวเว่ย ขับเคลื่อนการยกระดับและพัฒนาการเงินข้ามพรมแดน

จันทร์ ๒๘ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๔๘
บริการการเงินข้ามพรมแดนกลายเป็นจุดเติบโตใหม่ของ ไอซีบีซี (เอเชีย)

การเงินข้ามพรมแดนกำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากการเปิดเสรีตลาดทุนของจีน โดยมีโอกาสมากมายเกิดขึ้นจากการพัฒนาเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารอินดัสเตรียล แอนด์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ ออฟ ไชน่า (เอเชีย) หรือ ไอซีบีซี (เอเชีย) ที่เริ่มดำเนินธุรกิจเงินหยวนข้ามพรมแดนในปี 2556 จนกระทั่ง ณ สิ้นปี 2560 ธนาคารได้สร้างความเป็นพันธมิตรกับลูกค้าองค์กรมากกว่า 500 แห่ง เพื่อรองรับการชำระบัญชีด้วยสกุลเงินเกือบ 20 สกุล มีการชำระเงินหยวนมากกว่า 36 ล้านล้านหยวน มียอดเงินฝากรวมกว่า 3 หมื่นล้านหยวน และธุรกิจที่เกี่ยวข้องบรรลุการเติบโตในอัตราเลขสองหลัก

ไอซีบีซี (เอเชีย) เป็นธนาคารรับอนุญาตในฮ่องกง โดยมีสาขา 57 แห่งในปัจจุบัน ไอซีบีซี (เอเชีย) ถือเป็นสาขาหลักของธุรกิจธนาคารในต่างประเทศของ ไอซีบีซี กรุ๊ป โดยมีมูลค่าสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 8.981 แสนล้านดอลลาร์ฮ่องกง ณ สิ้นปี 2560 และด้วยการยึดมั่นในกลยุทธ์ธุรกิจ "สร้างรากฐานในฮ่องกง เชื่อมต่อกับจีน ขยายทั่วเอเชียแปซิฟิก และก้าวสู่ระดับโลก" ไอซีบีซี (เอเชีย) จึงสามารถคว้าโอกาสอันดีในฮ่องกง ในฐานะศูนย์กลางเงินหยวนนอกประเทศจีน ที่แสวงหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจเงินหยวนและบริการธนาคารข้ามพรมแดนอย่างต่อเนื่อง สำหรับในอนาคต ไอซีบีซี (เอเชีย) จะมอบหลากหลายบริการการเงินข้ามพรมแดนต้นทุนต่ำ (ครอบคลุมการเสนอขายหุ้นไอพีโอ (IPO) และการออกพันธบัตร) บริการเงินหยวนข้ามพรมแดนแบบครบวงจร และบริการบริหารจัดการสินทรัพย์ข้ามพรมแดน เพื่อสนับสนุนการสร้างแพลตฟอร์มจัดการสินทรัพย์ระดับโลกในฮ่องกง

เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมธุรกิจและสร้างมูลค่า

ในขณะที่ธุรกิจการเงินข้ามพรมแดนกำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ความต้องการของลูกค้าในด้านบริการการเงินอินเทอร์เน็ตและช่องทางการชำระเงินรูปแบบใหม่ ๆ ก็ได้พุ่งทะยานขึ้นอย่างมาก ซึ่งแม้การเติบโตดังกล่าวจะนำมาซึ่งโอกาสอันยอดเยี่ยมสำหรับธุรกิจการเงินข้ามพรมแดนของ ไอซีบีซี (เอเชีย) แต่ขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับความท้าทายที่มีต่อระบบธุรกิจและโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีของธนาคาร เนื่องจากลูกค้าอาจต้องการให้ธนาคารนำเสนอบริการข้ามพรมแดนคุณภาพสูงในช่องทางที่แตกต่างกันออกไป

ด้วยการยึดมั่นในเป้าหมายแห่ง "เทคโนโลยีส่งเสริมธุรกิจ เทคโนโลยีสร้างคุณค่า" ไอซีบีซี (เอเชีย) จึงแสวงหาแนวทางเพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นล้ำสมัย โดยใช้การจดจำทางชีวมิติ บล็อกเชน บิ๊กดาต้า ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งอย่างต่อเนื่อง ไอซีบีซี (เอเชีย) ได้ทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า ด้วยบริการจดจำลูกค้าระดับวีไอพี กลยุทธ์การขายและการตลาดที่แม่นยำ การแนะนำผลิตภัณฑ์เฉพาะบุคคล และการตั้งราคาที่แตกต่าง เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน การควบคุมและป้องกันความเสี่ยงอัจฉริยะได้ช่วยตรวจจับการฉ้อโกงธุรกรรม ความเสี่ยงด้านสินเชื่อและการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ "หน้าแสดงข้อมูลการบริหารจัดการ" ยังช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ การเตือนเมื่อมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ผิดปกติ การป้องกันเหตุการณ์ และการบริหารความเสี่ยง

ในปี 2559 ธนาคารไอซีบีซี (เอเชีย) ได้เริ่มวางแผนและติดตั้งระบบนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้วยการใช้เทคโนโลยีไอซีทีล่าสุดอย่าง เวอร์ชวลไลเซชั่น บิ๊กดาต้า คลาวด์คอมพิวติ้ง และ DevOps ธนาคารไอซีบีซี (เอเชีย) สามารถรักษาตำแหน่งอันได้เปรียบเพื่อการแข่งขันในตลาดอนาคตไว้ได้ด้วยการสนับสนุนของสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ นอกจากนี้ หัวเว่ย ยังได้ให้การสนับสนุนโซลูชั่นล้ำสมัยจำนวนมากตามความต้องการด้านการพัฒนาธุรกิจและเทคโนโลยีของ ไอซีบีซี (เอเชีย) อาทิ Digital Multimedia Banking Solution, Safe Financial Cloud Solution และ CloudFabric Cloud Data Center Network Solution เป็นต้น

ยกระดับประสบการณ์ลูกค้าในการใช้บริการการเงินข้ามพรมแดน

เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการให้บริการข้ามพรมแดน ทางไอซีบีซี (เอเชีย) จึงพัฒนา "ระบบ mVTM" โดยใช้โซลูชั่น IP Contact Center (IPCC) Solution ของหัวเว่ย เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถประชุมทางไกลกับที่ปรึกษาการเงินของธนาคาร ผ่านทางแอพ ไอซีบีซี (เอเชีย) และรับคำแนะนำด้านการเงินระดับมืออาชีพได้ทุกที่ทุกเวลา โซลูชั่นดังกล่าวมีฟีเจอร์เฉพาะมากมาย อาทิ การเข้าถึงสื่อมัลติมีเดีย กระบวนการบริการอัตโนมัติ และแพลตฟอร์มกำหนดเส้นทางการโทรอัจฉริยะที่สามารถจัดการสายเรียกเข้าให้กับเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมที่สุด และด้วยฟีเจอร์เฉพาะดังกล่าว โซลูชั่น IPCC จะให้บริการส่งข้อความ โทรเสียง หรือแม้แต่บริการสื่อสารทางวิดีโอได้ ซึ่งไม่เพียงช่วยยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าเท่านั้น แต่ด้วยฟีเจอร์ติดตามข้อมูลบริการย้อนหลัง จึงมั่นใจได้ว่าบริการดังกล่าวปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่างครบถ้วน

ในอนาคต ไอซีบีซี (เอเชีย) จะพัฒนาระบบบริการลูกค้าอัจฉริยะแบบหลากหลายช่องทางเพื่อตอบคำถามลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด ซึ่งระบบแชทบอทดังกล่าวจะสามารถสั่งการผ่านเสียงในภาษาจีนกลาง จีนกวางตุ้ง (ภาษาหลักในฮ่องกง) และอังกฤษ อันจะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการและคุณภาพการบริการลูกค้าของไอซีบีซี (เอเชีย)

มุ่งเน้นความปลอดภัยและความฉับไว

ธนาคารต่าง ๆ ต่างต้องการการดำเนินงานที่ปลอดภัยและฉับไว ซึ่งความต้องการสองประการนี้มีความขัดแย้งกันอยู่บ้างในอดีต ยกตัวอย่างเช่น การเข้ารหัสลับและความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต การโจมตีทางไซเบอร์ได้คุกคามเครือข่ายอินทราเน็ตและข้อมูลอ่อนไหวของธนาคาร ขณะที่ข้อมูลการทำงานรายวันที่แบ่งปันร่วมกับบุคคลที่สามอาจก่อให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลลับที่จะนำมาซึ่งความเสียหายอย่างมากต่อทั้งธนาคารและลูกค้า สำหรับกรณีดังกล่าว ไอซีบีซี (เอเชีย) ได้ทำงานร่วมกับ หัวเว่ย เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ทำงานของพนักงานและป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลที่อ่อนไหวในเครือข่ายอินทราเน็ตไปพร้อมกัน หัวเว่ย เป็นเจ้าเดียวในอุตสาหกรรมที่มอบโซลูชั่นไอซีทีแบบองค์รวม ครอบคลุมตั้งแต่ซอฟต์แวร์โพรโตคอลระบบคลาวด์บนคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงซอฟต์แวร์เวอร์ชวลไลเซชั่น เซิร์ฟเวอร์ หน่วยความจำ ไฟร์วอลล์ และเครือข่าย ทั้งนี้ หัวเว่ยได้ติดตั้งบัญชีคลาวด์บนคอมพิวเตอร์ในบริษัทมากกว่า 100,000 บัญชี ให้บริการแก่พนักงานกว่า 180,000 คน และเพิ่มพูนประสบการณ์ครอบคลุมระหว่างดำเนินการ

ด้วยความช่วยเหลือของหัวเว่ย ธนาคารไอซีบีซี (เอเชีย) จึงสามารถบรรลุเป้าหมายการจัดการความปลอดภัยอย่างละเอียด (จำแนกตามผู้ใช้ ภูมิภาค และที่มา) การพิสูจน์และยืนยันความปลอดภัย รวมทั้งการส่งและจัดเก็บข้อมูลขนาดเล็ก นอกจากนั้น ระบบป้องกันความปลอดภัย "Cloud-Pipe-Device-Control" อันครอบคลุมของหัวเว่ย ได้ยกระดับความน่าเชื่อถือในการจัดการจุดเชื่อมต่อและการเชื่อมต่อผู้ใช้ของระบบบริการ ขณะที่ระบบการดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) รูปแบบใหม่ประกอบด้วยฟังก์ชั่นที่ครบครัน และการดำเนินงานที่เป็นเลิศและเรียบง่าย ซึ่งจะช่วยขยายประสิทธิภาพสูงสุดของระบบการดำเนินงานและการบำรุงรักษา ตลอดจนลดต้นทุนที่เกี่ยวข้อง

พนักงานของ ไอซีบีซี (เอเชีย) สามารถสำรองไฟล์และข้อมูลสำคัญลงใน Onebox ได้เป็นประจำ เพื่อการป้องกันข้อมูลอย่างง่าย ซึ่งปฏิบัติการดังกล่าวเป็นการทดสอบขั้นแรกของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเป็นระบบคลาวด์ออฟฟิศ ที่จะยกระดับความปลอดภัยและประสิทธิภาพการทำงานในสำนักงานของ ไอซีบีซี (เอเชีย) ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ในอนาคตอันใกล้ หัวเว่ยเตรียมใช้เทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่นบนคอมพิวเตอร์เพื่อช่วย ไอซีบีซี (เอเชีย) ในการแยกบราวเซอร์ออกจากระบบบริการ และแยกอินทราเน็ตออกจากอินเทอร์เน็ต การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยป้องกันระบบไอซีทีของ ไอซีบีซี (เอเชีย) จากการโจมตีทางไซเบอร์และการเปิดเผยข้อมูลอ่อนไหว (อาทิ ข้อมูลการเงินข้ามพรมแดนของลูกค้า และ ข้อมูลสินทรัพย์ทั่วโลก) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สร้างระบบเครือข่ายที่แข็งแกร่ง เสมือนระบบประสาทของมนุษย์

การเติบโตของธุรกิจการเงินข้ามพรมแดนนำไปสู่ความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือในการจัดเก็บข้อมูล ความเร็วของเครือข่ายศูนย์ข้อมูล และความเสถียรของระบบโดยรวม ทั้งนี้ สถิติพบว่า ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และบริษัทประกันของจีนมีข้อมูลในฐานข้อมูลโดยเฉลี่ยมากกว่า 100 เทระไบต์ และเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านการเงินบนอินเทอร์เน็ต สถาบันการเงินจึงใช้ข้อมูลขับเคลื่อนนวัตกรรมธุรกิจ ส่งผลให้ศูนย์ข้อมูล ซึ่งในอดีตเคยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางหลักในการช่วยเหลือและสนับสนุน ต้องหันมาแบกรับหน้าที่ในการสร้างมูลค่าและผลกำไรในปัจจุบัน

ในอดีต ไอซีบีซี (เอเชีย) ได้สร้างระบบบริการของธนาคารโดยอิงตามศูนย์ข้อมูลแบบเก่า แบ่งภาคส่วนบริการตามประเภทธุรกิจ และกำหนดกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยที่ซับซ้อน แต่การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประเภทและขีดความสามารถของบริการ ก่อให้เกิดความต้องการใหม่ในการใช้งานระบบที่ยืดหยุ่น การจ่ายงาน การย้ายระบบ และการจัดการกลุ่มบริการมากมาย สถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบเดิมกลายเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการพัฒนาธุรกิจ ธนาคารไอซีบีซี (เอเชีย) จึงใช้เทคโนโลยีเครือข่ายแบบเปิดที่ได้มาตรฐาน และสถาปัตยกรรมศูนย์ข้อมูลรูปแบบใหม่ เพื่อสร้างรากฐานอันมั่นคงสำหรับระบบเครือข่ายที่แข็งแกร่ง เปรียบเสมือนระบบประสาทของมนุษย์

ไอซีบีซี (เอเชีย) ทำลายข้อจำกัดด้วยการแทนที่เทคโนโลยีที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยศูนย์ข้อมูลและเครือข่ายแกนหลักเดิมของธนาคารนั้นใช้โซลูชั่นเก่าและเทคโนโลยีแบบปิด อาทิ EIGRP และ PVST+ ดังนั้น หัวเว่ยจึงได้ส่งมอบ CloudEngine, USG Next-Generation Firewall (NGFW) และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมแบบเปิด โพรโทคอลควบคุมเครือข่ายมาตรฐาน และอินเทอร์เฟซมาตรฐาน เพื่อแทนที่อุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้งานอยู่เดิม

ในส่วนของการควบคุม หัวเว่ยได้ติดตั้งตัวควบคุม Software Defined Network (SDN) และ Agile Controller ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบโอเพ่นซอร์ส อาทิ Open Network Operating System (ONOS) และ OpenDaylight (ODL) ทางไอซีบีซี (เอเชีย) จึงใช้ตัวควบคุม Agile Controller ของหัวเว่ย แทนโพรโทคอลและสถาปัตยกรรมเครือข่ายเฉพาะรายที่มีอยู่ ซึ่งตัวควบคุมดังกล่าวช่วยปกป้อง ไอซีบีซี (เอเชีย) จากปัญหาการเปลี่ยนผู้ให้บริการ (vendor lock-in) และเปิดโอกาสให้บริษัทไอซีทีระดับชั้นนำมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครือข่ายของธนาคาร นอกจากนี้ ไอซีบีซี (เอเชีย) ยังสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มคลาวด์ OpenStack แบ่งปันทรัพยากรคอมพิวติ้ง และบริการมูลค่าเพิ่มในศูนย์ข้อมูล ใช้ประโยชน์จากการผสานหลากหลายบริการเข้าด้วยกัน พร้อมขยายและพัฒนาโซลูชั่นของธนาคารในอนาคตอันใกล้ได้อย่างยืดหยุ่น

หัวเว่ย พัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้อมูลที่สนับสนุนการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มเสมือนจริงและการพัฒนา อันจะนำไปสู่ความร่วมมือทางเครือข่ายคลาวด์ โดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ และด้วยโซลูชั่นที่เพียบพร้อมของหัวเว่ย ธนาคารไอซีบีซี (เอเชีย) จึงสามารถพัฒนาเครือข่ายของตนเอง และคงไว้ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายที่ธนาคารใช้มาแต่ดั้งเดิมเอาไว้ได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด การดำเนินการดังกล่าวสามารถเพิ่มผลตอบแทนการลงทุนครั้งประวัติศาสตร์ของ ไอซีบีซี (เอเชีย) ได้สูงสุด พร้อมตอบสนองความต้องการในการพัฒนาระยะยาวของธนาคารได้เป็นอย่างดี

โซลูชั่นของหัวเว่ยที่ใช้สถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบ spine-leaf นั้น ใช้ตัวควบคุม Agile Controller และ CE Series Switches เพื่อช่วยให้ ไอซีบีซี (เอเชีย) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาระบบคลาวด์คอมพิวติ้งได้อย่างราบรื่น โดยโครงการดังกล่าวได้สำเร็จลุล่วงไปทีละเฟส และจะไม่เกี่ยวข้องกับการแทนที่ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ ซึ่งในอนาคต ไอซีบีซี (เอเชีย) จะสามารถเลือกปรับเปลี่ยนรูปแบบเครือข่ายศูนย์ข้อมูลและสร้างเครือข่ายที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ (SDN) ได้ กล่าวคือ ระบบเหล่านี้จะแยกออกจากกัน เพื่อรับประกันความปลอดภัยและเพื่อการแบ่งปันทรัพยากรไอที ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการใช้ทรัพยากร และเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตั้งวางระบบบริการ

Tang Bin ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายไอทีของ ไอซีบีซี (เอเชีย) กล่าวว่า ไอซีบีซี (เอเชีย) ยอมรับในเทคโนโลยีและคุณภาพผลิตภัณฑ์ของหัวเว่ย และพึงพอใจในความสามารถของบริการและการสนับสนุนของหัวเว่ย โดยระบุว่า "หัวเว่ย ช่วยให้ ไอซีบีซี (เอเชีย) สามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีแบบเปิดและมีความเสถียรมากขึ้น ทำให้ฝ่ายธุรกิจของธนาคารสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและง่ายดายยิ่งขึ้น เนื่องด้วยโซลูชั่นที่เพียบพร้อมของหัวเว่ย ทางธนาคารไอซีบีซี (เอชีย) จึงสามารถบรรลุความก้าวหน้าครั้งสำคัญในด้านความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เครือข่ายเชื่อมต่อโดยตรง (DC) สร้างรากฐานที่แข็งแกร่งเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบคลาวด์ส่วนตัวในอนาคต ทั้งนี้ ไอซีบีซี (เอเชีย) มุ่งหวังถึงความร่วมมือที่ครอบคลุมยิ่งขึ้นกับ หัวเว่ย ในด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง บิ๊กดาต้า และภาคส่วนอื่น ๆ"

ไอซีบีซี (เอเชีย) ใช้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีล่าสุด เพื่อขับเคลื่อนการยกระดับและพัฒนาธุรกิจ สนับสนุนการหลอมรวมเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาและการดำเนินธุรกิจธนาคารอันครอบคลุม โดยในปัจจุบัน ฮ่องกงกำลังเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมฟินเทค ซึ่งทางไอซีบีซี (เอเชีย) เล็งเห็นตรงจุดนี้ และจะคว้าโอกาสที่เกิดขึ้น พร้อมทำงานอย่างหนัก เพื่อสร้างระบบไอซีทีที่ผสานเข้ากับจุดแข็งหลักและการสนับสนุนที่สำคัญในการนำเสนอบริการทางการเงินของธนาคาร และด้วยการสนับสนุนทางเทคโนโลยีของหัวเว่ย ทางไอซีบีซี (เอเชีย) จึงมั่นใจว่าจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาในด้านการบริหารจัดการ การบริการ และนวัตกรรมอย่างรอบด้าน พร้อมทั้งตอบสนองความต้องการด้านบริการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า การจัดการภายในองค์กร และการปฏิบัติตามข้อกำหนดภายนอก ทั้งนี้ ไอซีบีซี (เอเชีย) จะยังคงสานต่อความมุ่งมั่นของธนาคารในด้านการพัฒนา และก้าวขึ้นเป็นธนาคารที่ลูกค้าให้ความไว้วางใจเลือกใช้บริการ เมื่อกล่าวถึงบริการการเงินข้ามพรมแดน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง