3 สถาบัน พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่อผู้พิการ 'รถเข็นไฟฟ้าควบคุมด้วยเสียงผ่านมือถือ’

จันทร์ ๒๘ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๕๑
บุคลากร 3 สถาบัน ร่วมวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่อผู้พิการ 'รถเข็นไฟฟ้าควบคุมด้วยเสียงผ่านมือถือ'

ผลงานนี้ใช้ชื่อว่า PMK - Electric Power Wheelchair Control by Voice มุ่งเป้าหมายสำคัญคือต้องการให้ผู้พิการอัมพาตช่วงบนและครึ่งล่าง (Quadriplegia) ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลงานจากความร่วมมือกันของ ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม หัวหน้าสาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ร่วมกับรศ.ดร.เบญจลักษณ์ เมืองมีศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จ.ปทุมธานี พร้อมด้วย พ.อ.ผศ.นพ.อารมย์ ขุนภาษี และพ.อ.รศ.นพ.สุธี พานิชกุล จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า รวมถึงนายนพรัตน์ เย็นใจ นายรัฐภูมิ บุญศิริ และนายสุทธิพงศ์ กลิ่นหอม นักศึกษาสาขาแมคคาทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี

พ.อ.ผศ.นพ.อารมย์ เผยว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลมีผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตจากการสู้รบ โดยบางรายได้รับบาดเจ็บครึ่งล่าง (Paraplegia) และบางรายได้รับบาดเจ็บหรืออัมพาตช่วงบนและครึ่งล่าง (Quadriplegia) ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยในลักษณะนี้ให้สามารถนั่งอยู่บนรถเข็นและสามารถสั่งการได้ โดยผู้ป่วยสามารถสั่งงานขับเคลื่อนรถเข็นไฟฟ้าให้เคลื่อนที่ภายในบ้านและบริเวณรอบๆ บ้านได้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น และทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตดีอีกด้วย

ด้าน ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ อธิบายเสริมว่า รถเข็นไฟฟ้าควบคุมด้วยเสียงผ่านมือถือนี้ จะทำงานผ่านมือถือระบบ Android ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากการใช้ไมโครโฟน เพราะในปัจจุบันเทคโนโลยีและการใช้มือถือจะอยู่ใกล้ตัวเรามาก สำหรับการทำงานจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนรถเข็น (Hardware) ส่วนควบคุม (Control) และส่วนซอฟต์แวร์ (Software) มีหลักการทำงานคือ เมื่อผู้ป่วยสั่งงานด้วยเสียงพูดเช่น เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา และหยุด มีผลทำให้มือถือที่ติดต่อระบบ Bluetooth ส่งค่าสัญญาณลอจิก 1 และ 0 ไปที่ไมโครคอนโทรเลอร์ (Microcontroller) หลังจากนั้นไมโครคอนโทรเลอร์จะส่งสัญญาณเอาต์พุตออกไปที่ชุดขับมอเตอร์ (DC Drive) และมีผลทำให้สามารถควบคุมทิศทางการหมุนตามทิศทางที่ต้องการได้

ขณะที่ พ.อ.รศ.นพ.สุธี กล่าวเสริมว่า ในอนาคตจะมีการนำไปใช้กับผู้ป่วยราชการสนามที่ได้รับบาดเจ็บและถูกปลดประจำการให้ได้ใช้อุปกรณ์ชุดนี้สั่งการอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านได้เช่น เปิด-ปิดไฟฟ้า ต่อไป ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม โทร.086 882 1475

นับเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยให้การใช้ชีวิตของผู้พิการมีความสะดวกสบาย สามารถช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นได้ตามต้องการ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๙ PROS จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2567 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวอนุมัติทุกวาระ
๐๙:๔๙ ซีพี - ซีพีเอฟ สนับสนุนโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ รุ่นที่ 42 ส่งเสริมเยาวชนรุ่นใหม่ ตอบแทนคุณแผ่นดิน
๐๙:๑๓ นักวิชาการ TEI แนะมุมมองการสร้าง Urban Climate Resilience ต้องเร่งปรับตัวและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๐๙:๓๙ TEI เปิดวงเสวนา บทเรียนและทางออกการจัดการกากแคดเมียม ? พร้อมเร่งแก้ปัญหา โจทย์ใหญ่กากแคดเมียม จัดการอย่างไรให้ปลอดภัยและถูกต้อง
๐๙:๒๔ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาสในโครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี ณ
๐๙:๑๑ เขตปทุมวันกำชับเจ้าของพื้นที่ตั้งวางสิ่งของ-อุปกรณ์การค้าริมกำแพงส่วนบุคคลให้เรียบร้อย
๐๙:๓๔ ม.หอการค้าไทย ปฐมนิเทศสำหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านนวัตกรรมการบริการ รุ่นที่ 5 (Top Executive Program for Creative Amazing Thai Services :
๐๙:๐๒ เฮงลิสซิ่ง รับรางวัล หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับดีเด่น โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
๐๙:๔๕ มูลนิธิเฮอริเทจ (ประเทศไทย) ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสมุทรสาคร
๐๙:๔๔ พาราไดซ์ พาร์ค ต้อนรับ The Little Gym เปิดสาขาที่ 3