ส.ป.ก.หนุนงานสร้างฝายชะลอน้ำประเภทชั่วคราว ในเขตปฏิรูปที่ดิน ตั้งเป้าสร้างฝายชะลอน้ำ 244 แห่ง ในพื้นที่ 23 จังหวัด

จันทร์ ๒๘ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๓๒
จากการเปิดเผยของนายสุรจิตต์ อินทรชิต เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กล่าวถึง โครงการก่อสร้างฝายชะลอน้ำในเขตปฏิรูปที่ดิน เป็นโครงการที่ดำเนินการภายใต้งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมกลางปีงบประมาณ 2561 ซึ่งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 6,482,800 บาท เพื่อจัดทำโครงการก่อสร้างฝายชะลอน้ำประเภทชั่วคราวในเขตปฏิรูปที่ดิน ครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัด จำนวนฝาย 244 แห่ง ในพื้นที่ภาคเหนือ 11 จังหวัด (กำแพงเพชร เชียงราย ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน อุตรดิตถ์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด (กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์ มุกดาหาร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุบลราชธานี) และภาคกลาง 2 จังหวัด (ลพบุรี สระบุรี) โครงการดังกล่าวใช้งบกลางปี ซึ่งรัฐบาลต้องการให้เป็นงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจกระจายรายได้สู่ชุมชน นอกจากเพื่อการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำลำธารและรักษาระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการจ้างแรงงานในท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้และเกษตรกรในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ของฝายชะลอน้ำ ทั้งวิธีการพัฒนาคัดเลือกพื้นที่ การเลือกใช้วัสดุ เทคนิคการสร้างฝาย โครงการมีระยะเวลาดำเนินงานในช่วงไตรมาส 3 – 4 ของปีงบประมาณ 2561

นายสุริยน พัชรครุกานนท์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครราชสีมา(ส.ป.ก.นครราชสีมา) มีแผนก่อสร้างฝายชะลอน้ำประเภทชั่วคราว ในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 25 แห่ง ในพื้นที่ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง (หมู่ที่ 9 จำนวน 2 แห่ง หมู่ที่ 15 จำนวน 3 แห่ง) และ พื้นที่ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว (หมู่ที่ 16 จำนวน 20 แห่ง) ส.ป.ก. โดยสำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน (สพป.) ร่วมกับสำนักงาน การปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครราชสีมา จึงได้จัดกิจกรรม คลิกออฟ (Kick off) เริ่มต้นโครงการก่อสร้างฝายชะลอน้ำประเภทชั่วคราว ในเขตปฏิรูปที่ดิน ณ หมู่ที่ 15 ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในวันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม 2561 โดยสาเหตุที่เลือกพื้นที่แห่งนี้ สืบเนื่องจากเกษตรกรมีความต้องการพัฒนาพื้นที่ที่มีสภาพเสื่อมโทรม และเป็นพื้นที่ตามนโยบายรัฐบาลที่จัดที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรผู้ไร้ที่ดินทำกิน เมื่อปี พ.ศ.2560 โดยมีผู้เข้าร่วมงานจำนวน 100 ราย ประกอบด้วยสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินปากช่อง (คทช.) จำกัด เกษตรกรรุ่นใหม่ เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ ผู้นำท้องที่ เจ้าหน้าที่จากองค์การบริหารงานส่วนตำบล และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมเป็นเกียรติในครั้งนี้ และในระยะต่อไปจะมีการดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ การส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก การปลูกป่าในรูปแบบวนเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน คาดว่าโครงการดังกล่าว จะก่อเกิดประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำลำธารและการรักษาระบบนิเวศน์ในพื้นที่ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในชุมชน เสริมสร้างองค์ความรู้ ในการสร้างฝายชะลอน้ำฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของฝายชะลอน้ำฯ และมีการขยายผลในพื้นที่อื่นๆในช่องทางต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เอกสารเผยแพร่ สื่อสารมวลชน สื่อสารเทคโนโลยีสนเทศ เครือข่ายเกษตรกรและผู้สนใจ

ด้าน นายไพรัตน์ โลหณุต รักษาการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า สำหรับรูปแบบที่ใช้ในการสร้างฝายเป็นรูปแบบฝายชะลอน้ำประเภทชั่วคราว ออกแบบโดยวิศวกรจากสำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ใช้สร้างถนนลำน้ำหรือร่องน้ำขนาดกว้างไม่เกิน ๖ เมตร ใช้ไม้ไผ่หรือไม้อื่นๆ(ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง3"-4" ความยาว 6 เมตร)ที่จัดหาได้ในท้องถิ่นเป็นโครงสร้างยึดกระสอบทราย โดยใช้ทรายมีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ต่อทรายในอัตราส่วน 1 : 10 เพื่อทำให้ทรายมีการจับตัวเป็นก้อนหลังจากสัมผัสกับน้ำ ทำให้โครงสร้างฝายมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น มีแนววางกระสอบทราย 2 แนว เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของตัวฝาย งบประมาณที่ใช้ในการสร้างฝาย จำนวน 9,370 บาทต่อ 1 ฝาย จัดแบ่งค่าใช้จ่ายเป็น 2 ส่วน คือ 1).ค่าวัสดุ เป็นเงินประมาณ 5,770 บาท 2).ค่าจ้างแรงงาน เป็นเงินประมาณ 3,600 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในจังหวัด) โดยใช้แรงงาน 4 ราย ระยะเวลาทำงาน 3 วันต่อฝาย 1 แห่ง

และวัสดุสำคัญที่ใช้ทำกิจกรรม คือ

1. ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3" – 4" ความยาว 6 เมตร จำนวน 26 ท่อน

2. ปูนซีเมนต์ จำนวน 14 ถุง

3. ทรายหยาบ จำนวน 4.50 ลูกบาศก์เมตร

4. ตะปูตอกไม้ ขนาด 5" จำนวน 2.50 กิโลกรัม

5. กระสอบทราย 18" x 30" จำนวน 130 ใบ

6. เชือกใยยักษ์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร จำนวน 265 เมตร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน