ซีเอ เทคโนโลยีจับมือสหภาพยุโรปร่วมวิจัยระบบสมาร์ท IoT และระบบปัญญาประดิษฐิ์ช่วยงานปกป้องข้อมูลตามกฎระเบียบภาครัฐ

พุธ ๑๓ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๑๐:๒๘
สหภาพยุโรปประกาศให้เงินสนับสนุนทุนวิจัยด่น IoT รวมทั้งการพัฒนาโค้ดและระบบปัญญาประดิษฐิ์ช่วยงานปกป้องข้อมูลตามกฎหมายใหม่ของสหภาพยุโรป

ซีเอ เทคโนโลยี ประกาศความร่วมมือ ระหว่างทีมวิจัยทางยุทธศาสตร์ของบริษัทใน 3 โครงการใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนโดยสหภาพยุโรปตามโครงการEuropean Union (EU) Horizon 2020 ซึ่งจะช่วย ให้ การใช้งาน IoT ในอนาคตสามารถเป็นไปได้ในระบบอัจฉริยะและมีการรักษาความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนโลกของการเชื่อมต่อที่วางใจได้ในอนาคตรวมทั้งจะศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบอัลกอริทึมและโปรแกรมทูล ต่างๆที่จำเป็นในการปฏิบัติตามกฎระเบียบภาครัฐ ให้มาสู่ขั้นตอนกระบวนการการพัฒนาซอฟต์แวร์

นักวิทยาศาสตร์จากหน่วยงานวิจัยทางด้านยุทธศาสตร์ของบริษัทซีเอ เทคโนโลยี (CA Strategic Research)ได้กำลังศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งแอพพลิเคชั่นและแพล็ตฟอร์มต่างๆ อย่างเช่น IoT ระบบหุ่นยนต์ ระบบปัญญาประดิษฐ์และอื่นๆ ผ่านงานวิจัยและพัฒนาที่หลากหลายโดยจับมือกันกับทั้งชุมชนนักวิจัยที่อยู่ในภาคมหาวิทยาลัยภาครัฐบาลและอื่นๆ

ระบบIoT มีโอกาสในการใช้งานด้านต่างๆ มากมาย อย่างเช่น ระบบเมืองใหญ่อัจฉริยะ ระบบการขนส่งระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ อย่างไรก็ตาม ระบบIoT ยังมีปัญหาอยู่ที่มีความซับซ้อนสูงมีลำดับชั้นขั้นตอนต่างๆมากมายและมีความท้าทาย ในการ แก้ปัญหาความคงทนต่อเนื่อง ระบบการไว้วางใจในการใช้งานและเชื่อมต่อข้อมูลรวมทั้ง รองรับนวัตกรรมต่างๆ ที่มีเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา

"การที่จะบรรลุถึงเป้าหมายของโลกที่ใช้งาน IoT ในวงกว้างได้อย่างสมบูรณ์เราจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาความท้าทายต่างๆที่มีความซับซ้อนสูงให้ลุล่วงไปเสียก่อน" อ็อตโต เบิร์คส หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี บริษัทซีเอ เทคโนโลยี กล่าวพร้อมกับเสริมว่า "อุปสรรคต่างๆเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องเอาชนะให้ได้ก่อนที่เราจะนำเสนอระบบ IoTที่สามารถสร้างการเชื่อมต่อที่มีคุณค่า การใช้งานข้อมูลสามารถดัดแปลงแก้ไขและเปิดรับต่อการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆที่เพิ่มเข้ามาในอนาคต แต่ปัญหาก็คือ ระบบที่ว่านี้ยังไม่มีใครได้ประดิษฐ์สร้างขึ้นมาเลย"

ระบบ ALOHAสำหรับการเรียนรู้เชิงลึกอย่างมีการรักษาความปลอดภัย

ระบบนี้เป็นระบบอัจฉริยะด้านการรักษาความปลอดภัยที่รวบรวมข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆของที่ใช้งาน IoT โดย มั่นใจได้ว่าระบบที่มีการตัดสินใจโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI จากข้อมูลซึ่งจะไม่สร้างผลลัพธ์ที่ มีอคติ โดยระบบ ALOHA ที่ย่อมาจากภาษาอังกฤษ Adaptive Learning on Heterogeneous Architectures จัดว่าเป็นโครงการที่ มุ่งหวังที่จะพัฒนาขีดความสามารถการตัดสินใจของมนุษย์ในการใช้งานแอพพลิเคชั่น IoT

ระบบALOHA จะสำรวจว่ามีการใช้งานแบบการเรียนรู้ในเชิงลึกประเภทใดบ้างที่ระบบปัญญาประดิษฐ์รู้จัก และสามารถนำมาใช้งานกับแอพพลิเคชั่นเพื่อเลียนแบบ เครือข่ายทางประสาทของสิ่งมีชีวิต และ สามารถนำไปสู่ขีดความสามารถการเรียนรู้ในลักษณะที่คล้ายมนุษย์ซึ่ง จะได้ นำงานนี้ไปใช้ประโยชน์ในการเพิ่ม ขีดความสามารถในการคำนวณของอุปกรณ์ล้ำยุคต่างๆที่ เป็นเหมือนประตูเข้าสู่ ระบบเอนเทอร์ไพรซ์หรือ เครือข่ายแกนกลางของเซอร์วิสโพรไวเดอร์อย่างเช่น เราเตอร์และเซิร์ฟเวอร์รวมทั้งขีดความสามารถในการสนับสนุน การใช้งานอัลกอริทึ่มที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์

"ความรู้ความชำนาญของบริษัทซีเอ เทคโนโลยีในด้านระบบการรักษาความปลอดภัยจะมีส่วนเสริมให้กับความเข้าใจเชิงลึกของโปรเจกต์นี้ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ปราศจากอคติ โดยเป้าหมายของ ซีเอ เทคโนโลยีในการ ทำงานกับ ALOHA ครั้งนี้ก็คือการเรียนรู้จากประสบการณ์และตอบสนองอย่างอัตโนมัติต่อสภาพแวดล้อมรอบข้างโดยปราศจากอคติของระบบปัญญาประดิษฐ์" วิคเตอร์ มุนเตส รองประธานฝ่ายวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ บริษัทซีเอ เทคโนโลยีกล่าว

ระบบ ENACT เพื่อการใช้งานใน IoTแบบอัจฉริยะที่ก้าวไปไกลกว่า

ในทุกวันนี้ ระบบอัจฉริยะอย่างเช่นระบบทางรถไฟอัจฉริยะจำเป็นที่ต้องใช้ระบบ IoTที่ประกอบด้วยการใช้งานแอพพลิเคชั่นหลายอย่าง ซึ่ง หากมีข้อบกพร่อง หรือจุดอ่อนในด้านการรักษาความปลอดภัยเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์ก็จะทำให้เกิดปัญหาความล้มเหลวครั้งใหญ่ของระบบได้ในอนาคต ดังนั้น ระบบ ENACT มีเป้าหมายที่จะผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆได้เร็วขึ้นผ่านการใช้งาน ระบบIoT โดย จะรวมถึงขั้นตอนการพัฒนาการปฏิบัติงานการรักษาความปลอดภัย แอพพลิเคชั่นที่ครอบคลุมทั้งเรื่อง IoT เอดจ์และระบบคลาวด์

นอกเหนือจากเรื่องการพัฒนาระบบสมาร์ทโฮม และแอพพลิเคชั่นด้านสุขภาพ งานวิจัยขั้นบุกเบิกนี้ยังจะช่วยการสร้างระบบ การช่วยวินิจฉัยด้วยตนเองโดยใช้ ระบบอัลกอริทึมเป็นหลักสำหรับการดำเนินงานอัจฉริยะโดยจะช่วยสร้างทำให้รถไฟสามารถเรียนรู้และคาดการณ์ ความผิดปกติในระบบที่อาจจะเกิดขึ้น โดยรถไฟอัจฉริยะจำเป็นที่จะต้องมีการสร้างแบบจำลอง อัจฉริยะขั้นสูง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบIoT และระบบรักษาความปลอดภัยแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานในอุปกรณ์ IoT แบบเอดจ์จะสามารถเพิ่มเติมเข้ามาได้ในอนาคต

ในฐานะที่เป็นพาร์ตเนอร์รายสำคัญในโครงการนี้บริษัทซีเอ เทคโนโลยีจะผลักดัน การใช้งานเทคโนโลยี และขบวนการทำงานต่างๆที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานระบบ IoTอัจฉริยะ ไปอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านการนำเสนอการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่นและการรักษาความปลอดภัยของระบบ

" ในอนาคตข้างหน้าทุกอุปกรณ์จะต้องเชื่อมต่อกันถึงหมด ดังนั้นงานวิจัยENACT จะช่วยในการเปลี่ยนผ่านการสร้างความเข้าใจใหม่ว่า ระบบIoT อัจฉริยะจะสามารถ พัฒนาและใช้งานในสภาพการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ในแบบที่วางใจได้เช่นไร" วิคเตอร์ มุนเตส รองประธานฝ่ายวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ บริษัทซีเอ เทคโนโลยีกล่าว พร้อมกับเสริมว่า "ความเชี่ยวชาญในระดับลึกของบริษัทซีเอ เทคโนโลยีในเรื่องระบบระดับเอนเทอร์ไพรซ์รวมทั้งกับ ข้อมูลเชิงลึกจากทีมวิจัยทางยุทธศาสตร์ของเรา จะช่วยนำเสนอโลกแห่งการเชื่อมต่อระบบที่วางใจได้มากกว่าเดิมและ เปลี่ยนผ่านจากแนวคิดตรงนี้ให้นำไปสู่ความสำเร็จที่ใช้งานได้จริง"

โครงการ PDP4E เพื่ออนาคตการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและความเป็นส่วนบุคคลที่ดีขึ้น

กฏหมายปกป้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป หรือGeneral Data Protection Regulation (GDPR) เป็นกฎหมายใหม่ที่มีความกว้างขวางครอบคลุม โดยมีข้อกำหนดที่ให้ภาคธุรกิจและรัฐบาลทั้งบริษัทและหน่วยงานต่างๆ ต้องปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและความเป็นส่วนบุคคลของ แต่ละบุคคลในสหภาพยุโรปโดยกฎระเบียบนี้จะมีผลกระทบไปในทุกภาคส่วน โดยการที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบตรงนี้อาจจะส่งผลให้มีการลงโทษที่เสียค่าปรับสูงด้วย ระกฏหมายนี้ จะสร้างมาตรฐานใหม่ไม่เพียงเฉพาะในด้านสิทธิของผู้บริโภคเมื่อ คำนึงถึงระบบข้อมูล แต่ยังรวมถึงบริษัทที่ จะพบปัญหาที่ท้าทายในการนำระบบและกระบวนการต่างๆเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการปฏิบัติตามกฎหมายใหม่นี้

โปรเจคการรักษาข้อมูลและความเป็นส่วนบุคคลสำหรับวิศวกรหรือ Privacy and Data Protection for Engineers (PDP4E) ช่วยแก้ปัญหา เรื่องการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและค้นหาแนวทาง ในการพัฒนา โค้ดซอฟต์แวร์ใหม่ๆที่จะช่วยให้บริษัทต่างๆสามารถปฏิบัติตามกฎหมาย GDPR โดยจะช่วยให้วิศวกรระบบ มีโปรแกรมทูลที่จะ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนบุคคล ได้ในตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์หรือที่เรียกว่าแนวคิด "Privacy by Design"

การวิจัยของบริษัทซีเอ เทคโนโลยีในเรื่อง PDP4E จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาโปรแกรมทูล กระบวนการต่างๆที่จะช่วยให้ข้อมูลมีการรักษาความปลอดภัยความเป็นส่วนตัวโดยจะช่วยให้บริษัทองค์กรต่างๆสามารถปฏิบัติตามกฎหมาย GDPR ได้ในขณะที่สร้างแอพพลิเคชั่นใหม่ๆขึ้นมาใช้งานโดยงานวิจัยนี้จะช่วยศึกษาข้อมูลอัลกอริทึมในการแยกแยะเอกสารที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลและ ช่วยลดขั้นตอนในการตรวจสอบ ตรวจหาติดตามคอนเทนท์เนื้อหาที่ ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านการปกป้องข้อมูล

"ทุกวันนี้ที่เราได้ใช้งานเรื่องระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อ จะค้นหาวิธีที่จะทำให้การปฏิบัติตามกฎหมาย GDPR สามารถทำได้ง่ายขึ้นโดยเป้าหมายของเราก็คือลดภาระและผลกระทบทางด้านการเงินที่กฎระเบียบใหม่นี้อาจจะเกิดขึ้นกับบริษัทและองค์กรต่างๆ และช่วยให้ขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎหมายภาครัฐเป็นไปอย่างเรียบง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น" มุสเตส กล่าว

ในการร่วมมือกับสภาพยุโรปในครั้งนี้ จะช่วยให้ทีมวิจัยของบริษัทซีเอ เทคโนโลยีมีโอกาสในการนำไอเดียที่มีไปสู่ผลการปฏิบัติที่ชัดเจนโดยจะส่งผลให้มีการสร้าง ระบบโครงสร้างพื้นฐาน การรักษาความปลอดภัย ความเป็นส่วนบุคคล โมเดลธุรกิจใหม่ๆรวมทั้ง ขั้นตอนต่างๆ สำหรับยุคหน้า" มุนเตสกล่าวพร้อมกับเสริมว่า "ตัวอย่างเช่นการใช้งาน Aloha บริษัทซีเอ เทคโนโลยีจะ โฟกัสและตรวจหา ว่า วิธีการบริหารงานอย่างยืดหยุ่นใดสามารถนำมาใช้ได้ ในการเรียนรู้เชิงลึกในแอพพลิเคชั่นของเรา

โครงการต่างๆของบริษัทซีเอ เทคโนโลยีในครั้งนี้จะทำผ่านสำนักงานของCTO ในบริษัทและ ดำเนินงานโดยทีมนักวิจัยผู้ทรงคุณวุฒิ วิศวกรและทีมงานต่างๆ จนถึงปัจจุบัน สายงานวิจัยทางยุทธศาสตร์ของบริษัทซีเอ เทคโนโลยีได้มีผลงานตีพิมพ์มากกว่า 75 ฉบับและมีการจดสิทธิบัตรรับรองผลงานวิจัย มากกว่า 70 รายการ

โครงการนี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนด้านการวิจัยและนวัตกรรมจาก โครงการ European Union's Horizon 2020 ของสหภาพยุโรป และ ได้รับตามข้อตกลงสนับสนุนแบบให้เปล่าหมายเลข 787034

เกี่ยวกับ ซีเอ เทคโนโลยี

ซีเอ เทคโนโลยี (NASDAQ: CA) เป็นผู้จัดหาโซลูชั่นเพื่อการบริหารจัดการไอที ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการและรักษาความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมของระบบไอทีที่ซับซ้อนเพื่อรองรับการให้บริการธุรกิจได้อย่างคล่องตัว ทั้งนี้ องค์กรต่างๆ ใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์และโซลูชั่นในกลุ่ม SaaS ของซีเอ เทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรม ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน และรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและอัตลักษณ์ต่างๆ นับตั้งแต่ระดับดาต้าเซ็นเตอร์ไปจนถึงระบบคลาวด์ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซีเอ เทคโนโลยี ได้ที่ www.ca.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง