ยูโรมันนี่จัดเสวนาการลงทุนอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 2018 วิเคราะห์การลงทุนกลุ่ม CLMV และการเติบโตตลาดทุน/ธุรกิจไทยจากนโยบายไทยแลนด์ 4.0

อังคาร ๒๖ มิถุนายน ๒๐๑๘ ๑๐:๔๖
Euromoney กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในข้อมูลธุรกิจระหว่างประเทศที่มีบทบาทอย่างมากต่อการวิเคราะห์ทิศทางระบบเศรษฐกิจ/ธุรกิจในภูมิภาคต่างๆและผลกระทบต่อภาคการเงินระดับโลก ซึ่งได้มีการจัดเวทีเสวนาทั่วโลกกว่า 60 ประเทศในช่วง 48 ปีที่ผ่านมา โดยปีนี้ Euromoney Asia ได้จัดเสวนา The Greater Mekong Investment Forum 2018 จากความสนใจในประเด็นการพัฒนาระบบเศรษฐกิจไทยจากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ดัชนีที่จะทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมีการเติบโตทั้งด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี

ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวในช่วงเปิดการเสวนา "ในปี 2561 นี้ ประเทศไทยมีวาระด้านดิจิทัล 5 แนวทาง ได้แก่ การขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล การพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ เพิ่มการพึ่งพาตัวเองด้านดิจิทัล ยกระดับความปลอดภัยด้านไซเบอร์ และเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐบาลในการดำเนินการเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งนี้รัฐบาลไทยกำลังดำเนินการด้านกฎหมายเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล โดยมีกฎหมาย 3 ฉบับที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ ได้แก่ กฎหมายด้านการพัฒนาดิจิทัล กฎหมายด้านตราสารการเปลี่ยนมือทางอิเล็คทรอนิกส์ และกฎหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์นับเป็นช่วงเวลาสำคัญในการเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย โดยเทคโนโลยีดิจิทัลจะมีบทบาทในการสร้างเศรษฐกิจและสร้างความเท่าเทียมทางโอกาสให้กับประชากรทุกคน"

ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกำลังได้รับการจับตามองจากนักลงทุนทั่วโลก ด้วยปัจจัยด้านการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ซึ่งภายในกรอบการทำงานของกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงในปี 2560 มีจำนวน 66-68 โครงการ ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน และร้อยละ 88 – 89 ของโครงการเหล่านี้เป็นโครงการด้านโทรคมนาคม จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาค

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า "รัฐบาลไทยลงทุนมากกว่า 700 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐเพื่อวางโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม โดย CAT วางแผนที่จะเพิ่มศักยภาพในระดับนานาชาติ เพื่อรองรับการเติบโตของแบนด์วิดท์ในภูมิภาค ซึ่งที่ผ่านมา CAT ได้เปิดใช้งานระบบเคเบิลใต้น้ำ APG (Asia Pacific Gateway) เชื่อมต่อตรงจากไทยไปยังประเทศต่างๆ ในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีเทคโนโลยีขยายแบนด์วิดท์ด้วยความเร็วในการรับส่งข้อมูล นับเป็นความจุแบนด์วิดท์สูงสุดกว่าทุกระบบที่ใช้งานอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นความพยายามผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฮับด้านดิจิทัล โดยใช้โครงข่ายในประเทศไทยเชื่อมต่อกับประเทศอื่นๆทั่วโลก"

"โครงการ Digital Park เป็นหนึ่งในโครงการรัฐที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล โดยนำนวัตกรรมและบริการของภาคธุรกิจสนับสนุนให้ EEC (Eastern Economic Corridor) หรือโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเติบโต ซึ่งจะสร้างประตูสู่โครงข่ายเชื่อมต่อนานาชาติ ด้วยสายเคเบิลใต้น้ำที่จะเชื่อมไทยเข้ากับโครงข่ายฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ พร้อมกันนี้ CAT ยังดำเนินการโครงการสมาร์ทซิตี้ในภูเก็ต โดยใช้เทคโนโลยี และเครือข่าย IoT ในการเก็บและพัฒนาข้อมูลในเมืองภูเก็ต ซึ่งข้อมูลนี้จะสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาและออกแบบแหล่งท่องเที่ยว อีกทั้งการวางระบบ WiFi ให้สามารถใช้งานได้ทั่วพื้นที่จะทำให้สามารถพัฒนากิจกรรมต่างๆ ทั้งสำหรับภาคสาธารณะและเพื่อยกระดับธุรกิจและบริการในเมืองต่างๆให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลนั้น จะมี Big Data หรือข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี IoTs และอุปกรณ์ IoTs โดยรัฐบาลเองก็กำลังผลักดันการจัดการ Big Data ในภาครัฐ เพื่อเปิดข้อมูลสู่สาธารณะ ทำให้ภาคเอกชนสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้นำไปประมวลเพื่อให้เกิดความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค และสามารถปรับปรุงบริการให้ดีขึ้นได้"

นอกจากนี้ ในการประชุมฯ ได้กล่าวถึงนักลงทุนระดับภูมิภาคและระดับโลกที่ต้องการลงทุนในประเทศไทย ซึ่งมีข้อกังวลใน 3 ประเด็น ได้แก่ อัตราคนว่างงาน สังคมผู้สูงอายุ และการพัฒนาด้านนวัตกรรมดิจิทัล อีกทั้งยังมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลไทย ปรับปรุงกฎหมายและข้อบังคับให้มีความเป็นสมัยใหม่ เพื่อให้ง่ายแก่การที่ธุรกิจสตาร์ทอัพจะสามารถเติบโตได้ รวมถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การสร้างนวัตกรรม และการวางรากฐานการศึกษาด้านนวัตกรรมและดิจิทัลให้เยาวชนไทย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ด้านการลงทุนและธนาคาร ได้เสนอแนวทางในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยแพลตฟอร์มการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางออนไลน์ โดย CAT ก็ได้สร้างความเชื่อมั่นในด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบโทรคมนาคมและระบบซัพพอร์ต

"เพื่อการบูรณาการประเทศไทยเข้ากับเศรษฐกิจโลก รวมทั้งโปรโมท Thailand 4.0 เรากำลังสร้างรากฐานในหลายมิติ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลให้กับภาคธุรกิจอย่างสมบูรณ์" ดร.ดนันท์กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง