การรักษาเฉพาะบุคคล ทางเลือกใหม่สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ศุกร์ ๐๖ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๑๕
บทความเรื่อง "PERSONALIZED MEDICINE"

การรักษาเฉพาะบุคคล ทางเลือกใหม่สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง

โดย ศ. คลินิก พญ.สุดสวาท เลาหวินิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา

ปัจจุบันนี้ "โรคมะเร็ง" ยังคงเป็นโรคร้ายที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในคนไทยเป็นอันดับ 1 ทั้งยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญลำดับต้นๆ ของประเทศไทย ศ.คลินิก พญ.สุดสวาท เลาหวินิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา กล่าวว่า การรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันมีพัฒนาการรุดหน้าไปมากทั้งยาเคมีบำบัด รังสีรักษา การรักษาด้วยยามุ่งเป้า (Targeted therapy) รวมถึงการรักษาด้วย แอนติบอดี้ และ ภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ "Immunotherapy" จนมะเร็งหลายชนิดมีโอกาสรักษาหายขาด อย่างไรก็ตามมะเร็งระยะแพร่กระจายจำนวนมากไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถยับยั้งการเติบโตและการแพร่กระจายของโรคมะเร็งได้ระดับหนึ่งด้วยการรักษาแบบมาตรฐาน โรคมะเร็งชนิดเดียวกันในผู้ป่วยแต่ละรายอาจตอบสนองต่อการรักษาแบบมาตรฐานต่างกัน ผู้ป่วยบางรายได้ผลดีผู้ป่วยบางรายอาจไม่ได้ผล ซึ่งอาจเป็นผลจากพันธุกรรมของมะเร็งในตัวผู้ป่วยที่แตกต่างกัน

ด้วยความก้าวหน้าของการแพทย์ ล่าสุดได้มีการนำเทคโนโลยีในการวินิจฉัยมาช่วยในการรักษาโรคมะเร็งที่เรียกว่า "Personalized Medicine" หรือ "Precision Medicine" ซึ่งก็คือ "การรักษาเฉพาะบุคคล" ด้วยการที่นักวิจัยและแพทย์จะทำการตรวจสอบระดับโมเลกุล (Molecular Profiling) ของก้อนมะเร็งของผู้ป่วย โดยการตรวจพันธุกรรมของก้อนมะเร็ง และโปรตีนที่สร้างจากเซลล์มะเร็งโดยละเอียดทำให้สามารถเข้าใจในรายละเอียดของพันธุกรรมและสารอื่นๆ ของมะเร็งในผู้ป่วยคนนั้นๆ ที่เป็นตัวทำให้มะเร็งในตัวผู้ป่วยแต่ละรายเติบโตและแพร่กระจาย

จากการค้นพบความผิดปกติในระดับพันธุกรรม รวมทั้งโปรตีนที่สร้างจากเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยเฉพาะราย จะช่วยให้แพทย์สามารถคัดเลือกยารักษาโรคมะเร็งได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นยามุ่งเป้า (Targeted therapy) หรือแม้แต่ยาเคมีบำบัดที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย และยังสามารถลดการใช้ยารักษาโรคมะเร็งที่อาจไม่ได้ผลดีและนำไปสู่ผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้

สำหรับ "เทคนิคการตรวจสอบระดับโมเลกุล (Molecular Profiling) ของก้อนมะเร็ง" ใช้วิธีการนำชิ้นเนื้อมะเร็งของผู้ป่วยไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานด้วยวิธีการทดสอบหลากหลายวิธี เช่น Next Generation Sequencing, Immunohistochemistry เป็นต้น ในต่างประเทศแพทย์อาจแนะนำการตรวจระดับโมเลกุล (Molecular Profiling) ของก้อนมะเร็งในโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคมะเร็งปอด, ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะแพร่กระจายบางรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐานแล้ว จากการตรวจวิธีนี้ มีแนวโน้มที่จะค้นพบความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือโปรตีนที่สร้างจากมะเร็ง และนำไปสู่การคัดเลือกยารักษามะเร็งที่เหมาะสมขึ้นในผู้ป่วยรายนั้นๆ ได้ อย่างไรก็ตามการตรวจสอบระดับโมเลกุล (Molecular Profiling) ยังมีข้อจำกัดอยู่ เนื่องจากการวินิจฉัยยังมีข้อมูลจำกัดอยู่เพียงมะเร็งระยะแพร่กระจายเท่านั้น และราคาค่าตรวจค่อนข้างสูง อีกทั้งยังมีการใช้ในต่างประเทศเพียงบางประเทศ

สำหรับประเทศไทย การตรวจสอบระดับโมเลกุล (Molecular Profiling) ของก้อนมะเร็ง ยังมีการใช้อย่างจำกัดในโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง แต่หากในอนาคตอันใกล้ การตรวจวิธีนี้มีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นในมะเร็งชนิดต่างๆและราคาถูกลง ก็จะเป็นการนำไปสู่การใช้ที่แพร่หลายมากขึ้น และสามารถเป็นทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่งให้ผู้ป่วยมะเร็งในประเทศไทยได้เข้าถึงต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๕๗ ซีพีเอฟ-คอนเน็กซ์ อีดี ร่วมมอบโอกาสให้น้องๆ รร.บ้านพิชิตคเชนทร์ หนุนผลสัมฤทธิ์การเรียน
๐๘:๑๐ สดช. และ ทริส ขอเชิญชวนประชาชน ร่วมตอบแบบสำรวจการศึกษา
๐๘:๑๘ เขตเฉาหยางในกรุงปักกิ่งเป็นเจ้าภาพจัดเทศกาลวัฒนธรรมชานานาชาติ
๐๘:๒๓ เนคเทค สวทช. จัดรวมพลคน KidBright ครั้งที่ 5 ภายใต้แนวคิด Edge AI หนุน 'นักนวัตกร' เรียนรู้ตลอดชีวิต ขับเคลื่อนประเทศสู่ความยั่งยืน
๐๘:๔๔ วางศิลาฤกษ์สร้างโรงงานใหม่ บัลเดอร์ เทคโนโลยี
๐๘:๑๗ LINE ผนึก สสว. เดินหน้ากระจายความรู้ดิจิทัลทั่วไทย จัดสัมมนาโรดโชว์ครั้งยิ่งใหญ่ 'UPSKILL SME - ยอดขายโตทั่วไทยด้วยโซลูชั่นจาก
๒๐ พ.ค. บมจ. เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) คว้ารางวัล Top Growth Distributor FY23 Commercial
๒๐ พ.ค. นิเทศศาสตร์ SPU จัด UP SKILL FRESHY'67 อัดแน่นความรู้ ฝึกฝนทักษะ เตรียมพร้อมสู่อนาคตสื่อสาร
๒๐ พ.ค. โรงแรมม็อกซี่ แบงคอก ราชประสงค์ ต้อนรับเดือน Pride Month ขนทัพโปรโมชัน สนุกกับความอร่อยไม่ซ้ำใคร ตลอดเดือนมิถุนายนนี้
๒๐ พ.ค. มิน,อแมนด้า,เกรท,เชียร์ ร่วมฉลอง 20 ปี สุรีย์พร คลินิก ในงาน Volformer x Sureephorn clinic