รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทย์ฯตรวจติดตามการดำเนินงานโครงการวิทย์สร้างอาชีพ ยกระดับภูมิภาค วว. สร้างกำลังคนด้วย วทน. อบรมผลิตเตาชีวมวลเพื่อชุมชน โชว์งานถ่ายทอดฯสู่ชุมชนเห็ด/จิ้งหรีดไร้กลูเตน ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ

จันทร์ ๒๓ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๒:๓๓
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผลการดำเนินโครงการวิทย์สร้างอาชีพ ยกระดับภูมิภาค โดยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และกรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้แก่ การผลิตเตาชีวมวลเพื่อชุมชน การผลิตจิ้งหรีดไร้กลูเตน การผลิตเห็ดวิทยาศาสตร์ (หัวเชื้อเห็ด ก้อนเชื้อเห็ด) และเครื่องผลิตน้ำอ่อน เพื่ออบรมเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล นักศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษา เกษตรกรสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ในเขตพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดข้างเคียง เพื่อเป็นตัวแทนของพื้นที่ในการขยายผลการพัฒนาต่อยอดไปยังพื้นที่ใกล้เคียงในอนาคต โดยมีผู้เข้าอบรมสุทธิกว่า 200 คน เป็นโครงการตอบโจทย์การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ผ่านการใช้ปัจจัยการผลิตด้วยตนเอง สามารถลดต้นทุนการเพาะปลูก และการผลิต พึ่งพาตนเองได้ สร้างงานและรายได้เสริมที่มั่งคั่ง ในวันที่ 18 -23 กรกฎาคม 2561 ณ วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต รองผู้ว่าการกลุ่มยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม วว. กล่าวว่า วว. ได้รับมอบหมายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นแกนหลักในการบูรณาการกับหน่วยงานพันธมิตร ภายใต้โครงการวิทย์สร้างอาชีพ ยกระดับภูมิภาค หรือ Big Rock ประกอบด้วย 2 โครงการหลัก คือ โครงการยกระดับโอท็อป (OTOP) ใน 10 จังหวัดเป้าหมาย และโครงการ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลให้เป็นรูปธรรม โดยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เข้ามาช่วยพัฒนาต่อยอด ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มคุณค่า และสร้างรายได้ให้เพิ่มมากขึ้น

โดย วทน. ที่ วว. นำไปถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมใช้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ ประกอบด้วย 5 เทคโนโลยี ได้แก่ 1.เตาชีวมวลเพื่อชุมชน 2.การผลิตจิ้งหรีดไร้กลูเตน 3.การผลิตเห็ดวิทยาศาสตร์ (หัวเชื้อเห็ด ก้อนเชื้อเห็ด) 4.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไผ่ สมุนไพรและสตรอเบอรี่ (การผลิตอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ กระบวนการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ) และ 5.การผลิตหนอนวิทยาศาสตร์ (สูตรการทำอาหารหนอนกึ่งสำเร็จรูปและถ่ายทอดกระบวนการเลี้ยงหนอน)

"รัฐบาลให้ความสำคัญกับการกระจายรายได้ โอกาส และความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียม (Inclusive Growth Engine) เพื่อให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักของความเหลื่อมล้ำ และการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากในชุมชน การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ และการขับเคลื่อนประเทศโดยนโยบาย Thailand 4.0 พัฒนาประเทศด้วยนวัตกรรม ปัญญา เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานที่ผ่านมา มีการกระจายตัวสูง ขาดการมุ่งเน้น (focus) การพัฒนาทั้งในมิติพื้นที่ดำเนินการ และกลุ่มเป้าหมาย และขาดการจัดการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ จากเหตุผลดังกล่าวโครงการมหกรรมวิทย์สร้างอาชีพ ยกระดับภูมิภาค หรือ Big Rock จึงถูกจัดตั้งขึ้นและมอบหมายให้ วว. เป็นแกนหลักในการดำเนินงาน...การอบรมอาชีพผลิตเตาชีวมวลเพื่อชุมชนให้แก่สถาบันอาชีวศึกษา รวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตเห็ดวิทยาศาสตร์และการผลิตจิ้งหรีดไร้กลูเตนครั้งนี้ เป็นการตอบโจทย์ตามนโยบายของรัฐบาล ในการสร้าง ส่งเสริมกำลังคนด้วย วทน. ที่เป็นรูปธรรม และจะก่อให้เกิดความยั่งยืน เนื่องจากองค์ความรู้ได้ผ่านการถ่ายทอดจากตัวบุคคลและมีการบันทึกไว้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อเป็นบทเรียนให้แก่รุ่นต่อๆไป" ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าว

โครงการยกระดับ OTOP ใน 10 จังหวัดพื้นที่เป้าหมาย มีวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ เพื่อยกระดับให้ OTOP พัฒนาขึ้น ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ พัฒนาให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าสูงขึ้นและมีความแตกต่าง รวมทั้งเร่งกระจายโอกาสการพัฒนาและสร้างความมั่นคงให้ทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม มุ่งพัฒนากลุ่ม OTOP รวมทั้งสิ้น 2,000 กลุ่ม ซึ่งจะมีผู้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาไม่น้อยกว่า 30,000 ราย

โครงการ "1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร" มีวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ สร้างนวัตกรรมทางการเกษตรที่เหมาะสมกับศักยภาพ ด้วยการวิจัยแบบมีส่วนร่วม และสร้างรายได้แก่เกษตรกรในตำบลเป้าหมาย โดยมีรายได้ต่อครัวเรือนเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 10 มีกลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกร 10,000 ราย และองค์กรเกษตรกร ในพื้นที่ 878 อำเภอ ใน 76 จังหวัด ของประเทศไทย สร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก จากรายได้เฉลี่ยในระดับตำบลเพิ่มขึ้นร้อยละ 30

รองผู้ว่าการกลุ่มยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม วว. กล่าวถึงเทคโนโลยีพร้อมใช้ซึ่ง วว. นำไปถ่ายทอดความรู้ว่า เตาชีวมวลเพื่อชุมชน วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม วว. มีคุณลักษณะพิเศษด้านการออกแบบเพื่อประหยัดพลังงาน ดังนี้ 1. มีการออกแบบให้อากาศไหลเวียนอย่างเหมาะสม จึงทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ และคายความร้อนออกมาได้มาก 2. มีช่องว่างอากาศภายในเตา ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันการสูญเสียความร้อน และเกิดการไหลเวียนของออกซิเจนภายในเตาได้อย่างเหมาะสม 3.สามารถกำหนดทิศทางการไหลของแก๊สร้อนและแก๊สเสียได้อย่างลงตัว ทำให้นำความร้อนทิ้ง กลับมาใช้ได้ มีการใช้ปริมาณไม้ 15-21 กิโลกรัม ถ่าน 5- 7 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับความชื้นในไม้และถ่าน มีค่าความร้อน 32,500-45,500 Kcal/kg (กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม) อุณหภูมิภายในเตา (เชื้อเพลิงไม้) 500-600 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิภายในเตา (เชื้อเพลิงถ่าน) 600-800 องศาเซลเซียส

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๔๙ จุฬาฯ ครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2024
๐๙:๒๒ กทม. กำชับเจ้าหน้าที่เทศกิจป้องกันผลกระทบสุขภาพระหว่างปฏิบัติงานกลางแดดร้อนจัด
๐๙:๕๑ ดีพร้อมเปย์ ปล่อยกู้ระยะสั้น ช่วยผู้ประกอบการแก้หนี้
๐๙:๒๗ กทม. ตั้งเป้าปรับปรุงทางเท้าตามมาตรฐานใหม่ 76 เส้นทางภายในปี 68
๐๙:๒๗ รายการ สถานีประชาชน รับโล่ประกาศเกียรติคุณเนื่องในวันคุ้มครองผู้บริโภคไทย 2567
๐๙:๐๒ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ รับสมัครนักศึกษาใหม่ ปริญญาโท หลักสูตรวิศวกรรมเว็บ และการพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพา ปี
๐๙:๐๖ ต่อกล้าอาชีวะ ปี 67 ปั้นนวัตกรสายอาชีวะ สู่ Young Smart IoT Technician ด้วย IIoT เสริมแกร่งแรงงานในหลากอุตสาหกรรม S-Curve มุ่งสู่ Industry
๐๘:๐๙ WICE รับมอบรถบรรทุกไฟฟ้าจาก NEX พร้อมเดินหน้า มุ่งสู่ Green Logistics
๐๘:๔๓ EVT เร่งเพิ่มพันธมิตร รองรับนโยบายภาครัฐในการเพิ่มสัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ
๐๙:๒๔ บิทคับ มูนช็อต ร่วม อัลติเมท เดสตินี่ เปิดตัว U Destiny เอาใจสายมู แพลตฟอร์มแรกของไทยที่ใช้ AI ทำนายดวง