การพัฒนาโปรแกรมทดสอบไอซีลดเวลากระบวนการผลิตในโรงงาน งานวิจัยฝีมือล้วนๆ จากรั้วพระจอมฯ

ศุกร์ ๑๐ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๔๕
ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมทดสอบไอซีด้วยภาษามาตรฐาน STIL ผลงานของ นางสาวนุชจรินทร์ ใจดี และนายพงศธร หอมนาน นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) การันตีรางวัลจากการประกวดผลงานสหกิจศึกษาดีเด่น มจพ. ประจำปี 2561 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งการพัฒนาโปรแกรมทดสอบไอซีด้วยภาษามาตรฐาน STIL (Standard Test Interface Language) เป็นการพัฒนาการทดสอบไอซีด้วยเครื่องTester RSX 5000 ซึ่งเป็นเครื่องทดสอบไอซีที่มีประสิทธภาพสูงในโรงงานอุตสาหกรรม โดยกระบวนการที่ได้ทำการพัฒนาโปรแกรมเพื่อทดสอบไอซีนั้นจะช่วยให้ลดเวลาในการทดสอบไอซีให้กับกระบวนการผลิตในโรงงานได้มาก เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตได้มากขึ้นในระยะเวลาที่น้อยที่สุด และยังช่วยลดจำนวนอุปกรณ์ในการทดสอบไอซีลงไปได้มาก แนวคิดและความเป็นมาของงานวิจัย เนื่องจากการทดสอบไอซีในรูปแบบเดิมที่ใช้เครื่องทดสอบรุ่นเก่าที่เป็นภาษา Assembly ทำให้การทดสอบไอซีมีประสิทธิภาพน้อยและใช้เวลานานในการทดสอบ เลยได้มีการพัฒนาโปรแกรม STIL ขึ้นมาเพื่อใช้ในการทดสอบกับเครื่องทดสอบไอซีรุ่นใหม่ เพื่อทำให้ทดสอบประสิทธิภาพไอซีได้100% และสามารถลดเวลาในการทดสอบลงไปได้ถึง 56% โดยมี ผศ.ดร.พินันทา ฉัตรวัฒนา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่อเขียนโปรแกรมที่ใช้ในการทดสอบไอซีเช็คความถูกต้องได้ 100% ให้กับบริษัท โรม อินทิเกรเต็ด ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ลดเวลาในการทำงานของโปรแกรมที่ใช้สำหรับทดสอบไอซี ให้ได้มากที่สุด และลดอุปกรณ์เสริมของการทดสอบไอซีลงจากเดิมลักษณะเด่นของภาษามาตรฐาน STIL เป็นภาษาเฉพาะที่ใช้ในการทดสอบไอซีของบริษัท โรม อินทิเกรเต็ด ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด มีคุณภาพในการตวรจสอบความถูกต้องที่สูงและง่ายต่อการใช้งานวิธีการดำเนินงาน ในขั้นตอนแรกได้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับพื้นฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ การใช้เครื่องTester RSX5000 และเครื่องมือต่างๆที่จำเป็นต่อการทำงาน และเมื่อเข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ก็ลงมือเขียนโปรแกรมโดยการแปลงโปรแกรมจากเครื่อง Tester ICT1800 ที่ใช้ภาษา Assembly ให้ใช้กับเครื่องTester RSX5000 ที่ใช้ภาษา STIL ผ่านทางโปรแกรม RSX5000 IC Tester System หลังจากนั้นทำการตรวจสอบโปรแกรมให้มีความถูกต้องตาม Test Spec และ Circuit หลังจากที่ได้ทำการเขียนโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตรวจสอบว่าโปรแกรมของเรานั้นสามารถ RUN กับงานจริงได้ไหม เมื่อเช็คโปรแกรมแล้วว่ามีความถูกต้อง 100% ก็สามารถนำโปรแกรมภาษา STIL ที่ได้เขียนโดยนำมาทดสอบไอซีในกระบวนการผลิตที่ RUN งานเป็นหลาย ๆ ตัวได้

ประโยชน์การใช้งานวิจัย สามารถนำโปรแกรมไปต่อยอดในการทดสอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในโรงงานอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี ลดเวลาในการทำงานในกระบวนการผลิต นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านการทดสอบชิ้นงานในโรงงานอุตสาหกรรม

สอบถามรายละเอียดได้ที่ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ 6333

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง