กระทรวงเกษตรฯ ร่วมมือ 3 หน่วยงาน ลงนาม MOU หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ศุกร์ ๑๗ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๑๙
นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นสักขีพยานพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นตัวแทนลงนามร่วมกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยการลงนามบันทึกความเข้าใจ หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีขึ้นเนื่องจากทุกหน่วยงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการเกษตรของประเทศไทย ให้มีความรู้ที่ทันสมัยและสามารถนำไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพ ทั้งด้านการเป็นผู้ผลิตและผู้ประกอบการ โดยการศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกษตรกร ทายาทเกษตรกร ให้สามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกษตร และสาขาอื่นๆ ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ไปใช้ในการประกอบอาชีพและสร้างสรรค์งานวิจัยในชุมชนและส่งเสริมให้ชุมชนทำงานเป็นกลุ่ม รวมทั้งให้ชุมชนสามารถนำงานวิจัยไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ และเพื่อพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานให้สามารถเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ตรงกับความต้องการของทุกหน่วยงาน

สำหรับการดำเนินงาน ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะประชาสัมพันธ์ข้อมูลและรายละเอียดการรับสมัครแก่ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ ประกอบด้วย ข้าราชการจากหน่วยงานในสังกัด เกษตรกร และทายาทเกษตรกร ส่วนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) จะสนับสนุนเงินกู้หรือทุนการศึกษาสำหรับเกษตรกร และทายาทเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ยังร่วมสนับสนุนทุนการศึกษา/ทุนฝึกอบรม แก่ข้าราชการและบุคลากรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมดำเนินการจัดการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พัฒนาชุดวิชาให้เหมาะสมกับความต้องการของทุกหน่วยงาน และสนับสนุนทุนการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแก่ผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่ออีกด้วย โดยบันทึกความเข้าใจหลักสูตรดังกล่าวนี้ มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี

หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นั้นแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ 1) หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี พหุวิทยากร (ปฏิบัติการ) 2)โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตร Non degree และโครงการธนาคารหน่วยกิต เป็นหลักสูตรระยะสั้น 1 ภาคการศึกษา (4 เดือน) เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบชุดวิชา (Module) ภายใต้หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปัจจุบันมีจำนวน 21 ชุดวิชา เทียบเท่ากับ 20 หน่วยกิต

จากความร่วมมือกันของ 4 หน่วยงานในการสนับสนุนหลักสูตร ฯ ดังกล่าวนี้ นับเป็นการพัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อให้ได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกษตร และสาขาอื่นๆ สามารถสร้างงานวิจัยในชุมชนให้เกิดประโยชน์และเป็นจริงได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการประกอบชีพให้ประสบผลสำเร็จ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก อีกทั้งจะทำให้เกิดความก้าวหน้า และแข่งแกร่งให้กับภาคการเกษตรอย่างยั่งยืนต่อไปในยุค 4.0

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๘ พัทยาแอร์เวย์ ต้อนรับเครื่องบิน ATR 72-500 Freighter ลำแรก เข้าฝูงบิน พร้อมให้บริการขนส่งสินค้าในภูมิภาคอาเซียนตามแผนการดำเนินงาน
๑๒:๕๔ ผู้ถือหุ้น BVG ไฟเขียวจ่ายปันผลปี 66 เพิ่มอัตรา 0.049 บาท/หุ้น รวมทั้งปีจ่าย 0.076 บาท/หุ้น กำหนดจ่าย 15
๑๒:๕๗ ผู้ถือหุ้น AH อนุมัติจ่ายปันผลปี 66 เพิ่ม 0.95 บ./หุ้น กำหนดจ่าย 24 พ.ค. นี้
๑๑:๒๘ ทรู คลิกไลฟ์ จัดเวิร์คช็อป ติดอาวุธให้โรงเรียนเอกชน อัปเดตเทรนด์การศึกษายุค AI เตรียมพร้อมรับมืออนาคตที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน
๑๒:๒๔ PRAPAT ประชุมผู้ถือหุ้นปี 67 ไฟเขียวจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด แขวนป้ายขึ้น XD วันที่ 7 พ.ค.2567
๑๒:๒๗ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย มีมติเอกฉันท์ ตั้งบุรณิน รัตนสมบัติ เป็นนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยสมัยที่
๑๑:๒๔ กรุงศรี คว้ารางวัล Best Bank for Sustainable Finance และกวาดรางวัลด้านความยั่งยืน ตอกย้ำการเป็นพันธมิตรที่ลูกค้าธุรกิจไว้วางใจ
๑๑:๒๘ กาตาร์ แอร์เวย์ส เดินหน้าสนับสนุนชุมชนร่วมกับ UNHCR
๑๑:๕๖ สยาม เอ็ม ซี เผยยอดขาย บางกอกคุกกี้ โต 50% รับท่องเที่ยวพุ่ง เตรียมรับสงกรานต์ ส่ง บางกอกคุกกี้ รสกระเพราไก่ ใหม่ แถมฟรี!
๑๑:๒๖ OR จับมือ สคทช. ร่วมสร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ผลิตกาแฟอย่างยั่งยืน