กรุงเทพฯ พร้อมรับมืออุบัติเหตุจากความเร็ว เพื่อท้องถนนที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

จันทร์ ๒๐ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๑:๑๓
กล้องตรวจวัดความเร็วที่สนับสนุนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเครือข่าย 50 เมืองทั่วโลก

เรื่องโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ (Partnership for Healthy Cities)

ซึ่งจะช่วยประเมินพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน

กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ได้ประกาศติดตั้งกล้องตรวจวัดความเร็วจำนวน 10 ตัว บริเวณ 3 พื้นที่ของกรุงเทพมหานครที่มีรายงานการเกิดอุบัติเหตุสูง โดยกรุงเทพมหานครได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งใน 54 เมือง ของโครงการเครือข่าย 50 เมืองทั่วโลก เรื่องโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ (Partnership for Healthy Cities) ซึ่งสนับสนุนโดยมูลนิธิบลูมเบิร์กเพื่อสาธารณประโยชน์ (Bloomberg Philanthropies) ซึ่งแต่ละประเทศที่เข้าร่วมโครงการฯ จะเลือกดำเนินงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากทั้งหมดสิบเรื่องที่กำหนดไว้โดยโครงการฯ โดยทั้งสิบเรื่องนี้ ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกว่า เป็นเรื่องที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันผู้คนจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อันเป็นเหตุให้เกิดโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ

จากรายงานสถานการณ์โลกเรื่องความปลอดภัยทางถนน ปี 2558 (Global Status Report on Road Safety) ที่จัดทำโดยองค์การอนามัยโลก พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้เสียชีวิตบนท้องถนนสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก โดย โดย 83% ของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทย คือ กลุ่มผู้ที่มีความเปราะบางในการสัญจร อันได้แก่ คนเดินเท้า ผู้ขับขี่รถจักรยาน และผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยคิดเป็นอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 49% นอกจากนี้ ข้อมูลจากกล้องตรวจวัดความเร็วที่สนับสนุนโดยโครงการฯ ในช่วงต้น ยังเผยให้เห็นว่า 1 ใน 5 ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ใช้ความเร็วในการขับขี่เกินกว่ากำหนดอีกด้วย

นางสาวเคลลี่ ลาร์สัน หัวหน้าโครงการความคิดริเริ่มเพื่อความปลอดภัยทางถนนทั่วโลก โดยมูลนิธิบลูมเบิร์กเพื่อสาธารณประโยชน์ (BIGRS) และโครงการเครือข่าย 50 เมืองทั่วโลก เรื่องโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ (Partnership for Healthy Cities) กล่าวว่า "มูลนิธิบลูมเบิร์กเพื่อสาธารณประโยชน์ ได้ร่วมมือกับกรุงเทพมหานครในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนนมาตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งกรุงเทพมหานครได้แสดงออกถึงความมุ่งมั่นในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตบนท้องถนนของกรุงเทพฯ อย่างจริงจัง และการติดตั้งกล้องตรวจวัดความเร็วนี้เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งมูลนิธิฯ คาดหวังที่จะสานต่อความร่วมมือนี้ ด้วยการใช้ข้อมูลจากกล้องตรวจวัดความเร็วเหล่านี้ ในการสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน"

นางสาวแอเรียลา โรจานี ผู้อำนวยการ โครงการเครือข่าย 50 เมืองทั่วโลกเรื่องโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ (Partnership for Healthy Cities) จากองค์กรไวทัล สแตรทีจีส์ (Vital Strategies) กล่าวว่า "การขับขี่ด้วยความเร็ว เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงหลักของการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วโลก การที่กรุงเทพมหานครตัดสินใจใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดมาช่วยประเมินปัญหาดังกล่าว จะเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนนอื่นๆ อย่างเช่น การรณรงค์เรื่องหมวกนิรภัยและเรื่องเมาแล้วขับ พวกเราขอชื่นชมกรุงเทพมหานคร ที่นำข้อมูลที่จัดเก็บนี้มาใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการขับขี่ด้วยความเร็ว ซึ่งจะมีส่วนช่วยรักษาชีวิตผู้คนได้เป็นจำนวนมาก"

ทั้งนี้ พื้นที่ติดตั้งกล้องตรวจวัดความเร็ว ได้แก่ พื้นที่เขตลาดกระบัง บริเวณถนนฉลองกรุง ซอยฉลองกรุง 33 (ทิศทางไป-กลับ); พื้นที่เขตลาดกระบัง บริเวณถนนร่มเกล้า ซอยร่มเกล้า 50 (ทิศทางไป-กลับ); และพื้นที่เขตประเวศ บริเวณถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 12 (ทิศทางไป-กลับ)

ภายใต้ความร่วมมือนี้ เมืองต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการฯ จะทำงานร่วมกับมูลนิธิบลูมเบิร์กเพื่อสาธารณประโยชน์ องค์การอนามัยโลก และองค์กรไวทัล สแตรทีจีส์ เพื่อดำเนินงานตามแนวทางที่จะรักษาชีวิตผู้คน และพัฒนาสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ในทุกๆ ด้าน ในการนี้ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหนึ่งใน 10 เมืองที่ร่วมโครงการความคิดริเริ่มเพื่อความปลอดภัยทางถนนทั่วโลก โดยมูลนิธิบลูมเบิร์กเพื่อสาธารณประโยชน์ (BIGRS) จะใช้กล้องตรวจวัดความเร็วที่ติดตั้งใหม่เหล่านี้ ในการเก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งนอกเหนือจากข้อมูลพื้นฐานแล้ว ก็จะมีการเก็บข้อมูลอื่นๆ เช่น ยานพาหนะประเภทใดที่ขับขี่ด้วยความเร็ว และใช้ความเร็วเท่าไร เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการวางแนวนโยบายด้านความปลอดภัยทางถนน การพัฒนารูปแบบการสื่อสารรณรงค์ และการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ นอกจากนี้ การใช้กล้องตรวจวัดความเร็วดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายเรื่องการขับขี่ด้วยความเร็วอีกด้วย

โรคไม่ติดต่อหรือที่เรียกว่าเอ็นซีดี (NCDs) ได้แก่ โรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจเรื้อรัง และอาการบาดเจ็บต่างๆ รวมถึงอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปมากถึง 44 ล้านคนต่อปี คิดเป็นเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก ทั้งนี้ ในยุคที่ผู้คนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบเมือง เมืองต่างๆ จึงควรจะต้องมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานเพื่อรับมือกับโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บเหล่านี้ โดยวางนโยบายที่ทำให้เกิดการลดปัจจัยเสี่ยงทุกชนิดอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการเครือข่าย 50 เมืองทั่วโลก เรื่องโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ (Partnership for Healthy Cities) ได้ที่เว็บไซต์ https://partnershipforhealthycities.bloomberg.org/

โครงการเครือข่าย 50 เมืองทั่วโลก เรื่องโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ

โครงการเครือข่าย 50 เมืองทั่วโลก เรื่องโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ (The Partnership for Healthy Cities) เป็นเครือข่ายระดับโลกที่มุ่งมั่นรักษาชีวิตผู้คนจากโรคไม่ติดต่อ (NCDs) และการบาดเจ็บต่างๆ ซึ่งโครงการฯ นี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิบลูมเบิร์กเพื่อสาธารณประโยชน์ (Bloomberg Philanthropies) ร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์กร

ไวทัล สแตรทีจีส์ ( Vital Strategies) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนเมืองต่างๆ ทั่วโลก ให้สามารถนำเสนอนโยบายที่มีประสิทธิภาพสูงสุด หรือมีการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อในชุมชนเมืองต่างๆ ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://partnershipforhealthycities.bloomberg.org/

เกี่ยวกับองค์กร ไวทัล สแตรทีจีส์

องค์กร ไวทัล สแตรทีจีส์ (Vital Strategies) เป็นองค์กรด้านสุขภาพระดับโลกที่เชื่อมั่นว่ามนุษย์ทุกคนจะต้องได้รับความคุ้มครองผ่านระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็ง ทีมงานของเรานำกลยุทธ์การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้ร่วมกับนวัตกรรมใหม่ เพื่อช่วยพัฒนาและดำเนินนโยบายทางสาธารณสุขที่เหมาะสม ตลอดจนมีการบริหารจัดการโครงการต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการวิจัย และมีการออกแบบกลยุทธ์ในการสื่อสารรณรงค์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายและพฤติกรรมต่างๆ ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.vitalstrategies.org หรือ Twitter @VitalStrat

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง