สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และ สธ. ชู!! ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานีเป็นพื้นที่นำร่อง สางปัญหา...ความไม่ครอบคลุมของการได้รับวัคซีนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

จันทร์ ๒๗ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๓๑
สถาบันวัคซีนแห่งชาติจับมือ สคร.12 กรมควบคุมโรค และเครือข่าย ผลักดันโครงการสร้างภาคีเครือข่ายพัฒนางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่ เร่งสางปัญหาความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนต่ำใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ พร้อมชู ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี เป็นพื้นที่นำร่อง หวังเรียกความเชื่อมั่นให้เห็นว่าแม้พื้นที่ที่ยากที่สุดยังสามารถทำได้

ดร.นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ(สวช.)กล่าวว่า ประเทศไทยมีการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุมิกันโรคมาตั้งแต่ปี 2520 จนถึงปัจจุบันมีวัคซีนที่บรรจุในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุมิกันโรคให้บริการจำนวน 11 ชนิด สามารถป้องกันโรคได้ 11 โรค ให้บริการแก่เด็กทุกคนในประเทศไทย รวมทั้งแรงงานต่างด้าวและจะขยายการให้วัคซีนในผู้ใหญ่ต่อไป และได้กำหนดความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ในวัคซีนบางชนิด โดยเป้าหมายงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของไทยมีทั้งระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับโลก เช่น การกวาดล้างโรคโปลิโอหรือการกำจัดหัด การกำจัดโรคบาดทะยักในทารกแรกเกิด และการลดอัตราป่วยของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ถึงแม้ว่างานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะดำเนินการมาแล้วถึง 40 ปี แต่จากระบบรายงานปกติและการสำรวจพบว่าบางพื้นที่ยังมีปัญหาโดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งพบว่าความครอบคลุมของวัคซีนทุกชนิดต่ำกว่าเกณฑ์ เนื่องจากความยากลำบากในการดำเนินการเชิงรุกและการติดตามกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ การปฏิเสธวัคซีน การปฏิเสธนวัตกรรมใหม่ การสื่อสารประชาสัมพันธ์สู่ประชาชนขาดความต่อเนื่อง การให้บริการวัคซีนไม่ได้เป็นตัวชี้วัดของสถานบริการทุกจังหวัดและบางส่วนมองว่าวัคซีนเป็นงานพื้นฐานไม่ต้องให้ความสำคัญมาก ผู้รับผิดชอบงานเปลี่ยนงานบ่อย น้องใหม่ขาดประสบการณ์ การรายงานไม่ถูกต้องไม่เป็นไปตามระบบ ฯลฯ

ดร.นพ.จรุง กล่าวต่อไปว่า สถาบันวัคซีนแห่งชาติฯในฐานะหน่วยงานกลางด้านวัคซีนของประเทศในกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและมีบทบาทเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ โดยมีพลเอกฉัตรชัย สาริกัลป์ยะรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 60 ที่ผ่านมา ซึ่งมีมติเห็นชอบให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติและกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการทำงานร่วมกับกรมควบคุมโรค เครือข่ายภาคประชาสังคม องค์กรการกุศล ผู้นำศาสนา และผู้นำชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามความครอบคลุมของวัคซีนและการเฝ้าระวังโรค รวมทั้งการพัฒนารูปแบบการสื่อสารและให้ความรู้แก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้สถาบันวัคซีนแห่งชาติยังได้ร่วมกับ สคร.ที่ 12 จัดทำ "โครงการสร้างภาคีเครือข่าย พัฒนางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง"เพื่อจัดทำแผนพัฒนางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทในพื้นที่ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อให้หน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และได้กำหนดให้อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานีเป็นพื้นที่นำร่องในการแก้ไขปัญหา โดยพิจารณาจากพื้นที่ที่มีอัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนต่ำหรือใช้ฐานข้อมูลทางระบาดวิทยามาประกอบและพิจารณาจากความพร้อม ความสนใจของพื้นที่ด้วย โดยกระบวนการทำงานจะใช้การทำความเข้าใจกับปัญหา สถานการณ์ในพื้นที่ ถอดบทเรียนจากพื้นที่ที่มีความสำเร็จ และเน้นสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ภาคประชาสังคม ผู้นำศาสนาในพื้นที่ รวมทั้ง อสม. ตลอดจนการสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งคาดว่าพื้นที่นำร่องจะเป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าพื้นที่ที่ยากที่สุดยังสามารถทำได้ เพราะฉะนั้นพื้นที่อื่นก็จะสามารถทำได้เช่นกัน

"ทั้งนี้คาดว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนิน"โครงการสร้างภาคีเครือข่าย พัฒนางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง" จะทำให้ทราบถึงสถานการณ์และปัญหางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่ และได้แผนพัฒนางานที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้มแข็งของระบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทในพื้นที่ โดยคณะทำงานจะเตรียมเสนอแผนเร่งรัดงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับความเห็นชอบและนำไปสู่การปฏิบัติจริงต่อไป" ดร.นพ.จรุง กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๐๓ พ.ค. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๐๓ พ.ค. รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๐๓ พ.ค. กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว