กรมชลจับมือพันธมิตร พิชิตผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พฤหัส ๐๖ กันยายน ๒๐๑๘ ๐๙:๒๒
เพราะปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาโครงการต่างๆ ของกรมชลประทานมีความซับซ้อนและหลากหลายด้าน แต่จะปล่อยให้ผลกระทบเหล่านั้นเกิดขึ้นจนเกิดความเดือดร้อนคงไม่เข้าที การจะแก้ปัญหาเพียงลำพังก็อาจทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ กรมชลประทานจึงต้องจับมือกับหลายหน่วยงาน หลายองค์กร ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางร่วมกันแก้ไข

จากนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของกรมชลประทานที่ต้องทำ EIA (Environmental Impact Assessment Report) หรือการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลังจากได้ข้อมูลแล้วต้องมีแผนติดตามผลกระทบ ในทุกกระบวนการตั้งแต่ก่อนก่อสร้าง ช่วงก่อสร้าง หลังก่อสร้าง และแต่ละโครงการ มีผลกระทบไม่เหมือนกัน

นายธนา สุวัฑฒน ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน เปิดเผยว่าเมื่อมีแผนดำเนินการหลายแผน หากเป็นความเชี่ยวชาญของกรมชลประทานเช่นเรื่องคุณภาพน้ำซึ่งมีสำนักวิจัย มีสำนักสิ่งแวดล้อม ก็จัดการเองได้ แต่นอกเหนือกว่านั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากที่อื่น

"พอไปเรื่องโบราณคดี เรื่องขุดค้น หรือบางทีต้องทำพิพิธภัณฑ์เลยด้วยซ้ำ หรือเรื่องประมงเราก็ทำเองไม่ได้ ต้องมีกรมประมงเข้ามาช่วย หรือเรื่องโรคเขตร้อนที่เกี่ยวกับน้ำ ก็ต้องไปทางสาธารณสุข ส่วนที่เกี่ยวกับป่าไม้ก็ไปที่กรมป่าไม้ มีหน่วยงานเยอะเลยที่มาร่วมกันทำงาน นี่คือการบูรณาการ พื้นที่เดียวกัน งานเดียวกัน แต่ทำงานกันหลายหน่วยงาน"

เกณฑ์การคัดเลือกคนที่เข้ามาร่วมทำงาน ทางกรมชลประทานยึดหลักว่าผลกระทบเกิดด้านใดบ้าง จึงเลือกหน่วยงานที่เชี่ยวชาญเป็นมืออาชีพเข้ามาทำงาน

ยิ่งการทำงานซับซ้อนและมีหลายฝ่ายร่วมกัน งบประมาณที่ใช้ย่อมมากขึ้นตาม ลำพังจะผลักให้หน่วยงานที่เข้ามาช่วยต้องแบกรับคงไม่ดีแน่ ด้านงบประมาณ ผอ.สำนักวิจัยฯ บอกว่ากรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด

"เราดูว่าจำเป็นต้องทำอะไรบ้าง หน่วยงานต่างๆ จะเสนอแผนมา แล้วเราพิจารณาร่วมกัน เช่น จุดสกัดป่าไม้ กรมป่าไม้เสนอมา 5 จุด เราก็เอาแผนที่มาหารือกัน พอตกลงกันได้ว่าต้องทำกี่จุด เราก็จัดสรรงบประมาณให้ อย่างกรมประมงต้องมีเรือตรวจการณ์ เราก็จัดสรรงบประมาณซื้อให้ อะไรที่จำเป็นเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม ต้องทำได้เลยอย่างเต็มที่"

ในปีที่แล้วกรมชลประทานได้รับงบประมาณราว 200 ล้านบาท เพื่อจัดการโครงการแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่จำนวนตัวเลขนี้ไม่แน่นอนในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการจัดการ ผอ.สำนักวิจัยฯ บอกว่างบจะอยู่ราว 100-200 ล้าน ซึ่งในตัวเลขดังกล่าวต้องเกิดเกิดผลสัมฤทธิ์คุ้มค่า

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๙ ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๑๗:๕๑ GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๑๗:๒๗ กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๑๗:๑๔ กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๑๗:๒๕ First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๑๗:๐๒ CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๑๗:๑๑ บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๑๗:๕๒ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๑๗:๐๑ รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๑๗:๔๓ กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว