กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นทีติดตามการดำเนินงานและมอบวัสดุโครงการยกระดับ OTOP ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

จันทร์ ๑๐ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๗:๔๖
วันที่ 7-10 กันยายน 2561 ดร.พจมาน ท่าจีน เลขานุการกรม นายธีระชัย รัตนโรจน์มงคล นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ พร้อมทีมนักวิทยาศาสตร์จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการยกระดับสินค้า OTOP (Big rock) จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาช่วยพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ กลุ่มผ้า เครื่องแต่งกาย และกลุ่มสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร โดยครั้งนี้ติดตามและให้คำปรึกษาเชิงลึกผู้ประกอบการจำนวน 61 กลุ่ม เป็นผ้า 46 กลุ่ม สมุนไพรไม่ใช่อาหาร 15 กลุ่ม ในเขตพื้นที่ อ.เมือง อ.ปางมะผ้า อ.ปาย อ.สบเมย อ.แม่สะเรียง อ.แม่ลาน้อย และ อ.ขุนยวม

ดร.พจมานฯ กล่าวว่า การดำเนินงานภายใต้โครงการยกระดับสินค้า OTOP ซึ่งจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดเป้าหมายที่ได้ยกระดับ ทางกรมวิทยาศาสตร์บริการทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เพื่อที่จะนำวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยผู้ประกอบการ ซึ่งหลักๆเป็นกลุ่มทางด้านสิ่งทอ จะเป็นเสื้อกะเหรี่ยงและย่าม ด้านสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารจะเป็นสบู่และผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้สมุนไพรในท้องถิ่นมาผลิต จากการดำเนินงานดังกล่าว เราได้เก็บตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ไปทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่าผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ยังไม่ผ่านตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือ มผช. เราจึงนำวิทยาศาสตร์เข้ามาเพื่อใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีกระบวนการตั้งแต่การอบรม การถ่ายทอดเชิงลึก เมื่อทางผู้ประกอบการไปพัฒนาสินค้าแล้วเราก็เก็บตัวอย่างเพื่อไปทดสอบที่ห้องปฏิบัติการอีกครั้ง ผลก็คือผลิตภัณฑ์ผ่านตามมาตรฐาน ซึ่งจะเห็นได้ว่ากระบวนการส่วนนี้มีผลโดยตรงต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อจากนั้นเราจึงมาตรวจติดตามและมอบวัสดุ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำเอาวัสดุไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ในขั้นตอนต่อไปก็จะพาผู้ประกอบการในจังหวัดแม่ฮ่องสอนไปเปิดตลาดที่เชียงใหม่หน้าห้างสรรพสินค้าเมญ่า บริเวณนิมมานเหมินทร์ ระหว่างวันที่ 22-23 กันยายนนี้ ต่อจากนั้นจะคัดกลุ่มผู้ประกอบการที่มีศักยภาพมีความพร้อมในด้านผลิตภัณฑ์ เชิญชวนไปจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำในกรุงเทพฯ เพื่อให้สินค้าออกสู่ท้องตลาดได้กว้างมากยิ่งขึ้น ส่วนการต่อยอดอีกขั้นเราจะนำผู้ประกอบการที่มีคุณภาพกลุ่มนี้ไปยื่นจดทะเบียนได้มาตรฐาน มผช. อย่างเต็มรูปแบบเพื่อที่จะให้ผู้ประกอบการได้ดาวถึงขั้นห้าดาวต่อไป

นางพวงทอง ชื่นกรมรักษ์ ประธานกลุ่มแปรรูปผ้าทอสารภี กล่าวว่า ทางกลุ่มมีสมาชิกจำนวน 22 คน ผลิตงานเสื้อผ้าจากฝ้ายและกระเป๋า ก่อนหน้าพบปัญหาในด้านการเย็บ การติดซิปไม่เรียบร้อย ย้อมผ้าสีตกมาก ผ้าโดนแดดสีจางและเนื้อผ้าแข็งไม่อ่อนนุ่ม พอมีโครงการนี้เกิดขึ้นก็มีทีมนักวิทยาศาสตร์ และอาจารย์ลงพื้นที่มาแนะนำกระบวนการด้านการผลิตที่ถูกต้อง นำหลักทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ สร้างความมั่นใจให้กับกลุ่ม อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์กระเป๋าของกลุ่มมีการยื่นขอมาตรฐานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ยังไม่เคยผ่านมาตรฐาน หลังจากนี้จะยื่นขอมาตรฐานอีกครั้งทางกลุ่มมีความมั่นใจว่าจะผ่านมาตรฐาน มผช.อย่างแน่นอน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4