การปรุงรสอูมามิเพียงเล็กน้อยช่วยลดปัญหาสุขภาพอันใหญ่หลวงได้หรือไม่?

อังคาร ๑๑ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๖:๐๘
ความสัมพันธ์ที่เหลือเชื่อของอูมามิ เกลือ และความดันเลือดสูง

ความดันเลือดสูง: "นักฆ่าที่มากับภัยเงียบ"

โดยปกติแล้วเมื่อคุณไปพบแพทย์ สิ่งแรกที่เจ้าหน้าที่จะทำคือการวัดความดันเลือดที่แขนของคุณ ปั๊มอากาศเข้าไป และจดบันทึกค่าที่ได้ หากคุณโชคดีและมีสุขภาพดี นั่นเป็นเพียงครั้งเดียวที่คุณจะนึกถึงความดันเลือดของคุณ สำหรับบางคน แพทย์อาจบอกคุณว่าความดันเลือดของคุณสูงเกินไป และคุณควรดูแลการรับประทานอาหารและออกกำลังกายมากกว่านี้

การตรวจความดันเลือดเป็นเรื่องปกติที่บางคนอาจไม่ได้ใส่ใจ แต่ความจริงแล้ว การมีความดันเลือดสูง ที่เรียกในภาษาทางการแพทย์ว่า "ภาวะความดันโลหิตสูง" นั้น อันตรายอย่างยิ่ง ตามข้อมูลจาก Mayo Clinic ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกนั้นพบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้คนที่ไม่ได้รับการรักษาโรคความดันโลหิตสูง จะเสียชีวิตเนื่องจากโรคหัวใจที่เกี่ยวเนื่องกับการไหลเวียนของเลือดไม่ดีพอ เช่น การเกิดหัวใจวาย และคาดว่าอีกหนึ่งในสามสามารถเสียชีวิตเนื่องจากภาวะเส้นเลือดในสมองอุดตันได้1. ยิ่งไปกว่านั้น โรคความดันโลหิตสูงนั้นไม่แสดงอาการใดๆ ที่ชัดเจน นี่จึงเป็นเหตุให้แพทย์ตรวจสอบความดันเลือดทุกครั้งที่มีโอกาส

ความเสี่ยงของความดันโลหิตสูง

ทั้ง ๆ ที่เรามีความรู้เกี่ยวกับอันตรายของความดันโลหิตสูง รวมถึงสามารถควบคุมตัวเองได้ โดยการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและการใช้ยาต่าง ๆ มากมายแล้ว แต่โรคความดันโลหิตสูงกำลังเพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2558 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รายงานจำนวนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป พบว่าในจำนวนนี้ร้อยละ 20 เป็นผู้หญิงและร้อยละ 24 เป็นผู้ชาย2. และสิ่งที่แย่ไปกว่านั้นคือ มีการคาดการณ์ว่าโรคความดันโลหิตสูงคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกประมาณ 9.4 ล้านคนต่อปี3. เป็นจำนวนกว่าร้อยละ 13 ของการเสียชีวิตจากสาเหตุทั้งหมด4!

นอกจากการสร้างภาระอันหนักหน่วงให้กับผู้ป่วยและครอบครัวแล้ว โรคความดันโลหิตสูงยังเป็นภาระอันหนักอึ้งของสังคมอีกด้วย ซึ่งมาในรูปแบบของค่ารักษาพยาบาล เฉพาะในสหรัฐอเมริกา ค่าใช้จ่ายต่อปีสำหรับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงนั้นอยู่ที่ประมาณ 54,000 ล้านดอลล่าร์4. เมื่อเปรียบเทียบตัวเลขที่มากดังกล่าวกับตัวเลขอื่น ๆ แล้ว จะพบว่านั่นเทียบเท่ากับการจ่ายเงินให้ประชากรในอเมริกา ในอังกฤษ และในรัสเซียคนละ 1,000 ดอลลาร์เลยทีเดียว5.

แต่ข่าวดีก็คือ ไม่ใช่ทุกประเทศที่ประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และหนึ่งในประเทศดังกล่าวที่สวนทางประเทศอื่น ๆ คือ ญี่ปุ่น ที่จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงลดลงอย่างคงที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 หนึ่งในสาเหตุของแนวโน้มเชิงบวกนี้เชื่อกันว่า เกิดจากการปรับปรุงการรับประทานอาหารให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการลดปริมาณการบริโภคเกลือ

ความเชื่อมโยงระหว่างเกลือและความดันโลหิตสูงโซเดียมเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพมนุษย์ หากไม่มีโซเดียม กล้ามเนื้อของเราจะไม่สามารถหดตัว และระบบประสาทของเราจะไม่ทำงานเนื่องจากเราไม่สามารถส่งกระแสประสาทได้ นอกจากโซเดียมจะเป็นส่วนสำคัญสำหรับสุขภาพของผู้คนแล้ว ยังมีการถกเถียงกันอีกว่าโซเดียมได้ช่วยให้สปีชีส์ของเรามีชีวิตรอดมาจนถึงทุกวันนี้ ในอดีตนั้น มนุษย์ไม่สามารถหาอาหารได้เสมอไป ช่วงฤดูหนาวอันหนาวเหน็บที่ไม่สามารถออกไปล่าสัตว์ได้ และช่วงฤดูใบไม้ผลิที่แห้งแล้งก็ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ผลที่ตามมาคือ ในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมา มนุษย์ใช้เกลือถนอมอาหารรวมไปถึงเนื้อสัตว์ เนย หรือแม้กระทั่งขนมปัง ด้วยวิธีนี้ จึงทำให้มีสารอาหารเพียงพอตลอดทั้งปี

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันโดยทั่วกันว่าการบริโภคเกลือที่มากเกินไปอาจนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง สิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพมากขนาดนั้นกลายเป็น "นักฆ่าที่มากับภัยเงียบ" อย่างความดันเลือดสูงได้อย่างไร? พูดให้เข้าใจง่ายคือ ยิ่งคุณมีโซเดียมในร่างกายมากเท่าไหร่ ร่างกายยิ่งกำจัดน้ำส่วนเกินออกจากเลือดได้ยากเท่านั้น นั่นหมายความว่าจะมีของเหลวมากขึ้นในกระแสเลือดและทำให้เกิดความดันที่สูงขึ้น

การบริโภคเกลือเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ทำให้เกิดความดันเลือดสูง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยอื่น ๆ แล้ว เช่น กรรมพันธุ์หรือความเครียด ความดันนั้นสามารถควบคุมได้ง่ายกว่า ทำให้WHO ออกแนวทางให้ผู้คนบริโภคโซเดียมน้อยกว่า 2 กรัมต่อวัน ซึ่งมีค่าเทียบเท่ากับการบริโภคเกลือแกง 5 กรัม6. ยิ่งไปกว่านั้น รัฐสมาชิกของ WHO เห็นชอบให้มีการลดปริมาณการบริโภคเกลือของประชากรโลกลงร้อยละ 30 ในปี 20257.

เครื่องปรุงรสอูมามิเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการแก้ปัญหานี้ได้หรือไม่?

เครื่องปรุงรสอูมามิ (โมโนโซเดียมกลูตาเมต MSG หรือผงชูรส) ไม่ใช่เกลือ MSG ประกอบด้วยโซเดียมร้อยละ 12 เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณเกลือร้อยละ 39 ในเกลือ นอกจากนี้ เราใช้MSG ในปริมาณน้อยกว่ามากในการทำให้อาหารมีรสชาติอร่อย เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เกลือแล้ว นั่นหมายความว่า ปริมาณการบริโภคโซเดียมในเครื่องปรุงรสอูมามินั้นน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับการบริโภคเกลือ

ซึ่งนำไปสู่คำถามที่น่าสนใจนี้: เนื่องจากปริมาณเพียงเล็กน้อยของเครื่องปรุงรสอูมามิที่ต้องใช้ในการทำให้อาหารอร่อย และปริมาณโซเดียมที่มีอยู่เล็กน้อยในเครื่องปรุงรสอูมามิ แล้วการใช้เครื่องปรุงรสอูมามินี้จะสามารถช่วยผู้คนลดการบริโภคเกลือได้หรือไม่?

ผลจากการศึกษาวิจัยงานหนึ่ง ให้คำตอบคือ "ได้" อาสาสมัครได้ประเมินความอร่อยของซุปใสแบบญี่ปุ่นที่ปรุงรสด้วยเกลือและซุปอีกชามที่ปรุงรสด้วยเกลือในปริมาณน้อยลงมากแต่เติมเครื่องปรุงรสอูมามิลงไปด้วย ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่า การเติมเครื่องปรุงรสอูมามิเพื่อให้ได้ความอร่อยของซุปในระดับเดียวกันนั้นสามารถทำได้โดยการใช้เกลือน้อยลงกว่าร้อยละ 308! ที่ Ajinomoto Co., Inc. ("บริษัท Ajinomoto") เราเชื่อว่าเราสามารถลดปริมาณการบริโภคเกลือได้ในอาหารหลากหลายประเภททั่วโลก

หน้าที่ของเราในการลดการบริโภคเกลือ

เพื่อรักษาสัญญาในการช่วยผู้คนให้รับประทานอาหารที่ดีและมีชีวิตที่มีความสุขขึ้น บริษัท Ajinomoto มุ่งมั่นทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกเพื่อช่วยผู้คนลดการบริโภคเกลือลง ยกตัวอย่างเช่น:

- ญี่ปุ่น: มีการกำหนด "วันลดเกลือ" อย่างเป็นทางการในสังคมผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในญี่ปุ่น ซึ่งบริษัท Ajinomoto สนับสนุนรายการอาหารที่มีเกลือต่ำในร้านค้าหลัก ๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น

- สหรัฐอเมริกา: เป็นเจ้าภาพจัดสาธิตการปรุงอาหารและรสอูมามิที่งาน Food Nutrition Conference and Expo ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและสารอาหาร

- เวียดนาม: จัดทำซอฟท์แวร์พัฒนาเมนูอาหารให้โรงเรียนกว่า 4,000 แห่ง เพื่อปรุงอาหารกลางวันที่ปรับสมดุลด้วยเครื่องปรุงรสอูมามิในปริมาณที่เหมาะสมร่วมกับการใช้เกลือ

- บราซิล เปรู และอินโดนีเซีย: จัดการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับเครื่องปรุงรสอูมามิและการลดปริมาณเกลือหลายการประชุม

- มาเลเซีย: จัดพิมพ์หนังสือปรุงอาหารที่มีปริมาณเกลือต่ำ แต่ใช้เครื่องปรุงรสอูมามิแทนตามคำแนะนำของ WHO ในการลดการบริโภคเกลือต่อวันให้น้อยลง

คำมั่นสัญญาของเรา

การลดการบริโภคเกลือเป็นมาตรการที่ได้ผลมากที่สุดที่ประเทศต่าง ๆ สามารถทำให้สุขภาพของประชากรของตนดีขึ้นได้ หากการบริโภคเกลือสามารถลดลงได้ร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2568 เราจะสามารถลดการเสียชีวิตของผู้คนเนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงลงได้ 2.5 ล้านคนทุกปี7 เรามุ่งมั่นอย่างจริงจังในการสนับสนุนความพยายามทั่วโลกนี้ ผ่านการสื่อสารและการสาธิตที่อ้างอิงตามหลักฐาน เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการใช้เครื่องปรุงรสอูมามิเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่มีความสมดุล ดีต่อสุขภาพ และมีปริมาณเกลือต่ำ

เกี่ยวกับบริษัท Ajinomoto

บริษัท Ajinomoto เป็นผู้ผลิตเครื่องปรุง อาหารแปรรูป เครื่องดื่มคุณภาพสูง รวมถึงผลิตภัณฑ์กรดอะมิโน ยารักษาโรค และสารเคมีคุณลักษณะพิเศษ เป็นเวลาหลายปีแล้วที่บริษัท Ajinomoto ได้สนับสนุนวัฒนธรรมด้านอาหารและสุขภาพมนุษย์ผ่านการใช้เทคโนโลยีกรดอะมิโนอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันบริษัทได้มีความเกี่ยวโยงเพิ่มขึ้นกับแนวทางเพื่อการพัฒนาแหล่งทรัพยากรอาหาร สุขภาพมนุษย์ และความยั่งยืนสากล บริษัทก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2452 และตอนนี้ดำเนินกิจการใน 35 ประเทศและภูมิภาค บริษัท Ajinomoto มียอดขายสุทธิในปีงบประมาณ 2559 จำนวน 1,150.2 พันล้านเยน (10,360 ดอลล่าร์สหรัฐ) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท Ajinomoto (TYO: 2802), กรุณาเยี่ยมชมที่ www.ajinomoto.com.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๗ เม.ย. อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud