เกษตรกรปลื้ม “โครงการตลาดนำการผลิต ผักปลอดภัยสู่ผู้บริโภค” หนุนเกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพ เพิ่มช่องทางการตลาด สร้างรายได้อย่างยั่งยืน

จันทร์ ๒๔ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๑:๒๑
นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือใน "โครงการตลาดนำการผลิต ผักปลอดภัยสู่ผู้บริโภค" ระหว่างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผักและผลไม้นครปฐม และบริษัท ซีพีเอฟ ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจ จำกัด ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า จากนโยบายตลาดนำการผลิต ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายกฤษฎา บุญราช) ที่ต้องการบริหารจัดการสินค้าเกษตรครบวงจร โดยมอบหมายให้ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ รับผิดชอบ และกำกับดูแลการจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในระดับจังหวัด ซึ่ง ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบจังหวัดนครปฐม ได้ดำเนินการตามนโยบาย "ตลาดนำการผลิต" ขับเคลื่อนเชื่อมโยงตลาดสินค้าเกษตรผักปลอดภัย โดยจับคู่ธุรกิจระหว่างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผักและผลไม้นครปฐม และบริษัท ซีพีเอฟ ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจ จำกัด ซึ่งได้ร่วมมือกันทางธุรกิจใน "โครงการตลาดนำการผลิต ผักปลอดภัยสู่ผู้บริโภค" โดยเกษตรกรจะผลิตผักปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP ตัดแต่งและคัดบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ที่มี QR Code ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงความปลอดภัยของสินค้าผัก และส่งจำหน่ายให้บริษัท ซีพีเอฟ ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจ จำกัด เพื่อนำไปแปรรูปเป็นอาหารสำเร็จรูป ส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยกระทรวงเกษตรฯ จะให้การสนับสนุนในการส่งเสริมการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ การฝึกอบรมการผลิตผักปลอดภัย การทำปุ๋ยอินทรีย์และชีวภัณฑ์ใช้เองภายในกลุ่มเพื่อลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งการตรวจสอบรับรอง GAP การตรวจสอบสารตกค้างในผลผลิต และเทคโนโลยีการคัดบรรจุผลผลิตเกษตร ตลอดจนสนับสนุนโรงเรือนปลูกพืช โรงคัดบรรจุ รถห้องเย็นจากงบประมาณกลุ่มจังหวัด เป็นต้น ซึ่งความร่วมมือกันของทั้งสองฝ่ายคู่ธุรกิจภายใต้แนวทางการตลาดนำการผลิตที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมนี้ ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งของกระทรวงฯ ที่ได้ต่อยอดจากนโยบายการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP

"ผลจากความร่วมมือกันของทั้งสองฝ่ายคู่ธุรกิจภายใต้แนวทางการตลาดนำการผลิตที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมนี้ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคเรื่องสินค้าคุณภาพปลอดภัย ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ผลลัพธ์ที่ได้ยังทำให้เกษตรกรมี ความมั่นคง ทางอาชีพและรายได้ เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพมาตรฐานเพื่อส่งจำหน่าย ทั้งในและต่างประเทศซึ่งจะสร้างความก้าวหน้าของเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก" นายเลิศวิโรจน์ กล่าว

ด้าน ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผักและผลไม้นครปฐม ประกอบด้วยสมาชิกเกษตรกรของจังหวัดนครปฐมที่มีการผลิตผักและผลไม้ตามมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์ ซึ่งนอกจากได้รับการสนับสนุนโรงเรือนปลูกพืช โรงคัดบรรจุ รถห้องเย็น จากงบประมาณกลุ่มจังหวัด แล้วยังได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัย GAP และอินทรีย์ ผ่านเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรฯ ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม รวมทั้งการให้การดูแลสนับสนุนการผลิตอย่างใกล้ชิด ทั้งในเรื่องของการตรวจสอบคุณภาพผักปลอดภัย การใช้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม ตลอดจนการบริหารจัดการผลิตอื่นๆ เช่น การรวมกลุ่ม การทำบัญชี การให้คำแนะนำการจัดทำ QR code เป็นต้น และบริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด ยินดีให้การสนับสนุนการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างในตัวอย่าง เพื่อช่วยให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการนำผลวิเคราะห์ไปเพื่อดำเนินการให้การรับรอง GAP ให้เกษตรกรได้รวดเร็วขึ้น เพื่อตอบรับความต้องการของเกษตรกรที่ต้องการขยายกำลังการผลิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งในเบื้องต้นเกษตรกรจะผลิตผักปลอดภัยตัดแต่งส่งให้บริษัท ซีพีเอฟ ฟู๊ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจ จำกัด ในปริมาณ 7 ตัน/เดือน และจะขยายเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายการรับซื้อของบริษัท คือ 30 ตัน/เดือน โดยเริ่มต้นส่งจำหน่าย ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป"

ด้าน นายวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทยินดีที่เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนนโยบายรัฐที่มุ่งสร้างรายได้และอาชีพอย่างยั่งยืนแก่เกษตรกร "โครงการตลาดนำการผลิต ผักปลอดภัยสู่ผู้บริโภค" ถือเป็นโครงการที่ดีที่จะก่อประโยชน์ให้ทุกฝ่าย โดยในส่วนของการจัดซื้อวัตถุดิบ บริษัทจะได้รับผักจากเกษตรกรโดยตรง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ด้วยระบบ QR code รับรู้แหล่งปลูกที่ชัดเจนและเป็นผักที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัย GAP ภายใต้การคัดบรรจุและตัดแต่งตามมาตรฐานคุณภาพ GMP และที่สำคัญคือการได้ส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรไทยให้มีรายได้และอาชีพอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ 3 เสาหลักความยั่งยืนที่บริษัทดำเนินการอยู่ อันได้แก่ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู่ นอกจากนี้ บริษัทได้ให้การสนับสนุนเงินในการปรับปรุงโรงคัดบรรจุและตัดแต่งให้เป็นไปตามมาตรฐานการตัดแต่งและคัดบรรจุผักสด ทั้งในรูปแบบเงินให้เปล่าและเงินยืมลงทุน โดยจะเริ่มต้นที่พืชผักประเภทใบกะเพรา ใบโหระพา และพริกขี้หนูพันธุ์จินดาเขียว-แดง ซึ่งเชื่อว่าเกษตรกรจะสามารถปรับปรุงการผลิตและเพิ่มปริมาณผลผลิตได้ตามที่บริษัทต้องการใช้ได้อย่างเพียงพอใน เร็วๆ นี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๑๑ เปิดโพล! สงกรานต์ คนไทยยังอยาก รวย อวย Soft Power เสื้อลายดอก-กางเกงช้าง ต้องใส่สาดน้ำ
๑๖:๓๖ ฮีทสโตรก : ภัยหน้าร้อน อันตรายถึงชีวิต
๑๖:๐๐ STX เคาะราคา IPO 3.00 บาท/หุ้น เปิดจองซื้อ 18,19 และ 22 เม.ย. นี้ ปักธงเทรด mai 26 เมษายน 67
๑๗ เม.ย. ถอดบทสัมภาษณ์คุณอเล็กซานเดอร์ ฟาบิก (Alexander Fabig) และคุณปีเตอร์ โรห์เวอร์ (Peter Rohwer) ผู้เชี่ยวชาญ
๑๗ เม.ย. HIS MSC จัดงานสัมมนา The SuperApp ERP for Hotel
๑๗ เม.ย. ที่สุดแห่งปี! ครบรอบ 20 ปี TDEX (Thailand Dive Expo) มหกรรมธุรกิจท่องเที่ยวดำน้ำระดับเอเชีย งานเดียวที่นักดำน้ำรอคอย
๑๗ เม.ย. เคทีซีเสนอดอกเบี้ยพิเศษ 19.99% ต่อปี แบ่งเบาภาระสมาชิกใหม่บัตรกดเงินสด เคทีซี พราว
๑๗ เม.ย. ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง CHAO เตรียมเสนอขาย IPO ไม่เกิน 87.7 ล้านหุ้น ระดมทุนเข้าจดทะเบียนใน SET
๑๗ เม.ย. แอร์เอเชีย บิน สุวรรณภูมิ-หาดใหญ่ เริ่มต้น 1,000 บาทต่อเที่ยว* เสริมทัพหาดใหญ่ บินเลือกได้ทั้งดอนเมืองและสุวรรณภูมิ!
๑๗ เม.ย. YONG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ อนุมัติจ่ายเงินปันผล ในอัตรา 0.08 บาท/หุ้น