มจพ.ร่วมกับ วศ. ปิดจ๊อบแถลงผลสำเร็จการส่งเสริมผู้ประกอบการเซรามิกในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง

อังคาร ๒๕ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๔:๑๕
อาจารย์ สุรสิทธิ์ แสงสุริยะ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และนางสาวอุราวรรณ อุ่นแก้ว รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ร่วมแถลงในพิธีปิดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกเพื่อการส่งออกของผู้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคกลาง พร้อมด้วยผู้ประกอบการจากโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกในจังหวัดราชบุรี 8 แห่ง และผู้ประกอบการโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทเบญจรงค์ ในจังหวัดสมุทรสาครอีก 12 แห่ง จากผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวน 20 ราย เป็นโครงการที่บูรณาการระหว่างผลิตภัณฑ์โอ่งมังกรของจังหวัดราชบุรี กับผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทเบญจรงค์ของจังหวัดสมุทรสาคร

อาจารย์สุรสิทธิ์ แสงสุริยะ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) กล่าวว่า ตามที่กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561 ดำเนินการโครงการขึ้นเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการเซรามิกระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ให้สามารถพัฒนารูปแบบและลวดลายใหม่ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์เซรามิกและส่งออกได้เพื่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกเพื่อการส่งออกของผู้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดราชบุรีและจังหวัดสมุทรสาคร ให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์เซรามิก พร้อมพัฒนาผู้ประกอบการเซรามิกระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้มีอาชีพที่ยั่งยืนและสร้างความร่วมมือในการบูรณาการองค์ความรู้ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการเซรามิก โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวน 20 ราย เป็นโครงการที่บูรณาการระหว่างผลิตภัณฑ์โอ่งมังกรของจังหวัดราชบุรี กับผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทเบญจรงค์ของจังหวัดสมุทรสาคร

นางสาวอุราวรรณ อุ่นแก้ว รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กล่าวว่า คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มจพ. ได้นำองค์ความรู้ใหม่ ๆ ความคิดสร้างสวรรค์ รวมทั้งเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการเซรามิกกลุ่มจังหวัดภาคกลาง โดยสามารถออกแบบ พัฒนารูปแบบและลวดลายใหม่ ๆ เน้นความโดดเด่นและแตกต่างกัน เพื่อเพิ่มมูลค่าในการส่งออกของประเทศมากยิ่งขึ้น โดยในปี พ.ศ.2560 ได้มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และบรูไน ทั้งนี้ผู้ประกอบการในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดสมุทรสาคร สามารถพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้โดดเด่น มีความหลากหลาย เป็นที่ต้องการของตลาด รวมถึงผู้ประกอบการใดที่สามารถผลักดันไปได้เราก็ได้เชิญเข้ามาร่วมโครงการฯ ในปี 2561 จะเห็นถึงการพัฒนาของผู้ประกอบการ เนื่องจากเราได้สอนวิธีการให้ผู้ประกอบการมีความยั่งยืน มีแนวคิดในการออกแบบ การพัฒนารูปแบบในการรองรับยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 พร้อมไปกับการสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มากยิ่งขึ้น มีการพัฒนารูปแบบและลวดลายใหม่ ๆ และย่อขนาดให้เล็กลง ให้มีความสอดคล้องกับลูกค้า เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในปัจจุบันเพื่อส่งออกอย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๖ กทม. ประเมินผล Lane Block จัดระเบียบจราจรหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ พบรถแท็กซี่-สามล้อเครื่องจอดแช่ลดลง
๑๗:๐๓ สมาคมประกันวินาศภัยไทย Kickoff การใช้ข้อมูล Non-Life IBS พร้อมส่งมอบรายงานข้อมูลสถิติในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยของประเทศ
๑๗:๓๖ 3 โบรกฯ ประสานเสียงเชียร์ ซื้อ SAV เคาะราคาเป้า 24-25 บาท/หุ้น คาดกำไร Q1/67 ทุบสถิติออลไทม์ไฮ รับปริมาณเที่ยวบินเพิ่ม เก็งผลงานทั้งปีโตเด่น
๑๗:๐๓ Minto Thailand คว้ารางวัล Best Official Account จาก LINE Thailand Award 2023
๑๗:๒๔ กทม. ตรวจสอบความปลอดภัยอาคาร ป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ เตรียมพร้อมหน่วยเบสท์รองรับพายุฤดูร้อน
๑๗:๓๒ ไขข้อสงสัย.เมื่อซื้อแผงโซล่าเซลล์แล้วจะขนย้ายกลับอย่างไรให้ปลอดภัย โดย เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย)
๑๖:๔๕ ไทเชฟ ออกบูธงาน FHA Food Beverage 2024 ที่สิงคโปร์
๑๖:๕๓ เนื่องในวันธาลัสซีเมียโลก มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย
๑๖:๓๕ EGCO Group จัดพิธีเปิดโรงไฟฟ้า EGCO Cogeneration (ส่วนขยาย) อย่างเป็นทางการ
๑๖:๒๖ เพลิดเพลินไปกับเมนูพิเศษประจำฤดูกาล: อาหารจากแคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี ที่ โวลติ ทัสคาน กริลล์ แอนด์ บาร์ โรงแรมแชงกรี-ลา