รับมือ "สังคมผู้สูงอายุ" เมื่อวัยชรากลับเป็นเด็กอีกครั้ง ใจกังวลเป็นภาระลูกหลาน

ศุกร์ ๒๘ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๗:๐๖
ประเทศในอาเซียนกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะนี้มีประชากรไทยที่มีอายุ 65 ปีหรือแก่กว่ามีจำนวนมากถึงร้อยละ 10 หรือมากกว่า 7 ล้านคน

และภายในปี 2583 ประชากรในกลุ่มนี้จะเพิ่มจำนวนขึ้นถึง 17 ล้านคน ซึ่งมากกว่า 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ

กรมการแพทย์ ออกมาแนะเตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ควรเริ่มทำตั้งแต่ตอนนี้เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ

เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า นายแพทย์ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ระบุถึง สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจไม่ต่างกับช่วงวัยเด็กหรือช่วงวัยรุ่น เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ดังนั้น จึงควรเตรีมความพร้อมดูแลร่างกายตั้งแต่เนิ่นๆ ได้แก่ 1. ผู้สูงอายุจะมีภาวะผิวหนังขาดความยืดหยุ่น 2. ระบบหัวใจและไหลเวียนเลือดทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจลดลงจากการบีบตัวและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง

3. การตอบสนองกำจัดสิ่งแปลกปลอมในระบบทางเดินหายใจไม่ดี ทำให้ติดเชื้อและสำลักได้ 4. ระบบความคิดวิเคราะห์ช้าลง อาจเกิดความจำเสื่อมการได้ยินลง 5. เพศชายอาจขับถ่ายปัสสาวะได้ลำบาก เพศหญิงมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและ โปรเจสเตอโรนลดลง และทรวงอกสูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้เกิดการหย่อนคล้อย 6. ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เกิดภาวะกล้ามเนื้อลีบจากการไม่ได้ใช้งาน ส่งผลให้ความแข็งแรงและการหดตัวของกล้ามเนื้อมีความเสื่อมถอย 7. ระบบทางเดินอาหาร มีโอกาสท้องผูกบ่อย กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยลดลง 8. ผู้สูงอายุจะถ่ายปัสสาวะบ่อย เนื่องจากมีปริมาณปัสสาวะตกค้าง ในกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้น 9. ร่างกายผู้สูงอายุสร้างฮอร์โมนชนิดต่างๆ ได้น้อยลง ส่งผลให้เกิดภาวะอ้วนได้ง่าย กระดูกหัก หรือยุบง่ายเมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง

นายแพทย์ประพันธ์ พงศ์คณิตานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และจิตใจ ทำให้อาจมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล น้อยใจ รู้สึกเหงา เนื่องจากกลัวการถูกทอดทิ้ง ไม่มั่นใจในการทำกิจกรรมต่างๆ

จากภาวะที่ร่างกายเสื่อมถอย เกิดความคิดลังเลซ้ำไปซ้ำมา รู้สึกด้อยค่าจากภาวะที่ไม่สามารถทำงานได้หรือสูญเสียบทบาทของตนเอง

จากที่เคยเป็นผู้นำครอบครัวเปลี่ยนมาเป็นผู้พึ่งพิงผู้อื่น ส่งผลให้ผู้สูงอายุบางคนชอบพูดคุยกับคนอื่นๆ บางคนชอบบ่น เอาแต่ใจตนเอง หรือมีลักษณะเก็บตัวร่วมด้วย

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรเริ่มทำตั้งแต่ตอนนี้ ได้แก่ ทานอาหารที่ดีมีประโยชน์เพื่อบำรุงและซ่อมแซมร่างกาย ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและทำให้สุขภาพดี ฝึกจิตใจให้ผ่อนคลาย ปล่อยวาง มีความสุขกับสิ่งใกล้ตัว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๙ ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๑๗:๕๑ GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๑๗:๒๗ กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๑๗:๑๔ กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๑๗:๒๕ First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๑๗:๐๒ CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๑๗:๑๑ บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๑๗:๕๒ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๑๗:๐๑ รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๑๗:๔๓ กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว