การดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม

อังคาร ๐๙ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๔๔
จากกระแสสังคมโลกที่ให้ความสำคัญต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อส่วนรวมมากขึ้น ผู้ประกอบการจึงหันมาคำนึงถึงการดำเนินธุรกิจที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและใส่ใจต่อสังคมมากยิ่งขึ้น ขณะที่โครงการภาครัฐอย่าง Thailand Trust Mark (T Mark) ก็ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้ กระทั่งนำไปปรับใช้ให้เป็นหนึ่งในเกณฑ์ของผู้ขอรับตราสัญลักษณ์ T Mark ที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้ผ่านการคัดเลือก

หนึ่งในหลักเกณฑ์ที่ว่าคือความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมของผู้ประกอบการ หรือ Corporate Social Responsibility (CSR) เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถทำให้องค์กรได้รับการยอมรับและการสนับสนุนจากกลุ่มผู้บริโภคและลูกค้า ตลอดจนสังคมโดยรวม ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการได้หันมาให้ความสนใจกับเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากการให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์และยอดขายของบริษัท

ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม หมายถึง การดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมสามารถนำไปสอดแทรกได้ทุกขั้นตอนของการทำธุรกิจ แบ่งเป็น กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่มีผลต่อองค์กรหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กร เช่น การดูแลสวัสดิการพนักงาน กระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อลูกค้า กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กรโดยตรง เช่น กิจกรรมปลูกป่า การบริจาคทุนการศึกษา การรณรงค์สร้างจิตสำนึกและการช่วยเหลือประสบภัย และกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่องค์กรจัดตั้งขึ้นโดยไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่น การก่อตั้งมูลนิธิหรือสมาคมการกุศลต่างๆ

แนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม เริ่มต้นได้จากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งต้องกระจายการใช้ทรัพยากรอย่างทั่วถึงเพื่อลดความเสื่อมโทรม ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเผยแพร่นวัตกรรมที่ช่วยให้กระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจและผู้ประกอบการรายอื่นปฏิบัติตาม

ขณะเดียวกันบริษัทต้องร่วมพัฒนาชุมชนและสังคมด้วยการดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในหลักจริยธรรมทางธุรกิจและการกำกับดูแลกิจการที่ดี มุ่งเน้นให้พนักงานมีส่วนร่วมกับกิจกรรมจิตอาสา และปลูกฝังจิตสำนึกกับความรับผิดชอบต่อสังคมให้กับพนักงานทุกระดับชั้น อีกทั้งยังต้องรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ด้วยการรักษามาตรฐานคุณภาพสินค้าและสร้างผลิตภัณฑ์ที่เน้นคุณค่ามากกว่ามูลค่า รวมถึงต้องให้ข้อมูลขององค์กรและผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภคอย่างถูกต้องและเพียงพอ

T Mark ให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมดังที่กล่าวมาข้างต้น จนอาจกล่าวได้ว่า T Mark เป็นตราสัญลักษณ์ที่รับรองได้ว่า ผู้ประกอบการที่มีตราสัญลักษณ์นี้ดำเนินธุรกิจอย่างรักษ์ธรรมชาติและใส่ใจสังคม ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไทยหันมารักษาสิ่งแวดล้อมและใส่ใจสังคมมากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมแล้ว ยังส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ได้รับความนิยมและการยอมรับในทางที่ดีอีกด้วย

หากผู้ประกอบการท่านใดสนใจสมัครขอรับตรา T Mark สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ www.thailandtrustmark.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๒ คณะ กิจกรรม วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงาน
๑๖:๐๖ กรุงศรีออกมาตรการช่วยเหลือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เป็นเวลา 6 เดือนตอบรับแนวทางการช่วยเหลือของสมาคมธนาคารไทย
๑๖:๒๙ Lexar Professional CFexpress 4.0 Type B Card DIAMOND คว้ารางวัล BEST STORAGE MEDIA ในงาน TIPA WORLD AWARDS
๑๖:๔๔ ฟอร์ติเน็ต ร่วมมือ สกมช. คัดเลือก-ฝึกอบรมเสริมทักษะบุคลากรคลาวด์ เล็งเพิ่มทรัพยากรบุคคล เสริมความมั่นคงปลอดภัยบนคลาวด์ทุกรูปแบบ
๑๖:๒๙ ไอ-เทล รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรก แข็งแกร่งด้วย รายได้กว่า 4 พันล้าน กำไรเพิ่ม 93 เปอร์เซ็นต์ มุ่งการเติบโตต่อเนื่องตลอดปี
๑๖:๒๒ หมอแม็ค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผมของไทย
๑๖:๐๗ ทรูเวฟ (ประเทศไทย) เปิดตัว GreenFarm.AI ผู้ช่วยคนใหม่ที่จะทำให้สวนเติบโตสวยและยั่งยืนได้ดั่งใจ
๑๖:๕๐ ไบเทคบุรี เมกะโปรเจกต์ของภิรัชบุรี กรุ๊ป พลิกโฉม ไบเทค บางนา ก้าวข้ามอุตสาหกรรม MICE สู่สถานที่แห่งไลฟ์สไตล์ครบวงจร
๑๖:๕๒ ดีมันนี่ ตอกย้ำความสำเร็จในงาน Money 20/20 Asia ในฐานะผู้บุกเบิกโซลูชัน โอนเงินไปต่างประเทศชั้นนำในวงการฟินเทคไทย
๑๖:๕๔ สบยช. ยืนยัน ชาเม่ คอลลาเจน ไม่มีสารเสพติด