ผลสำเร็จธนาคารโคนมทดแทนฝูง เกษตรกรเข้าร่วมกว่า 500 ราย ช่วยลดภาระ ลดต้นทุนและเพิ่มรายได้

พฤหัส ๑๑ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๐๙:๒๔
โครงการธนาคารสินค้าเกษตรเป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ซึ่งธนาคารโคนมทดแทนฝูง เป็นหนึ่งในโครงการธนาคารสินค้าเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อรับฝากลูกโคเพศเมีย ถอนคืนเป็นโคสาวท้อง เพื่อให้เกษตรกรสมาชิกลดภาระการเลี้ยงลูกโคในฟาร์ม ให้เกษตรกรสมาชิกมีแม่โคที่มีคุณภาพไปทดแทนโคนมปลดระวางและลดต้นทุนการผลิต ส่งผลสมาชิกสหกรณ์มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา มีกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลัก และมอบหมายสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ติดตามประเมินผลโครงการ

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการ สศก. เปิดเผยว่า จากการติดตามผลการดำเนินโครงการธนาคารโคนมทดแทนฝูง พบว่า มีการดำเนินงานในลักษณะฟาร์มรวม และบริหารโดยสหกรณ์ซึ่งรับฝากลูกโค - โครุ่น มาไว้ที่ฟาร์มกลางของสหกรณ์ เพื่อเลี้ยงดูตามหลักวิชาการ ให้อาหารที่เหมาะสมตามช่วงวัย ส่งผลให้โคมีการเจริญเติบโตและสมบูรณ์กว่าการเลี้ยงเองที่ฟาร์มของเกษตรกร และยังเพิ่มโอกาสในการผสมเทียมติดเร็วขึ้น เกษตรกรจะมีรายได้จากการรีดนมได้เร็วขึ้นเช่นกัน เมื่อได้ระยะเวลาโคสาวเติบโตและตั้งท้อง 3 เดือน จึงให้สมาชิกมาไถ่ถอนคืนหรือขายให้แก่เกษตรกรรายอื่น ซึ่งการถอนคืนโคสาว สมาชิกอาจชำระเป็นเงินสด หรือเงินเชื่อ หรือให้หักจากค่าน้ำนมดิบที่นำมาขายให้สหกรณ์ได้เช่นกัน โดยเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งทางสหกรณ์จะกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการและบันทึกข้อมูลอย่างชัดเจน

จากการติดตามประเมินผลสหกรณ์ที่จัดตั้งเป็นธนาคารโคนมทดแทนฝูง พบว่า การดำเนินงานตั้งแต่ปี 2559 - 2560 มีการจัดตั้งธนาคารโคนมทดแทนฝูง ทั้งหมด 8 แห่ง ครบตามเป้าหมาย เกษตรกรฝากโคทดแทนเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 553 ราย จำนวนโคทดแทนที่ขายฝาก 1,712 ตัว มูลค่าการขายฝากรวม 28,411,558 บาท โดยเกษตรกรถอนคืนโคสาวท้องแล้วทั้งหมด 381 ราย จำนวนโคสาวท้องที่ถอนคืน 1,199 ตัว มูลค่าการถอนคืนโคสาวท้องรวม 55,221,199 บาท ซึ่งเกษตรกรได้รับปริมาณน้ำนมดิบจากแม่โคในโครงการสูงกว่าแม่โคที่เกษตรกรเลี้ยงเองเฉลี่ย 0.71 กก./ตัว/วัน ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 3,898 บาท/ตัว/ปี

ด้านรายจ่าย พบว่า เกษตรกรมีรายจ่ายในการถอนคืนโคสาวท้อง 4 เดือน จากธนาคารในราคาเฉลี่ย 46,056 บาทต่อตัว ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการเลี้ยงโคนมด้วยตนเองจนกระทั่งเป็นโคสาวท้อง 4 เดือน เกษตรกรจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 49,296 บาทต่อตัว ซึ่งค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเฉลี่ย 3,240 บาทต่อตัว

สำหรับภาพรวมพบว่าเกษตรกรสมาชิกธนาคารมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการในระดับค่อนข้างมาก และเกษตรกรมากกว่า ร้อยละ 90 ต้องการใช้บริการของธนาคารในครั้งต่อไปเช่นเคย อย่างไรก็ตาม สหกรณ์ควรมีแนวทางที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรถอนคืนโคสาวท้องในด้านอื่นด้วย เช่น ให้เกษตรกรฝากเงินที่ได้จากการขายฝากไว้กับสหกรณ์ เมื่อถึงเวลาถอนคืนก็ชำระเงินส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น หรือการสนับสนุนให้เกษตรกรฝากเงินรายเดือนไว้กับสหกรณ์เพื่อใช้ในการถอนคืนโคสาวท้องเมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะเป็นอีกทางเพื่อช่วยลดภาระในการหาเงินมาถอนคืนโคสาวท้องของเกษตรกรได้ และสหกรณ์ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์โครงการ และสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อให้เกษตรกรมีความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ และสมัครเข้าร่วมโครงการมากขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๕๑ อายุน้อยก็เสี่ยงนะ! สังเกตสัญญาณโรคหลอดเลือดสมองในหนุ่ม-สาว Stoke in the young
๐๘:๒๕ เกิร์ลกรุ๊ปสาว DE GIFT' (เดอ กิฟท์) ปังเกินเบอร์!!!! เตรียมปล่อยของโชว์ Performance เวที Dalat Best Dance Crew 2024
๐๘:๓๘ ทรีตเมนต์ยกกระชับผิวหน้า
๐๘:๒๑ โค้งสุดท้ายหลักสูตรดับทุกข์ผู้บริหารรุ่นแรก เผยชุด 2 มีบิ๊กเนมสนใจเพียบทั้งอดีต รมต.และ สว.
๐๘:๐๙ DEK SPU โชว์สกิล! คว้ารางวัล SPU TikTok Challenge 2024
๐๘:๑๔ แพ็กเกจห้องประชุม สัมมนาใจกลางกรุงเทพฯ ที่โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ จี
๐๘:๔๖ มารู้จักอาจารย์ของแพทย์ คุณหมอหนุ่ม - อาจารย์นายแพทย์ รัสมิ์ภูมิ สุเมธีวิทย์
๐๘:๒๖ ร่วมวางพวงมาลาวันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
๐๘:๓๕ กทม. ประสาน กฟน. เร่งแก้ไขฝาบ่อพักท่อชำรุดเชิงสะพานข้ามแยกเสนานิคม
๐๘:๓๒ ก.แรงงานหนุนจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี 67 พร้อมเปิดพื้นที่รับฟังข้อเรียกร้อง ย้ำแรงงานเป็นกำลังผลักดันเศรษฐกิจสังคมไทย