โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

อังคาร ๐๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๔:๒๓
ความผิดปกติที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายจากการที่ขาดเลือดและออกซิเจนสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการอุดตันกะทันหันจากคราบไขมันและก้อนลิ่มเลือด หลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจประกอบด้วยหลอดเลือดแดงหลัก 2 เส้น เรียกว่า หลอดเลือดแดงโคโรนารีย์ ด้านขวา 1 เส้น และด้านซ้าย 1 เส้น ซึ่งด้านซ้ายจะแตกแขนงออกเป็น 2 เส้นใหญ่ โดยส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บหน้าอกเป็นหลัก อัตราการเสียชีวิตของโรคนี้ค่อนข้างสูง การวินิจฉัยโรคให้ได้อย่างรวดเร็ว และรีบให้การรักษาอย่างเร่งด่วนที่สุดจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้อย่างมาก

อาการผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการแน่นอกที่รุนแรง เหมือนถูกกด ถูกบีบ หรือรู้สึกแน่นกลางหน้าอก มีเหงื่อออก ใจสั่น ปวดร้าวไปกราม สะบักหลัง แขนซ้าย จุกคอหอย บางคนอาจมีความรู้สึกเหมือนมีเชือดรัด หรือมัดรอบหน้าอก หรือมาด้วยจุกใต้ลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน อาจมีตัวเย็น วิงเวียน คลื่นไส้ ใจสั่น หายใจผิดปกติ และอ่อนแรง ถ้ามีอาการดังกล่าวให้ท่านไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเกิดจากการตีบหรืออุดตันเฉียบพลันของหลอดเลือดแดงหัวใจหลักการรักษาที่สำคัญที่สุด คือ ต้องให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็วทันท่วงที ก่อนที่กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ขาดเลือดไปเลี้ยงจะตายลงในที่สุด ซึ่งก็จะต้องอาศัยการวินิจฉัยให้ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง มีการจำแนกเป็น2 ชนิดโดยดูจากผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(Electrocardiography,ECG)เป็นแบบ ST elevation MI (STEMI) ซึ่งหลอดเลือดมีการอุดตัน 100% และแบบ Non-ST elevation acute coronary syndrome (NSTE-ACS) ซึ่งหลอดเลือดมีการตีบที่รุนแรง การรักษาจึงแบ่งออกตามผลการตรวจพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

STEMI: การทำให้หลอดเลือดที่อุดตัน หายอุดตันและทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจต่อไปได้ ซึ่งจะช่วยลดบริเวณที่กล้ามเนื้อหัวใจตายให้น้อยที่สุด และลดอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนต่างๆลงได้ โดยวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบันคือ การรักษาเพื่อให้หลอดเลือดเปิด หรือ reperfusion therapy ให้เร็วที่สุด มีวิธีการอยู่ 2 รูปแบบ คือ โดยการใช้สายสวนหลอดเลือดหัวใจชนิดพิเศษดูดเอาลิ่มเลือดออกพร้อมกับการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและตามด้วยการใส่ขดลวดค้ำยัน (Percutaneous coronary intervention, PCI) หรือการให้ยาละลายลิ่มเลือด (fibrinolytic หรือ thrombolytic drugs)

NSTE-ACS: มีการประเมินความเสี่ยงของโรคเพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายและช่วยบอกการพยากรณ์โรคในระยะสั้นได้ หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดควรได้รับการรักษาด้วยการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ และอาจทำการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและตามด้วยการใส่ขดลวดค้ำยัน (Percutaneouscoronaryintervention, PCI) โดยเร็ว ถ้าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่ำต่อการเสียชีวิตจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดสามารถได้รับการรักษาด้วยยาและประเมินความเสี่ยงเพิ่มเติมด้วยการตรวจ Echocardiogram และ Exercise stress test (เดินสายพานเพื่อทดสอบสมรรถภาพหัวใจ)

กล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดรุนแรงแค่ไหนขึ้นกับอะไรบ้าง

- ระยะเวลาที่ขาดเลือดจนกระทั่งลิ่มเลือดละลาย (ตั้งแต่เริ่มมีอาการจนได้รับการรักษา)

- หลอดเลือดตีบมากหรือน้อย

- มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ไปยังบริเวณที่ขาดเลือดหรือไม่

- ขนาดของหลอดเลือดที่ตีบ

- จำนวนเส้นที่หลอดเลือดตีบ

- มีโรคประจำตัวหรือไม่ เช่นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน

ติดต่อสอบถามและเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินได้ที่

ศูนย์หัวใจ/แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ติดต่อเบอร์ : 02 836 9977

โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)

Call Center 02 836 9999

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง