หัวเว่ย จับมือ กฟภ. จัดพิธีเปิดใช้งานห้องประชุมอัจฉริยะณ สำนักงานใหญ่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

พฤหัส ๐๘ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๕:๓๒
นายเสริมสกุล คล้ายแก้ว (ที่ 2 จากขวา) ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) พร้อมด้วยมร. หู กั่ง (ที่ 2 จากซ้าย) หัวหน้าฝ่ายขาย กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมทำพิธีเปิดใช้งานห้องประชุมอัจฉริยะ (Smart Meeting Room) อย่างเป็นทางการ หลังจากที่ได้เปิดตัวศูนย์นวัตกรรม กฟภ. (PEA Innovation Center) ซึ่งเป็นศูนย์พัฒนาและวิจัยด้านไฟฟ้าด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีแห่งแรกในประเทศไทยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

สำหรับห้องประชุมอัจฉริยะนี้ตั้งอยู่ที่ชั้น 5 อาคาร LED ภายในสำนักงานใหญ่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ถนนงามวงศ์วาน กรุงเทพฯ ภายในห้องครบครันด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยที่ใช้งานได้ง่าย ทำให้ กฟภ. บริหารจัดการการติดต่อสื่อสารกับคู่สนทนาได้ทั่วโลก ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์และสัมมนาออนไลน์ แทนการประชุมที่ผู้เข้าร่วมต้องมาประชุมด้วยตนเอง ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงานลงได้

"ระบบสื่อสารอัจฉริยะนี้ใช้งานได้ง่าย พร้อมด้วยคุณสมบัติในการเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาทั่วโลก แม้แต่ในพื้นที่ห่างไกล เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต ช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ คล่องตัว และรวดเร็วขึ้น" นายเสริมสกุล คล้ายแก้ว ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าว และเสริมว่า "นับเป็นอีกก้าวของ กฟภ. ในการเดินหน้าไปสู่การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล สอดคล้องกับแนวนโยบายประเทศไทย 4.0 และเป้าหมายของเราที่จะก้าวเป็น "การไฟฟ้าแห่งอนาคต" (The Electric Utility of the Future)"

ห้องประชุมอัจฉริยะติดตั้งด้วยระบบกล้อง VPT300 ซึ่งเป็นกล้องอัจฉริยะติดตามผลของหัวเว่ย มาพร้อมกับเทคโนโลยีด้านวิดีโอใหม่ล่าสุด อาทิ การตรวจจับเสียงและระบบจดจำใบหน้า และคุณสมบัติใหม่ ๆ เช่น การติดตามเสียง (audio-tracking), การจับภาพแบบพาโนรามาที่ปรับได้ (adaptive panoramic image capture) และการพูดคุยแบบรายบุคคล (P2P) ยกตัวอย่างเช่น ระบบ VPT300 สามารถตรวจจับการพูดของบุคคลและแสดงผลภาพในระยะใกล้แบบอัตโนมัติโดยไม่ต้องปรับระยะแบบแมนวล ซึ่งหากผู้เข้าประชุม A กำลังสนทนากับผู้เข้าประชุม B ระบบ P2P ก็จะแสดงภาพของผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสองในระหว่างการสนทนาแบบ Face-to-face โดยอัตโนมัติ ระบบดังกล่าวยังสามารถเชื่อมต่อกับสถานที่ต่าง ๆ ได้มากถึง 200 แห่งในการร่วมประชุมโดยพร้อมกัน นอกจากนี้ ด้วยฟังก์ชั่น AirPresence Key แบบปลั๊กแอนด์เพลย์ ช่วยให้ผู้เข้าประชุมทุกคนสามารถแชร์ข้อมูลได้แบบไร้สายจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ในคลิกเดียว โดยไม่ต้องใช้หรือย้ายปลั๊กต่อพ่วงให้ยุ่งยาก

ด้านมร. หู กั่ง หัวหน้าฝ่ายขาย กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ของหัวเว่ย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "คอนเซ็ปท์ของห้องประชุมอัจฉริยะนี้คือ การทำให้เทคโนโลยีมีความอัจฉริยะและกลมกลืนไปกับห้อง ง่ายต่อการบริหารจัดการ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถโฟกัสกับเนื้อหาการประชุมผ่านวิดีโอได้อย่างเต็มที่"

ทั้งนี้ ห้องประชุมอัจฉริยะนี้เป็นผลสำเร็จอันเกิดจากความร่วมมือระยะยาวระหว่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและหัวเว่ย ประเทศไทย เพื่อให้ กฟภ. ได้รับประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีด้านไอซีทีอันทันสมัยของหัวเว่ย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4