IRM แจงบทบาทและหน้าที่คณะกรรมการอาคารชุด มีความสำคัญอย่างไรต่อการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียม

จันทร์ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๒:๓๕
IRM ไขข้อสงสัยเรื่องกรรมการคอนโดมิเนียม จำเป็นต้องมีหรือไม่และมีความสำคัญอย่างไรกับการอยู่อาศัยในอาคาร แจงบทบาทและหน้าที่ตามพรบ.อาคารชุดที่เจ้าของร่วมต้องรับรู้

นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ ประธานกรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินในโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่าง ๆ กว่า 20 ปี พบว่ายังมีประชนคนที่อาศัยอยู่ในอาคารชุดจำนวนมากยังไม่เข้าใจในหลายเรื่อง โดยจะมีคำถามเกี่ยวกับคณะกรรมการตลอดเวลา เนื่องจากไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่หรือสิทธิ์ของเป็นเจ้าของร่วม รวมทั้งยังมีคำถามว่าจำเป็นต้องมีคณะกรรมการหรือไม่ และใครบ้างที่สามารถเข้ามาเป็นคณะกรรมการฯลฯ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับเก่าไม่บังคับให้อาคารชุดต้องมีคณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุด ทุกอาคารชุดจะจัดให้มีหรือไม่มีก็ได้ ถ้าจัดให้มีต้องไม่เกิน 9 คน และกฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องนำรายชื่อคณะกรรมการไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด แต่ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ตามมาตราที่ 37 กฎหมายกำหนดให้ทุกอาคารชุดต้องจัดให้มีคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด ประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คนแต่ไม่เกิน 9 คน การแต่งตั้งกรรมการมีผลตั้งแต่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติแต่งตั้ง และนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

สำหรับผู้ที่มีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด ตามมาตรา 37/1แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติอาคารชุด(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551บัญญัติให้บุคคลที่มีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ คือเจ้าของร่วมหรือคู่สมรสของเจ้าของร่วม รวมทั้งผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ในกรณีที่เจ้าของร่วมเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถแล้วแต่กรณี และบุคคลที่เป็นตัวแทนของนิติบุคคลจำนวน 1 คน ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นเจ้าของร่วม หากห้องชุดใดมีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของร่วมหลายคนให้มีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการจำนวน 1 คน ซึ่งกรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี

นายธนันทร์เอก เปิดเผยเพิ่มเติมว่า คณะกรรมการอาคารชุดที่ได้รับการแต่งตั้งนั้นมีอำนาจหน้าที่ควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุด รวมทั้งแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งขึ้นทำหน้าที่เป็นผู้จัดการได้ในกรณีที่ไม่มีผู้จัดการหรือผู้จัดการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามปกติได้เกิน 7 วัน นอกจากนี้แล้วยังมีหน้าที่ในการจัดประชุมคณะกรรมการ 1 ครั้งในทุก 6 เดือนเป็นอย่างน้อย ส่วนหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันยังไม่มีการออกกฎกระทรวงกำหนดหน้าที่ของกรรมการแต่อย่างใด)

IRM มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 20 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรร สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง