นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยชี้ยังต้องการข้าวโพดผลิตอาหารสัตว์อีกปีละ 3 ล้านตัน พร้อมร่วมมือประสานโรงงานอาหารสัตว์เปิดจุดรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร 33 จังหวัดเป้าหมาย

พุธ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๗:๕๙
นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยยืนยันปริมาณผลผลิตข้าวโพดในประเทศยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ ส่งผลทำให้ที่ผ่านมาต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เชื่อมั่นโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาของรัฐบาลจะช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกร พร้อมประสานโรงงานอาหารสัตว์ร่วมเปิดจุดรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่เป้าหมาย 33 จังหวัด เพื่อสร้างความมั่นใจว่ามีตลาดรับซื้อที่แน่นอนและได้ราคาที่เป็นธรรม

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เปิดเผยถึงความร่วมมือในการดำเนินโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาว่า ทางสมาคมฯได้มีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ เนื่องจากสมาคมฯมีสมาชิกเป็นบริษัทเอกชนที่ผลิตอาหารสัตว์ประมาณ 55 แห่ง และมีความต้องการข้าวโพดเพื่อนำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์อีกจำนวนมาก ปัจจุบันปริมาณข้าวโพดในประเทศยังขาดแคลนและต้องการให้เพิ่มผลผลิตอีกปีละ 3 ล้านตัน ซึ่งอาจจะต้องส่งเสริมให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกข้าวโพดเพิ่มอีก 3-4 ล้านไร่ และหากสามารถเพิ่มผลผลิตได้อีก ปีละ 3 ล้านตัน ก็จะเป็นประโยชน์กับทั้งตัวเกษตรกรที่สามารถลดพื้นที่ทำนาแล้วหันมาปลูกพืชที่มีตลาดรับซื้อแน่นอนและได้ราคาที่เป็นธรรม ขณะเดียวกันโรงงานผู้ผลิตอาหารสัตว์ก็จะมีวัตถุดิบในประเทศที่เพียงพอสำหรับการผลิตอาหารสัตว์ และลดการสั่งซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศ

"ที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่เริ่มปลูกข้าวโพดในเดือนเมษายนและเก็บเกี่ยวในเดือนสิงหาคม – กันยายน ซึ่งเป็นช่วงหน้าฝน ทำให้ข้าวโพดมีความชื้นสูงถึง 30% ผลผลิตอาจเสียหายและเป็นเชื้อราได้ง่าย ซึ่งการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา โดยเริ่มปลูกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงต้นเดือนมกราคม นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ดี เพราะเป็นช่วงที่สภาพอากาศและอุณหภูมิเหมาะสมในการปลูกข้าวโพด ระยะเวลาการปลูก 4 เดือน ฤดูเก็บเกี่ยวจะอยู่ในเดือนมีนาคม – เมษายน เป็นช่วงฤดูแล้ง ข้าวโพดที่ได้จะมีความชื้นต่ำ ไม่ต้องเสียเวลาในการอบลดความชื้นและเก็บเกี่ยวง่าย ซึ่งทางสมาคมฯได้กำหนดราคารับซื้อข้าวโพดความชื้นไม่เกิน 14.5% อยู่ที่ 8 บาทต่อกิโลกรัม เป็นราคาหน้าโรงงานในเขตกรุงเทพและปริมณฑล แต่หากความชื้นสูงกว่านั้น จะมีการลดทอนราคาตามมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด และขณะนี้มีโรงงานอาหารสัตว์ ในบางจังหวัด รับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรกิโลกรัมละ 10 บาท "

ขณะนี้ทางสมาคมฯร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เตรียมความพร้อมเรื่องจุดรับซื้อข้าวโพดในพื้นที่เป้าหมายโครงการ 33 จังหวัด ซึ่งมีทั้งการรับซื้อตรงจากเกษตรกร หรือซื้อผ่านสหกรณ์การเกษตร โดยสหกรณ์ทำหน้าที่เป็นตัวกลางรวบรวมข้าวโพดแล้วนำมาอบลดความชื้นให้ได้มาตรฐานไม่เกิน 14.5 % ก่อนส่งขายให้โรงงาน สำหรับพื้นที่ห่างไกล หรือสหกรณ์ในพื้นที่ไม่มีอุปกรณ์หรือเครื่องอบลดความชื้น ทางสมาคมฯจะประสานเอกชนที่มีประสบการณ์ในการรับซื้อและปรับปรุงคุณภาพพืชไร่ เข้ามารับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกร และเชื่อมต่อระหว่างเกษตรกรกับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งทางสมาคมฯมีการกำหนดพื้นที่และบริษัทที่จะเข้าไปรับซื้อที่ชัดเจน จึงอยากเชิญชวนเกษตรกรที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการได้จนถึง 15 มกราคม 2562 พร้อมให้ความมั่นใจว่าผลผลิตจากโครงการส่งเสริมปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาจะมีตลาดรับซื้ออย่างแน่นอน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๔ ยันม่าร์ ประกาศอย่างเป็นทางการในการสนับสนุนสมาคมฟุตบอลอาเซียน
๑๗:๑๔ รู้ใจชวนทำความรู้จักเทเลเมติกส์ เทคโนโลยีลดอุบัติเหตุ ขับเคลื่อนท้องถนนปลอดภัย
๑๗:๐๙ The Food School Bangkok ผนึก 2 พันธมิตรยักษ์ใหญ่ มอบทุนกว่า 1.5 ล้านบาท เปิดตัว Future Chef of the World 2025
๑๗:๓๔ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง ทำงานอย่างไรให้มีความสุข
๑๗:๑๗ JGAB 2025 เปิดเวที The Next Gem Awards 2025 เฟ้นหาดีไซน์เนอร์เครื่องประดับรุ่นใหม่
๑๖:๐๙ ผถห. LEO ไฟเขียวปันผล 0.14 บาท/หุ้น รับทรัพย์ 14 พ.ค.นี้ เดินหน้ายุทธศาสตร์ LEO Go Green - รุกขยายธุรกิจใหม่ ดันกำไรขั้นต้นโตต่อเนื่อง
๑๖:๕๗ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ เปิดตัวโซลูชันคลังสินค้าและโลจิสติกส์อัจฉริยะ ยกระดับการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB)
๑๖:๔๖ กระทรวง อว. โดย สวทช. - กรมควบคุมโรค กระทรวง สธ. ผนึกกำลังใช้ระบบ DDC-Care Platform เทคโนโลยีรับมือโรคระบาดข้ามพรมแดน
๑๖:๕๙ สจล. ร่วมมือมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืน
๑๖:๓๕ KOAN ในเครือ CPW บุกตลาด Smart Home เปิดตัวนวัตกรรมบ้านอัจฉริยะในงานสถาปนิก'68 ภายใต้แนวคิด Touch And