ปส.จับมือ IAEA หนุนเครือข่ายเอเชีย เสริมสมรรถนะการประเมินความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี

จันทร์ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๕:๕๒
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) และเครือข่ายความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชีย (ANSN) เป็นเจ้าภาพจัด 2 การประชุมระดับภูมิภาคต่อเนื่อง มุ่งเสริมสมรรถนะการประเมินความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีให้กับประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชีย ตั้งแต่วันที่ 26 - 30 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงแรมแคนทารี เบย์ ภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

นางวราภรณ์ วัชรสุรกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ได้รับมอบหมายจาก นางสาววิไลวรรณ ตันจ้อย รองเลขาธิการสานักงานปรมาณูเพื่อสันติ รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นประธานเปิดงานประชุมระดับภูมิภาค "การเสริมสมรรถนะการประเมินความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี" (Expert Meeting on How to Develop Capacity Building of Safety Assessment) และการประชุมประจำปีของกลุ่มประเมินความปลอดภัยภายใต้เครือข่าย ANSN (Topical Group on Safety Assessment : SATG) โดยมีผู้แทนจาก IAEA และประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชีย อาทิ บังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย เข้าร่วมจำนวน 24 คน ตั้งแต่วันที่ 26 - 30 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงแรมแคนทารีย์ เบย์ ภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ซึ่งการประชุมครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก IAEA ในการส่งผู้เชี่ยวชาญร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ผ่านกิจกรรมบรรยาย การฝึกปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งอภิปรายแนวทางและแผนการดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการด้านการประเมินความปลอดภัยสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และรังสีร่วมกับประเทศสมาชิก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความพร้อม ในการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีในแต่ละประเทศให้สามารถปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นางวราภรณ์ กล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการนำพลังงานนิวเคลียร์และรังสีมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย โดยมีสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และรังสีกระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 57 ปีที่ผ่านมา ปส. ให้ความสำคัญในการทำหน้าที่ประเมินและกำกับดูแลให้เกิดความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีต่อผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน และสิ่งแวดล้อมภายในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง และจะยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าควบคุมความปลอดภัยในสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และรังสีต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ ปส. เชื่อว่าการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับภูมิภาคในครั้งนี้ นอกจากจะส่งเสริมการบูรณาการและสร้างเครือข่ายความรู้และการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรในประเทศสมาชิกอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรของไทยในการนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในกำกับดูแลความปลอดภัยของประเทศ โดยเฉพาะในสถานประกอบทางนิวเคลียร์ ได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยซึ่งใช้สำหรับงานวิจัยและพัฒนาทางนิวเคลียร์และรังสี โดยปัจจุบันประเทศไทยมีเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยอยู่ 1 เครื่อง และ กำลังจะมีเพิ่มขึ้นอีก 2 เครื่อง ในอนาคตอันใกล้นี้ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศได้อย่างหลากหลาย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองตรวจสอบทางนิวเคลียร์และรังสี โทรศัพท์ 0 2596 7600 ต่อ 1520

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๑๒ สมาร์ท-บูม-พีนัท-ยูโร ตอกย้ำกระแสแรง! เสิร์ฟโมเมนต์สุดฟินให้แฟนๆ ในงาน Mini Fanmeet WeTV VIP X Top Form
๑๖:๒๕ EARTH PATRAVEE เปิดตัวในนามศิลปินค่าย BOXX MUSIC กับซิงเกิลแรกของอัลบั้มใหม่ จดหมายที่ฉันคงไม่ได้ส่ง (Dried
๑๕:๕๗ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เปิดประมูลสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ครั้งที่ 3/2568
๑๕:๒๒ Wintong Vietnam ก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในนิคมฯอมตะซิตี้ ฮาลอง
๑๕:๔๒ ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE
๑๕:๒๒ เอ็นไอเอ เร่งขยายสัดส่วนธุรกิจขนาดกลาง พร้อมปิดแก็ปเอสเอ็มอีไทยโตไม่สมดุล
๑๕:๑๖ 'สัตว์เลี้ยง' MVP ตัวจี๊ดของการเดทยุคนี้
๑๕:๔๙ ฉลองความอร่อยกับบุฟเฟต์มื้อค่ำเทศกาลอาหารอิตาเลียน 13 - 15 พฤษภาคม 2568 ณ ห้องอาหารดิ ออร์ชาร์ด โรงแรมแคนทารี
๑๕:๒๕ มินซอฟต์แวร์ เปิดตัว 2 โปรแกรมใหม่ Gemlogin และ Gemphonefarm ตัวช่วยสำคัญทำตลาดดิจิทัลและอีคอมเมิร์ชยุคใหม่
๑๕:๓๕ UBiofresh จัดงานสัมมนาเผยแพร่ความรู้เรื่องผิว ชูคอนเซ็ปต์ PERFECT TOGETHER