กระทรวงดิจิทัลฯ-ออสเตรเลีย ลงนาม MOU ความร่วมมือไซเบอร์ซิเคียวริตี้และดิจิทัล

พฤหัส ๑๐ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๔:๕๖
กระทรวงดิจิทัลฯ-กระทรวงการต่างประเทศและการค้าออสเตรเลีย จับมือลงนาม MOU ความร่วมมือด้านความมั่นคงไซเบอร์และดิจิทัลระหว่างราชอาณาจักรไทยและเครือรัฐออสเตรเลีย ปูทางสู่การแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร และแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์รวม 5 ข้อ

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า วันนี้ (วันที่ 10 มกราคม 2562) ได้มีพิธีลงนามร่วมกับนางมาริส เพย์น (Senator the Honourable Marise Payne) รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศและการค้าเครือรัฐออสเตรเลีย ในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงไซเบอร์และดิจิทัลระหว่างราชอาณาจักรไทยและเครือรัฐออสเตรเลีย (Memorandum of Understanding on Cyber and Digital Cooperation between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of Australia) โดยมีพลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้เกียรติเป็นสักขีพยานในการลงนาม ณ ห้องสีฟ้า ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

ทั้งนี้ บันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางไซเบอร์และด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจระหว่างไทยกับออสเตรเลีย ตามกฎหมายและนโยบายภายในประเทศของแต่ละประเทศ และข้อผูกพันระหว่างประเทศ โดยขอบเขตความร่วมมือด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ ครอบคลุมหลักๆ ดังนี้ 1. การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ 2. การพัฒนาทักษะด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ และ 3. การยึดมั่นในเรื่องความมั่นคงระหว่างประเทศในโลกไซเบอร์

ในส่วนขอบเขตความร่วมมือด้านดิจิทัล ประกอบด้วย 1. การแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีเลิศและการส่งเสริมนวัตกรรม โดยการสนับสนุนการแบ่งปันนโยบายระดับชาติ แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศและกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัล และ 2. ความร่วมมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้านดิจิทัลและความมั่นคงทางไซเบอร์

"บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ เกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มของผม และเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย ในการจัดทำความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งรัฐบาลออสเตรเลียได้ให้ความสำคัญในด้าน Cybersecurity เป็นอย่างมาก โดยมีนโยบายให้หน่วยงานด้านไซเบอร์สามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังให้ความสำคัญในการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารที่สำคัญของประเทศ รวมถึงส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ในการรับมือกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์" ดร.พิเชฐฯ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง