เกษตรฯ ไขปัญหาแมลงวันผลไม้

ศุกร์ ๑๑ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๑:๐๒
กรมส่งเสริมการเกษตร เดินหน้าสร้างความเข้าใจวิธีและเทคโนโลยีกำจัดแมลงวันผลไม้ที่มีประสิทธิภาพ

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า แมลงวันผลไม้ หรือแมลงวันทองเป็นศัตรูพืชที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในไม้ผลหลายชนิด เช่น พุทรา มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ กระท้อน ลองกอง เป็นต้น นอกจากนั้นประเทศคู่ค้าส่งออกของไทยยังถือว่าแมลงวันผลไม้เป็นศัตรูพืชกักกันในการส่งออกด้วย แมลงวันผลไม้จึงเป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการส่งออกไม้ผลของประเทศไทย โดยแมลงวันผลไม้มีวงจรตลอดชีวิตนานกว่า ๓ เดือน ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารในธรรมชาติ แมลงวันผลไม้เพศเมีย ๑ ตัว สามารถวางไข่ได้ประมาณ ๑,๒๐๐-๑,๕๐๐ ฟอง โดยจะวางไข่ภายใต้ผิวเปลือกของผลไม้ เมื่อไข่ฟักพัฒนาเป็นตัวหนอนก็จะกัดกินเนื้อผลภายใน ระยะหนอนนี้จะเป็นระยะที่ทำลายพืชผลทางการเกษตรได้อย่างมากส่งผลกระทบต่อผลผลิตและรายได้ของเกษตรกร

วิธีการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น เก็บผลไม้เน่าเสียหรือร่วงหล่นไปฝังกลบให้มิดชิด หรือนำไปทำน้ำหมัก ทำความสะอาดสวนและตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ตัดพืชอาศัยที่เป็นแหล่งอาหารของแมลงวันผลไม้ แขวนกับดักกาวเหนียว ใช้เหยื่อโปรตีนและสารล่อแมลงวันผลไม้เพศผู้ ใช้เทคโนโลยีแมลงเป็นหมันเพื่อควบคุมแมลงวันผลไม้ในธรรมชาติ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่กรมส่งเสริมการเกษตร โดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช (ศทอ.) ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยสนับสนุนและสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรเกิดความเข้าใจในวงกว้าง เนื่องจากเกษตรกรส่วนหนึ่งมีความกังวลว่าการปล่อยแมลงเป็นหมันเข้าไปในสวนผลไม้จะเป็นการเพิ่ม ความเสียหายจากแมลงวันผลไม้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะการปล่อยแมลงวันผลไม้ที่เป็นหมันเข้าไปในสวน เมื่อไปผสมพันธุ์กับแมลงวันผลไม้ที่ไม่เป็นหมันจะทำให้แมลงวันที่ไม่เป็นหมันไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ เป็นการลดจำนวนประชากรของแมลงวันผลไม้ สำหรับรอยเจาะของแมลงวันผลไม้ที่เป็นหมันไม่สามารถสร้างความเสียหายให้กับผลไม้ได้ เนื่องจากไข่ไม่สามารถฟักพัฒนาเป็นตัวหนอนได้ และร่องรอยจะจางหายไปเองเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว

ทั้งนี้ หากเกษตรกรสนใจรายละเอียดเรื่องเทคโนโลยีแมลงเป็นหมัน สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศทอ. หรือศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน หรือสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน เพื่อร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรและนำเทคโนโลยีการเกษตรต่าง ๆ ไปใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๗ พลัส พร็อพเพอร์ตี้ เป็นวิทยากรพิเศษ Brokerage and selling strategy ให้กับโครงการปริญญาโทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
๑๖:๓๓ เจโทรฯ จัดงาน JAPAN PREMIUM HOTATE - From HOKKAIDO Ocean to your Table - ชูความสำเร็จ ดันส่งออกหอยเชลล์โฮตาเตะจากญี่ปุ่นมาไทย โตขึ้นเป็น 2.3
๑๖:๑๒ การ์ทเนอร์เผยคาดการณ์ 8 ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ แห่งปี 2567
๑๖:๓๖ KGI จัดพิธีทำบุญบริษัท เปิดสำนักงานแห่งใหม่ที่ One Bangkok ด้วยแนวคิดพื้นที่แห่งความยั่งยืน
๑๖:๓๕ LINE STICKERS เสิร์ฟฟีเจอร์ใหม่แกะกล่อง 'คอมบิเนชัน สติกเกอร์' ส่งสติกเกอร์หลายตัว ได้ในคราวเดียว เพิ่มความสนุกทวีคูณให้การแชท
๑๖:๕๔ 'จุฬาฯ' จับมือ 'ไอ ทู เอ็นเตอร์ไพรซ์' วิจัยและพัฒนาการจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำ
๑๖:๑๙ ประกาศ!! พร้อมจัดงาน PET Expo Thailand 2024
๑๖:๔๓ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัวซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารจัดการพลังงาน เพื่อความยั่งยืน ในงาน Future Energy
๑๖:๕๘ เตรียมสายจูงให้พร้อมแล้วพาน้องแมวน้องหมามาสนุกกันอีกครั้งกับ โรยัล คานิน ในงาน Pet Expo Thailand 2024
๑๕:๒๖ MAGURO หุ้นไอพีโอสุดฮอตจัดประชุมนักวิเคราะห์ ก่อนขาย IPO 34 ล้านหุ้นไตรมาสนี้