สกศ. ชี้บริบทโลกเปลี่ยนแปลงฉับพลัน เร่งขับเคลื่อนมาตรฐานแหล่งการเรียนรู้สู่การปฏิบัติยุคการศึกษา 4.0

อังคาร ๒๒ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๓:๔๕
วันนี้ (21 ม.ค.62) ที่โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพฯ ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น เรื่อง รายงานประสิทธิผลของแหล่งเรียนรู้ : การเผยแพร่และการนำมาตรฐานแหล่งการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา คณะนักวิจัย ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเรียนรู้ จำนวน 120 คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสัมมนา

ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579

วางกรอบเป้าหมายและทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศในการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนไทยทุกช่วงวัยให้เต็มตามศักยภาพ สามารถแสวงหาความรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยการขับเคลื่อนภายใต้วิสัยทัศน์คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21

และกำหนดเป้าหมายสำคัญ 5 ประการครอบคลุมการเรียนรู้และการบริหารจัดการการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย 1.การเข้าถึงการศึกษา 2.ความเท่าเทียม 3.คุณภาพ4.ประสิทธิภาพ และ 5.ตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งปรากฏมุมมองแหล่งการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย

ดร.สุภัทร จำปาทอง กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือ การบริหารจัดการแหล่ง

การเรียนรู้ใหม่ ๆ ต้องมีความยืดหยุ่นตามความเปลี่ยนแปลง ต้องให้ความสำคัญด้านการบริหาร และงบประมาณ ในการดำเนินการ เพราะความสนใจของผู้เข้าแหล่งเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ต้องเพิ่มแนวคิดและสิ่งจูงใจดึงดูดผู้สนใจเข้ามาใช้ประโยชน์แหล่งเรียนรู้ ตลอดจนเร่งพัฒนาปรับปรุงแหล่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังต้องเร่งสร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างความเชื่อมโยงการดำเนินงานร่วมกัน เช่น ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบกรุงเทพ (TCDC Bangkok) ซึ่งเคยมีการสำรวจและรวบรวมแหล่งเรียนรู้ไว้แล้ว ประมาณ 300 แห่ง สำหรับการประชุมสัมมนาประสิทธิผลของแหล่งเรียนรู้ : การเผยแพร่และการนำมาตรฐานแหล่งการเรียนรู้สู่การปฏิบัติครั้งนี้ สกศ. หวังให้เป็นการเพิ่มช่องทอง และปริมาณผู้สนใจเข้าไปใช้ประโยชน์ของแหล่งเรียนรู้ของเด็กเยาวชนได้อย่างหลากหลายต่อไป

ศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล ว่องวาณิช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แนวทางการศึกษาวิจัยต้องการตอบโจทย์และพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 ที่ได้จำแนกออกเป็น 8 ประเภท 1.ห้องสมุดประชาชน 2.พิพิธภัณฑ์ 3.หอศิลป์ 4.สวนสาธารณะ 5.สวนสัตว์ 6.สวนพฤกษศาสตร์7.อุทยานสิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 8.ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ

ทั้งนี้ สกศ. พบว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้การเรียนรู้ของโลกเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมาก แหล่งการเรียนรู้ปัจจุบันเป็นแบบเปิดมากขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น จำเป็นต้องสำรวจข้อมูลเพื่อชี้สภาพของแหล่งเรียนรู้ และประสิทธิผลของแหล่งการเรียนรู้ โดยครอบคลุมแหล่งการเรียนรู้และแหล่งการศึกษารูปแบบอื่น ๆ เพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้เดิม 8 ประเภท ซึ่งพบมีแหล่งการเรียนรู้ที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นกับบริบทการเรียนรู้ปัจจุบัน อาทิ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน/ภูมิปัญญา ศาสนสถาน โบราณสถาน Google และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

สำหรับแนวทางปฏิบัตินั้น สกศ. ได้จัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเร่งขับเคลื่อนมาตรฐานแหล่งการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผล โดย สกศ. ใช้มาตรฐานกลางดังกล่าวเป็นแนวทางในการกำกับ ติดตาม และการส่งเสริมให้การจัดการแหล่งการเรียนรู้ได้มาตรฐาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๙ ม.กรุงเทพ เห็นถึงคุณค่าพลังงานที่ยั่งยืนเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสร้างสกิลตรง
๑๖:๐๗ แอลจีเผยผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2024 ผลักดันธุรกิจด้วยนวัตกรรมพร้อมรักษาสมดุลระหว่างธุรกิจหลักและการเติบโตในอนาคตเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ
๑๖:๓๕ ฮั้วฟง รับเบอร์ฯ (HFT) จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.โหวตผ่านฉลุยทุกวาระ
๑๖:๕๒ ซีเอ็ด เปิดสาขาใหม่ที่ตราด! บริจาคหนังสือ 2 แสนบาท หนุนการอ่านในท้องถิ่น
๑๖:๕๙ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ทั้งปีที่อัตราหุ้นละ 0.52
๑๖:๕๙ ปรับการนอนหลับของคุณให้มีคุณภาพดีขึ้นด้วยฟีเจอร์ใน HUAWEI Band 9
๑๖:๓๔ ไฮเออร์ ประเทศไทย โชว์ศักยภาพแกร่ง พาเหรดทัพนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ร่วมจัดแสดงในงาน China Enterprise Product Resources
๑๖:๑๐ สถานทูตอิตาลี เปิดศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าแห่งใหม่ในกรุงเทพ
๑๖:๕๒ CHAYO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ไฟเขียวทุกวาระ
๑๖:๑๓ ผู้บริหารบางจากฯ แชร์แนวทางขับเคลื่อนการรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ 2 เวที