สภานิติบัญญัติแห่งชาติเคาะร่างพระราชบัญญัติการร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ….จุดเริ่มต้นมิติใหม่ของการร่วมลงทุน

จันทร์ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๓:๕๔
นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)เปิดเผยว่า ในคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 7/2562 เป็นพิเศษ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2562 ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. …. (ร่าง พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ) แล้วลงมติเห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

นางปานทิพย์ ศรีพิมล ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐพ.ศ.2556 (พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ ปี 2556)ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีขอบเขตของกฎหมายที่กว้างขวางอันส่งผลให้มีโครงการที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะต้องเข้ามาสู่กระบวนการตามกฎหมายดังกล่าว และยังไม่สะท้อนถึงความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชนที่ชัดเจน ประกอบกับยังขาดมาตรการในการแก้ไขปัญหาระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและมาตรการส่งเสริมการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน อันส่งผลให้การดำเนินโครงการมีความล่าช้าและเอกชนยังไม่ให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนในโครงการของรัฐเท่าที่ควรสคร. จึงได้เสนอร่าง พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯขึ้น อันมีผลเป็นการยกเลิก พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ ปี 2556 โดยมีสาระสำคัญดังนี้

(1) กำหนดเป้าประสงค์ของการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนให้มีการจัดทำและดำเนินโครงการ

ร่วมลงทุนที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน(Partnership)โดยมุ่งเน้นการใช้ความเชี่ยวชาญ

และนวัตกรรมของเอกชนในโครงการร่วมลงทุนและมีการถ่ายทอดความรู้ ความเชี่ยวชาญไปยังหน่วยงานของภาครัฐ

(2) กำหนดนโยบายของรัฐที่ชัดเจนและแน่นอนในการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ โดยให้มีการจัดทำแผนโครงการร่วมลงทุนและกำหนดให้โครงการที่ไม่ได้อยู่หรือเกี่ยวข้องกับกิจการโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะเช่น โครงการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์ ไม่ต้องเข้ามาสู่กระบวนการตามกฎหมายดังกล่าว

ทั้งนี้ การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐและทรัพยากรธรรมชาติจะต้องมีกฎระเบียบรองรับที่เหมาะสม

ในการคัดเลือกและการกำกับดูแลต่อไป

(3) กำหนดให้โครงการที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตามร่างพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. .... จะต้องพิจารณาจากนิยามตามร่างมาตรา 4คำว่า "โครงการ" กล่าวคือ เป็นโครงการลงทุนของรัฐในกิจการ ที่หน่วยงานของรัฐหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งหรือหลายหน่วยงานรวมกันมีหน้าที่และอำนาจต้องทำตามกฎหมายหรือกฎ หรือที่มีหน้าที่และอำนาจต้องทำตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งและนิยามคำว่า "ร่วมลงทุน" กล่าวคือ ร่วมลงทุนกับเอกชนไม่ว่าโดยวิธีใด หรือมอบให้เอกชนลงทุนแต่ฝ่ายเดียว โดยวิธีการอนุญาต หรือให้สัมปทาน หรือให้สิทธิไม่ว่าในลักษณะใดโดยจะต้องเป็นโครงการร่วมลงทุนในกิจการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะตามที่กำหนดไว้ในร่างมาตรา 7

(4) ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโดยเพิ่มเติมผู้แทนจากหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการให้สิทธิและประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนร่วมเป็นกรรมการรวมทั้งประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานสมาคมธนาคารไทยเพื่อให้การกำหนดนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนมีมุมมองจากภาคเอกชนบนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชนและกำหนดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโครงการร่วมลงทุนเป็นองค์ประกอบในคณะกรรมการคัดเลือก

(5) กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการดำเนินการโครงการร่วมลงทุนที่กระชับ โปร่งใส และตรวจสอบได้ มากยิ่งขึ้นรวมถึงกำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนในขั้นตอนต่างๆ

(6) กำหนดให้ในกรณีที่เกิดปัญหาหรืออุปสรรค หรือเกิดความล่าช้าในการจัดทำหรือดำเนินโครงการร่วมลงทุน ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการสามารถเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนและคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดกรอบระยะเวลา หรือพิจารณาแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ทำให้สามารถดำเนินโครงการร่วมลงทุนได้อย่างรวดเร็วและเกิดการแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(7) กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมการร่วมลงทุนให้แก่โครงการร่วมลงทุนอย่างเหมาะสมภายใต้

กรอบวินัยการเงินการคลังเช่น สิทธิและประโยชน์ที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน สิทธิการเช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในโครงการร่วมลงทุนที่มีระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 50 ปี

(8) กำหนดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการโดยความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีสามารถใช้อำนาจ เพื่อประโยชน์สาธารณะในการเข้าดำเนินโครงการร่วมลงทุนหรือมอบให้ผู้อื่นดำเนินโครงการร่วมลงทุนเป็นการชั่วคราว แก้ไขสัญญาร่วมลงทุน หรือบอกเลิกสัญญาร่วมลงทุนได้ โดยในกรณีที่เหตุจากการใช้อำนาจนั้นไม่ได้มาจากความผิดของเอกชนคู่สัญญา ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจ่ายค่าชดเชยแก่เอกชนคู่สัญญาอย่างเป็นธรรม

นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวสรุปว่า ร่าง พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ จะเป็นมิติใหม่สำหรับการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนหรือ PPP ของประเทศไทย ซึ่งจะมีผลให้การจัดทำโครงการโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะอันเป็นภารกิจของรัฐเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับหลักการสากลเรื่อง PPP ที่สะท้อนหลักความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน และมีมาตรการในการส่งเสริม การร่วมลงทุนภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลัง โดยคำนึงถึงความสำเร็จของโครงการร่วมลงทุน ทำให้ภาครัฐสามารถยกระดับในการให้บริการประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ สคร. อยู่ระหว่างเตรียมการชี้แจงทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการจัดทำกฎหมายลำดับรองเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ มีแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินการตามร่าง พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง