ผู้ลี้ภัยเมียนมากลุ่มที่ 3 เดินทางกลับบ้านจากไทย ด้วยการสนับสนุนจาก UNHCR

พุธ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๗:๔๙
สัปดาห์นี้ คาดว่าผู้ลี้ภัยกว่า 500 คน ในประเทศไทย จะได้เดินทางกลับประเทศไปยังตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเมียนมา โดยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเดินทางกลับประเทศโดยสมัครใจ นำโดยรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยการสนับสนุนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และองค์กรพันธมิตร ครั้งนี้ เป็นการเดินทางกลับครั้งที่ 3 เพื่อมอบโอกาสในการสร้างชีวิตใหม่ในประเทศบ้านเกิดแก่ผู้ลี้ภัยหลังจากที่ต้องพลัดถิ่นมานานหลายสิบปีในประเทศไทย

ผู้ลี้ภัยจะออกเดินทางจากพื้นที่พักพิงจำนวน 5 แห่งบริเวณชายแดน และเดินทางข้ามแดนจากประเทศไทย ไปยังรัฐคะฉิ่น และคะยาของประเทศเมียนมา เมื่อผู้ลี้ภัยที่เดินทางกลับได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่เมียนมาบริเวณชายแดน พวกเขาจะเดินทางต่อไปยังศูนย์แรกรับ ที่ซึ่งพวกเขาได้รับความช่วยเหลือ อาทิ การมอบเอกสารในการเดินทางเข้าเมือง และการตรวจเช็คทางการแพทย์ และจากที่นั่น พวกเขาจะเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางของตน

จากสถานการณ์ที่พัฒนาในเชิงบวกบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของเมียนมา UNHCR จึงสนับสนุนกระบวนการเดินทางกลับที่นำโดยรัฐบาลมาตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2559 โดยช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่ได้แสดงเจตจำนงค์อย่างชัดเจนว่าต้องการเดินทางกลับบ้านอย่างปลอดภัย และมีศักดิ์ศรี

ผู้ลี้ภัยได้รับข้อมูล และคำปรึกษาเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ในพื้นที่ที่ต้องเดินทางกลับจาก UNHCR และองค์กรพันธมิตร นอกจากนี้ ผู้ลี้ภัยยังได้รับการสนับสนุนเรื่องการเดินทาง และการปรับตัวในการเดินทางกลับเบื้องต้นอีกด้วย จากความช่วยเหลือในการเดินทางกลับประเทศโดยสมัครใจใน 2 ครั้งที่ผ่านมา ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 และพฤษภาคม พ.ศ.2561 นั้น ผู้ลี้ภัยจำนวน 164 คนได้เดินทางกลับบ้านจากประเทศไทย และ UNHCR ยังคงติดตามการปรับตัวของผู้ลี้ภัยต่อสถานการณ์ในปัจจุบันในประเทศเมียนมาอย่างต่อเนื่อง

ด้วยความโอบอ้อมอารีของชุมชนท้องถิ่นที่ต้อนรับผู้ลี้ภัยที่เดินทางกลับ UNHCR จึงให้การสนับสนุนต่อการปรับตัวเข้าสู่สังคม อาทิ จัดทำโครงการในชุมชนภายในพื้นที่ที่รองรับผู้ลี้ภัยที่เดินทางกลับ โครงการเหล่านี้ จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อรองรับความต้องการของแต่ละชุมชน และออกแบบมาเพื่อสร้างและสนับสนุนโอกาสด้านการพัฒนาทักษะและอาชีพ ช่วยให้มีการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน รวมถึงลดความกดดันที่อาจเกิดจากผลกระทบต่อระบบโครงสร้างพื้นฐานของชุมชน

"ประเทศไทย ได้ทำหน้าที่เจ้าบ้านที่โอบอ้อมอารี มอบที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยมาเป็นเวลาหลายปี การช่วยเหลือให้เดินทางกลับประเทศในครั้งนี้ ถือเป็นความคืบหน้าในการมอบโอกาสให้ผู้ลี้ภัยที่ต้องการกลับบ้านได้เดินทางกลับอย่างปลอดภัย และสมศักดิ์ศรี" เจมส์ ลินช์ ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติภูมิภาคเอเชีย และผู้ประสานงานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว "UNHCR จะประสานงานเพื่อมอบทางออกให้แก่ผู้ลี้ภัยที่ตกอยู่ในสถานการณ์ยืดเยื้อยาวนานในประเทศไทยต่อไป"

ปัจจุบัน ยังมีผู้ลี้ภัยกว่า 97,000 คน จากประเทศเมียนมา อาศัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราวจำนวน 9 แห่งบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ชาวกะเหรี่ยง และกะเหรี่ยงแดง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง