มทร.ธัญบุรี จับมือ “เยอรมนี” ปั้มช่างซ่อมอากาศยานมาตรฐาน EASA

ศุกร์ ๐๕ เมษายน ๒๐๑๙ ๑๓:๓๓
รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า มทร.ธัญบุรี ได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงอากาศยานกับบริษัท AERO-Bildungs GmbH ประเทศเยอรมนี เพื่อสร้างความร่วมมือในการผลิตบุคลากรทางด้านการซ่อมบำรุงอากาศยานตามมาตรฐานคณะกรรมการและหน่วยงานความปลอดภัยการบินยุโรป (European Aviation Safety Agency หรือ EASA) โดยความร่วมมือกำหนดให้ มทร.ธัญบุรี ตั้งเป็นศูนย์ฝึกอบรม EASA Part-147 เพื่อจัดการเรียนการสอนทางด้านการซ่อมบำรุงอากาศยานตามมาตรฐาน EASA ในระดับ Category A1, B1.1, B2 โดยจะแบ่งเป็นหลักสูตรย่อย คือ หลักสูตรแบบ Non-Degree ระยะเวลาประมาณ 2 ปี รับบุคคลทั่วไป หรือบุคลากรที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมการซ่อมบำรุงอากาศยานที่ต้องการพัฒนาตนเองเข้าสู่มาตรฐาน EASA , หลักสูตรระดับปริญญาตรี 2 ปี และ 4 ปี รับนักเรียนที่จบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และหลักสูตรระยะสั้น 35 วัน และ 75 วัน สำหรับบุคลากรที่ทำงานในอุตสาหกรรมด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน

อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ มทร.ธัญบุรียังได้รับเลือกให้เป็นศูนย์สอบมาตรฐาน EASA ทำหน้าที่เป็นศูนย์สอบวัดความรู้ในโมดูลต่าง ๆ ตามมาตรฐาน EASA รวมถึงให้ มทร.ธัญบุรีเป็นศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทางทางด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน เช่น หลักสูตร EWIS หลักสูตร FTS หลักสูตร Train the Trainer หลักสูตร Human factor หลักสูตร Legislation เป็นต้น โดยบุคลากรที่ผ่านการอบรมและสอบวัดระดับความรู้ จะได้ใบประกาศที่รับรองโดย EASA สามารถไปทำงานและยื่นขอใบอนุญาต (License) การซ่อมบำรุงอากาศยานตามมาตรฐาน EASA Part-66 ได้

"อุตสาหกรรมการบินมีการขยายตัวเร็ว จะเห็นได้ว่าสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost) มีการขยายตัวไปทุกจังหวัด การหาบุคลากรที่สามารถซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ได้ตามมาตรฐานสากลยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นการสร้างกำลังคนและพัฒนาศูนย์ซ่อมในประเทศไทยจึงเป็นเรื่องสำคัญ ภาคการศึกษาจึงจำเป็นต้องสร้างแรงงานเข้าไปรองรับ โดยที่ผ่านมา มทร.กรุงเทพได้เริ่มดำเนินการแล้ว ส่วน มทร.ธัญบุรีถือเป็นแห่งที่สอง และจะขยายต่อไปที่ มทร.ล้านนา มทร.อีสาน โดยกลุ่มราชมงคลต้องช่วยกันทำเรื่องนี้ เพราะธุรกิจการบินไม่ได้อยู่แต่เฉพาะในกรุงเทพ แต่กระจายไปทั่ว ไหนจะมีการบินตรงจากต่างประเทศสู่จังหวัดใหญ่ๆ ตามภูมิภาคมากขึ้น ทั้งนี้ มทร.ธัญบุรี จะใช้งบประมาณในการจัดสร้างโรงซ่อมศูนย์อากาศยานขนาดย่อม 100 ล้านบาท อยู่ภายใต้การดูแลของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยเปิดรับนักศึกษาปีละ 30 คน" รศ.ดร.ประเสริฐ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๙ ม.กรุงเทพ เห็นถึงคุณค่าพลังงานที่ยั่งยืนเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสร้างสกิลตรง
๑๖:๐๗ แอลจีเผยผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2024 ผลักดันธุรกิจด้วยนวัตกรรมพร้อมรักษาสมดุลระหว่างธุรกิจหลักและการเติบโตในอนาคตเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ
๑๖:๓๕ ฮั้วฟง รับเบอร์ฯ (HFT) จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.โหวตผ่านฉลุยทุกวาระ
๑๖:๕๒ ซีเอ็ด เปิดสาขาใหม่ที่ตราด! บริจาคหนังสือ 2 แสนบาท หนุนการอ่านในท้องถิ่น
๑๖:๕๙ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ทั้งปีที่อัตราหุ้นละ 0.52
๑๖:๕๙ ปรับการนอนหลับของคุณให้มีคุณภาพดีขึ้นด้วยฟีเจอร์ใน HUAWEI Band 9
๑๖:๓๔ ไฮเออร์ ประเทศไทย โชว์ศักยภาพแกร่ง พาเหรดทัพนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ร่วมจัดแสดงในงาน China Enterprise Product Resources
๑๖:๑๐ สถานทูตอิตาลี เปิดศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าแห่งใหม่ในกรุงเทพ
๑๖:๕๒ CHAYO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ไฟเขียวทุกวาระ
๑๖:๑๓ ผู้บริหารบางจากฯ แชร์แนวทางขับเคลื่อนการรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ 2 เวที