นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” (Japanese Design Today 100) อะไรทำให้งานออกแบบญี่ปุ่นสร้างอิทธิพลระดับโลก?

พุธ ๒๔ เมษายน ๒๐๑๙ ๑๕:๒๔
เจแปนฟาวน์เดชั่น ประเทศไทย (Japan Foundation) ภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy Agency: CEA) โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center: TCDC) นำเสนอนิทรรศการ "ออกแบบ แบบญี่ปุ่น" Japan Design Today 100 ที่แสดงถึง "วิถีร่วมสมัย" ของชาวญี่ปุ่นที่เปิดทางให้จารีตแบบดั้งเดิมเดินทางไปพร้อมกับนวัตกรรมและการเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัลผ่านตัวอย่างของการออกแบบที่ดีที่สุดเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน จำนวน 100 ผลงาน เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนของลักษณะงานดีไซน์ญี่ปุ่น และนำสู่การศึกษารูปแบบสังคมแนวคิดในการสร้างสรรค์งานที่เข้าใจความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง

นิทรรศการ "ออกแบบ แบบญี่ปุ่น" Japanese Design Today 100 สัญจรไปจัดแสดงทั่วโลก ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา และมีการปรับรูปแบบใหม่โดยรวบรวมการออกแบบสินค้าในปัจจุบันควบคู่ไปกับการออกแบบสมัยใหม่นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 ถึง 1990 ซึ่งเป็นช่วงที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการออกแบบสมัยนี้ ภายในห้องนิทรรศการเสนองานออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้จริงในปัจจุบันจำนวน 89 ชิ้น และตัวแทนคาแรกเตอร์ดีไซน์ญี่ปุ่นอีก 11 ผลงาน ทั้งหมดถูดจัดกลุ่มตามประเภทการใช้งานจำนวน 10 กลุ่ม ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงความเข้าใจในวัสดุและนวัตกรรมที่เหมาะกับการใช้ชีวิตแบบคนญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้ง อาทิ

งานออกแบบคลาสสิกระดับตำนานของญี่ปุ่น (Classic Japanese design)

ขวดบรรจุซอสถั่วเหลืองชิ้นแรก ที่ออกแบบให้เทซอสได้ทันทีโดยไม่ต้องเปิดฝา

ชื่อผลงาน: Kikkoman Soy Sauce Dispenser 150ml bottle, 1961

นักออกแบบ: Kenji Ekuan

เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัว (Tableware and Cookware)

อุปกรณ์บอกอุณหภูมิสำหรับปิดฝาถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ตัวคนจะเปลี่ยนสีตามความร้อน-เย็นของภาชนะ

ชื่อผลงาน: Cupmen 1 Hold on, 2009

นักออกแบบ: Akira Mabuchi

เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ (Apparel and Accessories)

เสื้อโค้ตเพื่อชีวิต นอกจากป้องกันความหนาวเย็นแล้ว โฮม 1 ยังมีกระเป๋าขนาดใหญ่สำหรับเก็บของใช้ยามฉุกเฉินและช่วยให้อยู่รอดในสภาวะขาดแคลน

ชื่อผลงาน: Final Home "HOME 1", 1994

นักออกแบบ: Kosuke Tsumura

ของใช้สำหรับเด็ก (Children)

หน้ากากป้องกันการติดเชื้อสำหรับทารกอายุตั้งแต่ 1.5 ปีขึ้นไป รูปทรงโดมขยายพื้นที่ภายในหน้ากากทำให้หายใจได้สะดวก

ชื่อผลงาน: First Face Mask for Babies, 2011

อุปกรณ์เครื่องเขียน (Stationary)

เทปกาวจากกระดาษญี่ปุ่น คุณสมบัติ ทนทาน แต่บาง ลอกออกได้ง่าย ปัจจุบัน เอ็มที ถูกออกแบบให้ใช้งานได้หลากหลายมาขึ้น เช่น วอลเปเปอร์ สำหรับงานตกแต่งภายในอีกด้วย

ชื่อผลงาน: mt-masking tape, 2008

นักออกแบบ: Koji Lyama

อุปกรณ์กิจกรรมสันทนาการ (Hobbies)

ตำนานกล้องเล็ก เลนส์กว้าง GR เป็นกล้องดิจิทัลที่ถือว่ามีระบบชัตเตอร์ไวเหมาะสำหรับถ่ายภาพเหตุการณ์-อารมณ์ความรู้สึกประเภท Street Snap

ชื่อผลงาน: GR, 2013

นักออกแบบ: Tatsuo Okuda, Masahiro Kurita, Takashi Ishida

นอกจากนี้ ยังมีงานดีไซน์ในกลุ่มเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ในครัวเรือน (Furniture and Housewares) ของใช้สำหรับสุขภาพ (Healthcare) ขนส่ง (Transportation) และ อุปกรณ์กู้ภัยและบรรเทาสาธารณภัย (Disaster relief) โดยทั้งหมดเป็นงานดีไซน์ของสินค้าครัวเรือนทำหน้าที่เป็นเสมือนกระจกที่สะท้อนถึงรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล แนวคิดของนักออกแบบ และบริษัทที่ผลิตสินค้า รวมไปถึงธรรมชาติของวัฒนธรรมญี่ปุ่นปัจจุบัน

ในส่วนวัตถุจัดแสดงได้รับการคัดเลือกโดยภัณฑารักษ์ชาวญี่ปุ่น จำนวน 4 คน นำโดย ฮิโรชิ คาชิวางิ และ มาซาฟูมิ ฟูคากาวะ ที่ให้ความสำคัญกับ ดีไซน์สเคป การสำรวจวิถีชีวิต มุมอง วัฒนธรรม และมุมมองของผู้ใช้ในสังคมร่วมสมัย รวมถึง โนริโกะ คาวากามิ และ ชู ฮางิวาระ นำเสนอจุดแข็งของนักออกแบบชาวญี่ปุ่นที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับแหล่งผลิตในภูมิภาคทำให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่กับภูมิปัญญาและช่างฝีมือในท้องถิ่น

ข้อมูลนิทรรศการ

ชื่อนิทรรศการ: Japanese Design Today 100 ออกแบบ แบบญี่ปุ่น

สถานที่จัดแสดง: อาคารไปรษณีย์กลาง (ส่วนหลัง) ห้องแกลเลอรี่ ชั้น 1

วัน-เวลา: 24 เมษายน 2562 – 26 พฤษภาคม 2562 I เวลา 10.30-21.00 น.

เปิดบริการวันอังคาร – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์)

ข้อมูลศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เป็นพื้นที่การเรียนรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ ภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ Creative Economy Agency (Public Organization) : CEA หน่วยงานเฉพาะด้านที่ทำหน้าที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้เติบโต และการส่งเสริมให้ภาคการผลิตนำความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ นำไปสู่การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจและประเทศ

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

อาคารไปรษณีย์กลาง เลขที่ 1160 ถนนเจริญกรุง

แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501

โทร : (66) 2 105 7400

แฟกซ์ : (66) 2 105 7450

tcdc.or.th

ข้อมูล เจแปนฟาวน์เดชั่น

เจแปนฟาวน์เดชั่น (Japan Foundation) เป็นองค์กรสาธารณะเฉพาะกิจ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1972 โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศโดยการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ผ่านโครงการหลากหลายแขนง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนทางศิลปะและวัฒนธรรม การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในต่างประเทศ และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางด้านญี่ปุ่นศึกษา และทางด้านวิชาการ เพื่อที่จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจในศิลปะและวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านทางทัศนศิลป์ ทางเจแปนฟาวน์เดชั่นได้ร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศในการจัดนิทรรศการ ตั้งแต่ศิลปะแบบดั้งเดิม ไปจนถึงศิลปะร่วมสมัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง