สวก. (ARDA) จัด "ประชุมชี้แจงกรอบการวิจัย สวก. ประจำปีงบประมาณ 2563" พร้อมประกาศปรับบทบาท บริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมการเกษตรของทั้งประเทศ

พฤหัส ๒๕ เมษายน ๒๐๑๙ ๑๑:๒๒
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. (ARDA) ได้จัดการประชุมชี้แจงกรอบการวิจัย สวก. ประจำปีงบประมาณ 2563 ขึ้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบการให้ทุนสนับสนุนการวิจัย พร้อมชู 7 คลัสเตอร์การเกษตรไฮไลท์ ได้แก่ ข้าว, ปาล์มน้ำมัน, อาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าและความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคและการค้า, พืชสวนพืชไร่, สมุนไพรไทย, สัตว์เศรษฐกิจ และ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ นอกจากนั้นยังมุ่งนำเสนอการปรับบทบาทของ สวก. ในการดูแลรับผิดชอบโครงการวิจัยด้านการเกษตรครอบคลุมทุกคลัสเตอร์ในอนาคตอันใกล้ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการการวิจัยภาคการเกษตรของไทยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ประกอบการด้านการเกษตรของไทยให้ความสนใจลงทะเบียนร่วมงานจำนวนกว่า 800 ราย

เพื่อให้พันธกิจของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. (ARDA) ในฐานะหน่วยงานให้ทุนส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยการเกษตร รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยการเกษตร และส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัยการเกษตร เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมและพัฒนาต่อเนื่องได้อย่างยั่งยืน สวก. จึงได้จัดการ "ประชุมชี้แจงกรอบการวิจัย สวก. ประจำปีงบประมาณ 2563" ขึ้นในวันอังคารที่ 23 เมษายน 2562 ณ ห้องคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ เพื่อให้นักวิจัย นักวิชาการ และผู้ประกอบการในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร รับทราบแนวทางการยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยด้านการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยการประชุมครั้งนี้มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบการให้ทุนสนับสนุนการวิจัย ทั้งการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่ถูกต้อง รวมทั้งชี้แจงรายละเอียด และเงื่อนไขต่าง ๆ ในการรับข้อเสนอโครงการ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถส่งข้อเสนอโครงการขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สวก. ได้อย่างถูกต้องและบรรลุเป้าหมายในการต่อยอดผลงานวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบวิจัยการเกษตรและภาคการเกษตรของประเทศ

นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานในพิธีเปิดการประชุม และร่วมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "การขับเคลื่อนการพัฒนาภาคการเกษตรของไทยด้วยงานวิจัย" กล่าวถึงความสำคัญของการผนึกพลังความคิดและความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร ด้วยการนำผลงานวิจัยเข้ามาแก้ไขปัญหาและพัฒนาการเกษตรของไทย อาทิ การพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ที่ทนต่อโรค แมลง และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม การพัฒนาเกษตรแม่นยำเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาระบบการทำเกษตรอินทรีย์ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น หรือแม้กระทั่งการบริหารจัดการแรงงาน จูงใจคนรุ่นใหม่กลับเข้าสู่ภาคเกษตรเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ เหล่านี้ล้วนเป็นโอกาสทองที่จะทำให้เกษตรกรไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบนพื้นฐานการทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถเพิ่มโอกาสการแข่งขันสินค้าเกษตรของไทยกับประเทศคู่ค้า หรือประเทศคู่แข่ง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตลาดในภูมิภาคอาเซียนและตลาดโลกได้

ด้าน ดร. สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ร่วมบรรยายพิเศษเรื่อง "สวก. สุดยอดงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์" พร้อมประกาศเจตจำนงในการร่วมทุนวิจัยระหว่าง สวก. กับภาคเอกชน เพื่อผลักดันผลงานวิจัยด้านการเกษตรของไทย ส่วนกรอบการวิจัย สวก. ประจำปีงบประมาณ 2563 นั้น สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จะมุ่งไปที่กลุ่มเกษตร 7 คลัสเตอร์การเกษตร โดยให้ความสำคัญกับเป้าหมายและได้วางกรอบการวิจัยไว้ตามกลุ่มคลัสเตอร์ทั้ง 7 ไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ ข้าว, ปาล์มน้ำมัน, อาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าและความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคและการค้า, พืชสวนพืชไร่, สมุนไพรไทย, สัตว์เศรษฐกิจ และ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังเปิดเผยถึงการปรับบทบาทของ สวก. โดยจะมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบครอบคลุม ทั้งนโยบายและการประเมินผลด้านงานวิจัยทางการเกษตรทั้งหมดของประเทศ

"เราเล็งเห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยทางการเกษตรที่จะสอดรับกับยุทธศาสตร์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีตามความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ ซึ่งผลงานวิจัยที่ได้รับทุนจาก สวก. ที่ผ่านมานั้นสามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาท ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนเกิดภาพความร่วมมือกับภาคการศึกษา และเอกชนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งปัจจุบัน สวก. จำเป็นต้องทำงานอย่างหนักมากขึ้นเพื่อรองรับกับการปรับบทบาทในการเป็นหน่วยงานให้ทุนวิจัยด้านการเกษตรครอบคลุมทุกคลัสเตอร์ของประเทศ โดยมุ่งหวังจะเป็นผู้นำในการบริหารการวิจัยการเกษตรเพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคเกษตรอย่างยั่งยืนให้ได้" ดร. สุวิทย์ กล่าว

ทั้งนี้ ภายในงานยังมีการการบรรยายพิเศษ เรื่อง "กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการทำวิจัย" โดยนายแพทย์พิฑูรย์ มณีไพโรจน์ ผู้จัดการสถาบันฝึกอบรมเอ็มเค MK Brain Center โดยมุ่งหวังสร้างความตระหนักรู้ด้านงานวิจัยด้านการเกษตรที่มีคุณภาพในระดับสากล อีกทั้งยังมีการเสวนา "สกัดความคิด พิชิตทุนวิจัย มุ่งสู่การใช้ประโยชน์จริง" โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการและงานวิจัยระดับประเทศ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ นพ.ยง ภู่วรวรรณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.มาลิน อังสุรังสี กรรมการ บริษัท เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมแสดงความคิดเห็นและถอดรหัสในการสร้างสรรค์งานวิจัยที่ยอดเยี่ยมสำหรับนำไปปรับใช้ขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สวก. ประจำปีงบประมาณ 2563 นี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง