วว.จัดค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ให้แก่เยาวชน 500 คน ใน 5 โรงเรียน

พฤหัส ๒๕ เมษายน ๒๐๑๙ ๑๖:๐๐
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ. สธ.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ให้แก่เยาวชนจำนวนกว่า 500 คน ใน 5 โรงเรียนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเพิ่มโอกาสในการศึกษาที่เสมอภาค เท่าเทียมกัน ให้โรงเรียน/เยาวชนได้เรียนรู้ เข้าใจระบบนิเวศของป่าทั้งระบบ ผ่านการเรียนรู้ปัญหาจริงจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ เพื่อนำมาซึ่งความรัก หวงแหน ในท้องถิ่นและประเทศชาติ

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) กำหนดจัดค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ให้แก่เยาวชนจำนวนกว่า 500 คน ใน 5 โรงเรียนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วเมื่อวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2562 ให้แก่โรงเรียนบ้านนา ตำบลกำปง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 145 คน ส่วนโรงเรียนบ้านหนองนกเขียนสามัคคี ตำบลภูหลวง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา และโรงเรียนบ้านโคกสำราญ ตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จะเข้าร่วมกิจกรรมระหว่างวันที่ 25-26 เมษายน 2562 จำนวน 2 วัน 1 คืน จำนวน 120 คน โรงเรียนนาถ่อนพัฒนา ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จะเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 15-17 พฤษภาคม 2562 และโรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นโรงเรียนการศึกษาของเด็กพิเศษ จะเข้าร่วมกิจกรรมระหว่างวันที่ 13-14 มิถุนายน 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริตามโครงการ อพ.สธ. ภายใต้การดำเนินงานตามกรอบการดำเนินงานตามแผนแม่บท อพ.สธ ระยะ 5 ปีที่หก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564) เพื่อเปิดโอกาสให้โรงเรียนและเยาวชนได้เรียนรู้และเข้าใจระบบนิเวศของป่าทั้งระบบ ผ่านการเรียนรู้จากปัญหาจริงจากสิ่งแวดล้อมที่ยังคงความเป็นธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนตระนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะนำมาซึ่งความรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นและประเทศชาติ รวมทั้งเพื่อเปิดโอกาสให้กับนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ให้มีโอกาสในการศึกษาที่เสมอภาคและเท่าเทียมกัน

"...วว. เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ดำเนินงานสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามโครงการ อพ.สธ. จำนวน 6 กิจกรรม ดำเนินงานโดยสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ กิจกรรมปกปักทรัพยากร กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร และกิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร ในปีงบประมาณ 2562 ได้จัดค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมแผนแม่บท อพ.สธ. หรือเรียกสั้นๆ ว่า "ค่าย อพ.สธ." ให้แก่โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ยังไม่เคยมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกับทางสถานีฯ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้โรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาร่วมศึกษาวิทยาศาสตร์และธรรมชาตินอกห้องเรียน โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด อันเป็นการปลูกฝังการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชน เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เกิดแนวคิดริเริ่มในการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนำมาสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ อันจะเกิดประโยชน์ต่อมวลรวมและการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไป นอกจากนี้การจัดค่าย อพ.สธ. ยังเป็นการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ในเป้าหมายที่ 4 ว่าด้วยการศึกษาที่มีคุณภาพ เป็นการสร้างหลักประกันว่าให้การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีพแก่ทุกๆ คน..." ผู้ว่าการ วว. กล่าว

สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ตั้งอยู่ที่ ตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เป็นหน่วยงานหนึ่งของ วว. เป็นสถานที่ที่มีความพร้อม มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการให้บริการค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่เยาวชนของประเทศมาอย่างยาวนาน มีพื้นที่สำหรับการศึกษาวิจัยเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ด้านธรรมชาติวิทยาของป่าเขตร้อนประมาณ 48,800 ไร่ มีระบบนิเวศทางธรรมชาติที่โดดเด่น มีบุคลากร สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก และมีองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา และความหลากหลายทางชีวภาพ นำมาตอบสนองนโยบายในการสร้างเด็กยุคไทยแลนด์ 4.0 ผ่านทางกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้เยาวชน สามารถฝึกฝนทักษะการทำงานร่วมกัน ความคิดสร้างสรรค์ และการสื่อสารที่ดี ผ่านการเรียนรู้จากปัญหาจริงและสิ่งแวดล้อมที่ยังคงความเป็นธรรมชาติ และยังมีความสมบูรณ์แห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกฉียงใต้

นอกจากนี้สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ยังได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล (Man and Biosphere Reserve : MAB) ขององค์การยูเนสโกในปี 2519 และมีการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และแนวทางของ MAB อย่างเคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการวิจัย การให้ความรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น ประสบการณ์ในการจัดค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินมากว่า 15 ปี อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเป็นการสนับสนุน ส่งเสริม และปลูกฝังให้ประชาชนที่มาเข้าค่ายได้เรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่า ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud