รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.8 จากการส่งออกสินค้าที่ชะลอตัวลงเป็นสำคัญ

จันทร์ ๒๙ เมษายน ๒๐๑๙ ๑๖:๐๙
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวประมาณการเศรษฐกิจไทย ณ เดือนเมษายน 2562 ว่า "เศรษฐกิจไทยในปี 2562 คาดว่าจะสามารถขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.3 – 4.3) ชะลอลงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากปัจจัยอุปสงค์จากต่างประเทศที่ชะลอตัวลงเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและปริมาณการค้าโลกที่ชะลอตัวลง และผลกระทบจากนโยบายการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงการตอบโต้จากประเทศต่างๆ ส่งผลให้การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม การส่งออกบริการมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน รวมทั้งได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายระยะเวลามาตรการยกเลิกค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival: VOA) ขณะที่แรงส่งจากโครงการลงทุนของภาครัฐยังคงจำเป็นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามกรอบงบประมาณรายจ่ายลงทุนภาครัฐประจำปีงบประมาณ 2562 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในปีนี้ยังคาดว่าโครงการร่วมลงทุนของภาครัฐและเอกชน (PPP) ในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานยังจะช่วยสนับสนุนให้การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าปีก่อนหน้าอีกด้วย สำหรับการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากรายได้ครัวเรือนนอกภาคเกษตรที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นตามการจ้างที่เพิ่มขึ้น

สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจของไทยยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในส่วนของเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2562 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.4 (โดยมีช่วงประมาณการที่ร้อยละ 0.9 -1.9) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนตามแนวโน้มต้นทุนจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีทิศทางเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งจากการที่สหรัฐฯ ยกเลิกการผ่อนผันมาตรการลงโทษต่อประเทศที่นำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 37.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 6.3 – 7.3 ของ GDP)"

ทั้งนี้ โฆษกกระทรวงการคลัง ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า "ทิศทางเศรษฐกิจไทยในระยะต่อจากนี้ไปจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ ผลกระทบจากนโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมทั้งความผันผวนของตลาดการเงินโลกและอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ ภาครัฐจะมีบทบาทในการพยุงเศรษฐกิจนระยะต่อไปผ่านการใช้จ่ายภายในประเทศ"

เอกสารแนบ

รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2562

1.ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจเศรษฐกิจไทยในปี 2562 คาดว่าจะสามารถขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.3 – 4.3) ชะลอลงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากแรงส่งจากอุปสงค์จากต่างประเทศที่ชะลอตัวลงเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและปริมาณการค้าโลกที่ชะลอตัวลง และนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ รวมถึงการตอบโต้จากประเทศต่างๆ ส่งผลให้การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม การส่งออกบริการมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน รวมทั้งได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายระยะเวลามาตรการยกเลิกค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival: VOA) ส่งผลให้การส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.9 – 2.9) ขณะที่แรงส่งจากโครงการลงทุนของภาครัฐยังคงมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามกรอบงบประมาณรายจ่ายลงทุนภาครัฐประจำปีงบประมาณ 2562 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยคาดว่าการบริโภคและการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.5 – 2.5) และร้อยละ 4.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.1 – 5.1) ตามลำดับ

นอกจากนี้ ในปีนี้ยังคาดว่าโครงการร่วมลงทุนของภาครัฐและเอกชน (PPP) ในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ยังจะช่วยสนับสนุนให้การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าปีก่อนหน้าอีกด้วย โดยคาดว่าการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 4.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.6 – 4.6) สำหรับการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.7 – 4.7) โดยได้รับแรงสนับสนุนจากรายได้ครัวเรือนนอกภาคเกษตรที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นตามการจ้างที่เพิ่มขึ้น สำหรับการนำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.9 – 3.9) ชะลอลงจากปีก่อนหน้าตามการส่งออกสินค้าและการอุปโภคบริโภคภายในประเทศที่ชะลอตัวลง

1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2562 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.9 – 1.9) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนตามแนวโน้มต้นทุนจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีทิศทางเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งจากการที่สหรัฐฯ ยุติการยกเว้นมาตรการลงโทษตอ่ประเทศที่นำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นไม่มากนัก สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศคาดว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 37.8 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 6.3 – 7.3 ของ GDP) เนื่องจากดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุลที่ 24.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามมูลค่าสินค้านำเข้าที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าส่งออก โดยคาดว่ามูลค่านำเข้าสินค้าในปี 2561 จะขยายตัวร้อยละ 3.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 – 4.0) ขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.9 – 3.9)

สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3223

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง