พีบีไอซี มธ. ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาอินเดียศึกษา คนแรกของประเทศ แด่ พระครูภาวนาวิริยวัฒน์

พุธ ๒๒ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๑๐:๔๓
- พระอาจารย์อารยวังโส ผู้ริเริ่มวันมาฆบูชาโลก กับบทบาทการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย – อินเดีย รอบด้าน

วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ (Pridi Banomyong International College) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาอินเดียศึกษา ครั้งแรกในประเทศไทย แด่พระครูภาวนาวิริยวัฒน์ (พระอาจารย์อารยวังโส) ผู้ที่มีบทบาทพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทย – อินเดีย ทั้งด้านศาสนา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการศึกษา อาทิ การฟื้นฟูวัดเวฬุวัณมหาวิหาร นครราชคฤห์ ประเทศอินเดีย ศาสนสถานสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก และนำมาซึ่งการสร้างอาชีพให้แก่ประชาชนในบริเวณศาสนสถานดังกล่าว การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระดับประชาชน (People to people exchange) รวมถึงการส่งเสริมการเรียนการสอนด้านอินเดียศึกษา เป็นพระอาจารย์วิทยากรนำนักศึกษาหลักสูตรอินเดียศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ไปศึกษาวิถีชีวิตของชาวอินเดียท้องถิ่น เป็นต้น โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดพิธีดังกล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pbic.tu.ac.thหมายเลขโทรศัพท์ 0-2613-3720 หรือ facebook.com/PBIC.TU

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิธินันท์ วิศเวศวร คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ จัดพิธีถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาอินเดียศึกษา ประจำปี 2560 แด่ พระครูภาวนาวิริยวัฒน์ (พระอาจารย์อารยวังโส) จากการที่วิทยาลัยเล็งเห็นบทบาทของพระอาจารย์อารยวังโส ในด้านการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย – อินเดีย ในหลากหลายมิติอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษา นับเป็นการอุทิศตนต่อการสร้างคุณประโยชน์ต่อทั้งประเทศไทยและอินเดีย ที่ควรค่าแก่การได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ

ผศ. ดร. นิธินันท์ กล่าวเพิ่ม พระอาจารย์อารยวังโส มีบทบาทเป็นผู้ผลักดันวันมาฆบูชาโลก โดยการเข้าไปฟื้นฟูวัดเวฬุวัณมหาวิหาร นครราชคฤห์ ประเทศอินเดีย ศาสนสถานสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก ที่เป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ "จาตุรงคสันนิบาต" ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือวันมาฆบูชา การเข้าไปบูรณะพระอารามดังกล่าว เปรียบเสมือนการฟื้นฟูบทบาททางพุทธศาสนาให้กลับมาสู่จิตใจชาวพุทธในชมพูทวีปอีกครั้ง อีกทั้งเป็นการสร้างอาชีพให้แก่ประชาชนชาวอินเดียที่อยู่อาศัยในบริเวณวัดเวฬุวัณ ไม่ว่าจะเป็น การค้าขาย รวมถึงให้บริการด้านการท่องเที่ยวแก่ชาวพุทธทั่วโลกที่เดินทางมาแสวงบุญในบริเวณพระอาราม ทำให้ประชาชน ไปจนถึงภาครัฐของอินเดีย ยกย่องพระอาจารย์อารยวังโสให้เป็น "บุคคลที่ชาวพุทธในอินเดียเคารพนับถือ" จะเห็นว่าบทบาททางด้านการผลักดันวันมาฆบูชาโลก และการพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณพระอารามทำให้พระอาจารย์อารยวังโสกลายเป็นคนไทยที่มีบทบาทขับเคลื่อนความสัมพันธ์ไทย – อินเดีย ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

นอกจากบทบาทด้านการฟื้นฟูศาสนสถานสำคัญของโลกในประเทศอินเดียแล้ว พระอาจารย์อารยวังโสยังเป็นผู้ผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระดับประชาชน (People to people exchange) จากการที่คนไทยและอินเดีย มีการไปมาหาสู่กันมากขึ้น ทั้งชาวพุทธไทยที่ศรัทธาในการไปแสวงบุญถึงดินแดนชมพูทวีปอันศักดิ์สิทธ์ และชาวอินเดียที่รู้จักประเทศไทยมากขึ้น ในฐานะประเทศที่รับอิทธิพลทางด้านศาสนา และวัฒนธรรมมาจากอินเดีย ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและอินเดียในระดับประชาชน มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น อีกทั้งส่งผลดีต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ในระดับประเทศ สำหรับบทบาททางด้านการศึกษา พระอาจารย์อารยวังโสยังเป็นผู้ผลักดันให้คนไทยมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับอินเดียมากขึ้น โดยเป็นองค์ที่ปรึกษาศูนย์อินเดียศึกษา พ.ศ. 2553 – 2559 เป็นพระอาจารย์วิทยากรนำนักศึกษาหลักสูตรอินเดียศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ไปศึกษาวิถีชีวิตของชาวอินเดียท้องถิ่น เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรม อีกทั้งได้ศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญประเทศอินเดียโดยตรง

"ปัจจุบัน วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มธ. ได้ยกระดับหลักสูตรอินเดียศึกษาให้มีคุณภาพและมีความเป็นสากลยิ่งขึ้น จากความร่วมมือกันของหลายภาคส่วน ทั้งรัฐบาลอินเดีย สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย ที่มีส่วนช่วยพัฒนาหลักสูตรอินเดียศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ทั้งการสนับสนุนบุคลากรชาวอินเดียเป็นอาจารย์หลักสูตรอินเดียศึกษา การผลักดันความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในอินเดีย รวมถึงพระอาจารย์อารยวังโส มีบทบาทในด้านการเป็นองค์ที่ปรึกษาศูนย์อินเดียศึกษา และเป็นวิทยากรนำนักศึกษาหลักสูตรอินเดียศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ไปศึกษาวิถีชีวิตของชาวอินเดียท้องถิ่น ถึงประเทศอินเดีย จึงเป็นที่มาของการเสนอชื่อพระอาจารย์อารยวังโส ให้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปี 2560 จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป" ผศ. ดร. นิธินันท์ กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ พิธีถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาอินเดียศึกษา ดังกล่าวถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสะท้อนบทบาทการสนับสนุนความสัมพันธ์ไทย – อินเดีย อย่างรอบด้าน ของพระอาจารย์อารยวังโส อีกทั้งเป็นคุณประโยชน์ต่อหลักสูตรอินเดียศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ได้จัดพิธีดังกล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pbic.tu.ac.thหมายเลขโทรศัพท์ 0-2613-3720 หรือ facebook.com/PBIC.TU

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง