CLMV ยังเติบโตบนพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดี แต่เผชิญความเสี่ยงรายประเทศและการชะลอตัวของจีน

พุธ ๑๙ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๗:๒๔
เศรษฐกิจซีแอลเอ็มวียังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ราว 6-7% ในปี 2019 ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเด็นสงครามการค้า อย่างไรก็ดี อุปสงค์จากต่างประเทศต่อกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวียังคงอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากมูลค่าการส่งออก เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ และภาคการท่องเที่ยวที่ยังเติบโตได้ดี โดยในช่วงสองเดือนแรกของปี 2019 การส่งออกรวมของซีแอลเอ็มวีขยายตัว 5%YOY โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศที่มีข้อตกลงการค้าเสรีและกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้า ขณะเดียวกัน ภาครัฐได้ลงทุนต่อเนื่องเพื่อยกระดับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทั้งจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ ๆ นอกจากนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้กลุ่มชนชั้นกลางขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนภาคการบริโภคครัวเรือนต่อไป อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงหลักต่อเศรษฐกิจซีแอลเอ็มวีในระยะข้างหน้ามีมากขึ้น ซึ่งได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง และปัจจัยเสี่ยงรายประเทศ ได้แก่ การเพิกถอน EBA จากสหภาพยุโรปสำหรับกัมพูชาและเมียนมา ความเปราะบางทางเศรษฐกิจต่อความเสี่ยงภายนอกโดยเฉพาะในลาวและเมียนมา และการเติบโตอย่างรวดเร็วของสินเชื่อในเวียดนาม ซึ่งอาจก่อหนี้เสียให้กับประเทศ

เศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวชะลอลงที่ 6.8% ในปี 2019 การส่งออกยังคงเติบโตได้ดี โดยเฉพาะการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และจีนภายใต้สิทธิพิเศษทางการค้า ขณะเดียวกัน กัมพูชายังสามารถดึงดูด FDI จากกลุ่มผู้ผลิตที่ต้องการเลี่ยงผลกระทบจากสงครามการค้า นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ที่สำคัญในระยะข้างหน้า ความเสี่ยงในระยะข้างหน้าคือการสูญเสียสิทธิประโยชน์ EBA จากสหภาพยุโรปในปี 2020 เศรษฐกิจลาวจะยังเติบโตต่อเนื่องที่ราว 6.7% ในปี 2019 โดยมีภาคการก่อสร้าง การส่งออกไฟฟ้า และการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก ความท้าทายสำคัญของเศรษฐกิจลาวคือเสถียรภาพเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางจากความเสี่ยงภายนอก เนื่องจากมีระดับ หนี้สาธารณะสูง มีระดับทุนสำรองระหว่างประเทศต่ำ ทั้งยังพึ่งพาเศรษฐกิจจีนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในภาคการลงทุน

เศรษฐกิจเมียนมามีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยโตเพียง 6.4% ใน FY2018/19 จากการส่งออกที่จะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าและความเป็นไปได้ในการสูญเสียสิทธิประโยชน์ EBA จากสหภาพยุโรปประกอบกับวิกฤติโรฮิงญาที่ต่อเนื่องจากปี 2018 สั่นคลอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ แนวโน้มการเติบโตในระยะข้างหน้าจึงต้องพึ่งพาความสำเร็จของนโยบายปฏิรูปทางเศรษฐกิจรอบใหม่

เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตชะลอลงเป็น 6.5% ในปี 2019 และในอีก 5 ปีข้างหน้า FDI และการส่งออกจะยังสามารถรักษาระดับการเติบโตได้ ด้วยแรงหนุนจากข้อตกลงทางการค้า EVFTA และแนวโน้มการย้ายฐานการผลิตจากจีนมายังเวียดนามเพื่อเลี่ยงสงครามการค้า อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจเวียดนามคือเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอลงกว่าที่คาดซึ่งจะส่งผลลบต่อการส่งออก และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสินเชื่อภายในประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๔๙ ไอแบงก์ ลงนาม MOU สินเชื่อสวัสดิการแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำ สำนักงานศาลยุติธรรม กว่า 16,000 คน ทั่วประเทศ
๑๐:๕๔ รวม 4 วิธีที่ช่วยปรับให้รถที่ขับอยู่นุ่มนวลขึ้นเหมือนได้คันใหม่
๑๐:๔๘ ซีพีแรม เปิดตัว FTEC (Food Technology Exchange Center) ศูนย์ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีอาหาร
๑๐:๑๔ iQIYI (อ้ายฉีอี้) เดินหน้ารุกตลาดยกระดับวงการ จัดงาน iQIYI 2025 World Conference เปิดตัวพรีเมียมไลน์อัพกว่า 400
๑๐:๑๓ บล.เกียรตินาคินภัทร แนะ 5 หุ้นนอกคุณภาพ นำโดย Netflix และ Mastercard คว้าโอกาสท่ามกลางตลาดผันผวน
๑๐:๓๖ อบอุ่นมาก! จิม ทอมป์สัน x ซี-นุนิว เสิร์ฟความฟินขั้นสุดกับ Exclusive Lucky Fan Dinner ค่ำคืนสุดพิเศษที่เหล่า ซนซน
๑๐:๕๓ เวียตเจ็ทเสริมฝูงบิน เดินหน้ารุกตลาดญี่ปุ่น ขยายเส้นทางระหว่างประเทศ หนุนแผนเติบโตปี 2568
๑๐:๕๖ เบทาโกร ได้รับการยกระดับ CAC ในระดับสูงสุด ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล ซื่อสัตย์ และโปร่งใส
๐๙:๓๖ เฮ้าส์ สามย่าน จัดสองเทศกาลภาพยนตร์คุณภาพ กับ MOVIEMOV Italian Film Festival 2025 และ European Union Film Festival
๐๙:๑๑ จากไอดอลสู่หมอผี! ซอฮยอนฟาดหนัก เสิร์ฟความเดือด Holy Night: Demon Hunters คนต่อยผี 8 พ.ค.นี้