ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค[1](Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนมิถุนายน 2562

พฤหัส ๒๗ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๔:๕๓
"ดัชนี RSI เดือนมิถุนายน 2562 ชี้แนวโน้มอนาคตเศรษฐกิจที่ยังคงขยายตัวดีทั่วทุกภูมิภาค นำโดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคอุตสาหกรรม

และภาคเกษตร"

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมิถุนายน 2562 ว่า "การประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดล่าสุด จากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ (คาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้า) อยู่ในเกณฑ์ที่ดีทุกภูมิภาค นำโดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตร เป็นสำคัญ"

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศทางการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 71.3 โดยใน 6 เดือนข้างหน้า จะได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคเกษตรและภาคบริการ เนื่องจากจะเข้าสู่ช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตที่สำคัญของจังหวัด ประกอบกับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้กิจการด้านการบริการขยายตัวสูงขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีมาอยู่ที่ 68.1 จากแนวโน้มภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมที่ดี เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูก และมีฝนตกตามฤดูกาล ประกอบกับเป็นผลจากตลาดต่างประเทศยังคงมีความต้องการสินค้าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจากการคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจในประเทศจะดีขึ้นหลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาล ส่งผลให้สถานประกอบการขยายตัว และคาดว่ามีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนือ ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีมาอยู่ที่ 67.7 เนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากแนวโน้มที่ดีของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ โดยภาคอุตสาหกรรมคาดว่าขยายตัวมากขึ้น จากการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากโครงการต่างๆ ของรัฐบาล ทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น สำหรับในภาคบริการ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ประกอบกับมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวในทุกช่วงฤดูกาล และการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคใต้ขยายตัวจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 66.3 โดยจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการลงทุนและภาคเกษตรเป็นหลัก ในส่วนของภาคการลงทุน คาดว่าจะขยายตัวตามนักลงทุนที่มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของภาครัฐเป็นสำคัญ และแนวโน้มการย้ายฐานการลงทุนภาคอุตสาหกรรมมายังไทย ในส่วนของภาคเกษตร คาดว่าปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากนโยบายรัฐที่ช่วยเหลือสนับสนุนยางพาราอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเพิ่มมูลค่าผลผลิตยางพารา สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตก มีแนวโน้มการเติบโตอยู่ที่ 64.9 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการบริการและภาคเกษตรเป็นหลัก โดยคาดว่าภาคบริการจะขยายตัวเนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ส่วนภาคเกษตรคาดว่าจะเป็นผลมาจากการขยายตัวของผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นจากความต้องการของตลาดและการบริโภคอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการดำเนินนโยบาย ด้านการเกษตรต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างต่อเนื่องช่วยให้ด้านการเกษตรดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลาง มีแนวโน้มการเติบโตอยู่ที่ 63.3 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคกาบริการและภาคการจ้างงานเป็นหลัก ในส่วนของธุรกิจภาคการบริการ มีสัญญาณขยายตัวดี เนื่องจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลผ่านโครงการ e-payment คาดว่าจะมีเม็ดเงินกระจ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ในส่วนของภาคการจ้างงาน คาดว่าจะขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล อยู่ที่ระดับ 58.1 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม

[1] หมายเหตุ

ก. ขอขอบคุณอธิบดีกรมบัญชีกลางและสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัด สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ให้ความร่วมมือในการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (RSI)

ข. การอ่านค่าดัชนี RSI (ช่วง 0-100)

ดัชนี > 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ "ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน"

ดัชนี < 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ "ชะลอกว่าปัจจุบัน"

ดัชนี = 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นตาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ "ทรงตัว"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๖ ม.ศรีปทุม เตรียมรับนักศึกษาจีน! คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ SPU ต้อนรับและหารือ สถาบันการศึกษาจีน แผนรับนศ.จีนเข้าเรียน
๑๗:๑๖ UAC รุกพัฒนาโรงไฟฟ้าภูผาม่าน - โรงงานผลิต RDF3 ปั้นรายได้ปีนี้โตมากกว่า 15% - EBITDA แกร่งแตะ 20%
๑๗:๓๐ เอ็กโซติค ฟู้ด (XO) เบอร์ 1 ซอสพริกส่งออกของไทย เฉิดฉายในงาน THAIFEX - ANUGA ASIA 2024
๑๗:๒๐ LVMH ขยายความร่วมมือกับ Alibaba สร้างนิยามใหม่ให้กับประสบการณ์ค้าปลีกผลิตภัณฑ์หรูในจีน
๑๗:๐๐ ศรีวิชัยเวชวิวัฒน์ (VIH) เปิดจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน 4-10 มิ.ย.นี้ ต่อยอดขยายอาณาจักรโรงพยาบาล คาดผู้ถือหุ้นเดิมใช้สิทธิเต็มจำนวน
๑๗:๕๒ กทม. ตั้งเต็นท์ศาลาที่พักผู้โดยสารชั่วคราวหน้า รร. คลองทวีวัฒนา ก่อนของบสร้างถาวรเพิ่มเติม
๑๗:๒๒ กทม. เร่งตรวจสอบแก้ไขฝาบ่อตะแกรงเหล็กท่อร้อยสายทางเท้าถนนเยาวราช
๑๗:๒๕ Q2 รับสร้างบ้านภาคอีสาน-ใต้ทรงกับทรุดพีดีเฮ้าส์ ชูโนว์ฮาว-ประสบการณ์มืออาชีพแก้เกมส์แข่งเดือด
๑๗:๑๙ อีริคสันครองอันดับหนึ่งผู้นำตลาดโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G ในรายงาน Frost Radar(TM) เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน
๑๗:๕๔ IB Club ร่วมกับ FynnCorp ผสานต่อโครงการ Capital Market Case Competition 2024 เคสการแข่งขันตลาดทุนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกันกว่า 270,000