กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดศูนย์ขยายพันธุ์พืช ชมกระบวนการผลิตพืชพันธุ์ดี

ศุกร์ ๒๘ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๐๙:๐๘
นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวหลังจากการนำสื่อมวลชน ลงพื้นที่ในการเยี่ยมชม ศูนย์ขยายพันธ์พืชที่ 1 จ.ชลบุรี ว่า ปัจจุบันปัญหาหนึ่งของการเกษตร คือเกษตรกร

ยังไม่สามารถเข้าถึงพันธุ์ดี และ พันธุ์ดียังมีราคาแพง ในขณะที่พืชหลายชนิดเรายังต้องพึ่งพาการนำเข้า จากต่างประเทศอยู่มาก กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้จัดจัดตั้งศูนย์ขยายพันธุ์พืช 10 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อรองรับการผลิตและขยายพันธุ์พืชในชั้นพันธุ์ขยายและพันธุ์จำหน่ายไปสู่ กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ศูนย์พันธุ์พืชชุมชน Young Smart Farmer แปลงใหญ่ ตลอดจนภาคีเครือข่ายที่มีความต้องการ ผ่านกลไกงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ และยังผลิตรองรับพืชเศรษฐกิจที่มีปัญหาโรคพืชแฝงติดไปกับต้นพันธุ์ เช่น ท่อนมันสำปะหลัง โดยปรับพื้นที่ของ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร 10 ศูนย์ (เดิม ศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ซึ่งมีภารกิจหลักในการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออยู่แล้ว และปรับปรุงให้เป็นศูนย์ขยายพันธุ์พืชให้ครบทุกวิธี ตั้งแต่การผลิตเมล็ดพันธุ์ ต้นพันธุ์ การใช้ท่อนพันธุ์ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อสู่เกษตรกร และจัดตั้งกองขยายพันธุ์พืชในการกำกับดูแล ซึ่งศูนย์ฯ ยังกระจายอยู่ทั่วประเทศ 10 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชจังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช ชลบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา อุดรธานี บุรีรัมย์ มหาสารคาม ลำพูน และพิษณุโลก โดยวิเคราะห์ความต้องการด้านการผลิต ผ่านขับเคลื่อนผ่านกระบวนการงานส่งเสริมการเกษตร มี สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด ทำงานร่วมกัน

นายวิชัย ตู้แก้ว ผู้อำนวยการกองขยายพันธุ์พืช กล่าวเพิ่มเติมว่า กองขยายพันธุ์พืช เริ่มดำเนินงานเมื่อปี 61 โดยได้ปรับปรุงโรงเรือนอนุบาลพันธุ์พืช จำนวน 5 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชจังหวัดชลบุรี, นครราชสีมา, นครศรีธรรมราช, มหาสารคาม และอุดรธานี จัดทำแปลงพันธุ์ไม้ผลยืนต้น พืชผักสมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับ กว่า 102 ชนิด พื้นที่ 838 ไร่ สำหรับเตรียมความพร้อมในการผลิตต้นพันธุ์พืชพันธุ์ดี รวมถึงผลิตแม่พันธุ์พืชพันธุ์ดีในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ สตรอว์เบอร์รี่ สับปะรดผลสด หน่อไม้ฝรั่ง กล้วยหิน อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง และอื่น ๆ รวมกว่า 17 ชนิด มากกว่า 255,000 ต้น รวมทั้งพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานผลิตและขยายพันธุ์พืชให้มีความเข้าใจในการผลิตและขยายพันธุ์พืชตลอด

ทั้งกระบวนการผลิต สำหรับ ปีหน้ามีแผนผลิตพืชพันธุ์ดี กว่า 1 ล้านต้น เช่น ต้นพันธุ์อ้อยโรงงาน

โดยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 100,000 ต้น เพื่อแก้ไขปัญหาโรคใบขาวซึ่งติดไปกับท่อนพันธุ์, ต้นพันธุ์กล้วยหิน

โดยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 200,000 ต้น เพื่อแก้ไขปัญหาโรคเหี่ยวจากแบคทีเรีย, ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง 100,000 ท่อน แก้ไขปัญหาหัวเน่าและใบด่าง , ต้นพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่ โดย เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 100,000 ไหล เพื่อรองรับผลิตสตรอว์เบอร์รี่นอกฤดูในโรงเรือน รวมไปถึงต้นพันธุ์สับปะรดผลสด โดยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 600,000 ต้น เพื่อรองรับการผลิตเพื่อการส่งออก และพืชอื่นๆ ตามความต้องการของพื้นที่อีกกว่า 30 ชนิด.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๗ พลัส พร็อพเพอร์ตี้ เป็นวิทยากรพิเศษ Brokerage and selling strategy ให้กับโครงการปริญญาโทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
๑๖:๓๓ เจโทรฯ จัดงาน JAPAN PREMIUM HOTATE - From HOKKAIDO Ocean to your Table - ชูความสำเร็จ ดันส่งออกหอยเชลล์โฮตาเตะจากญี่ปุ่นมาไทย โตขึ้นเป็น 2.3
๑๖:๑๒ การ์ทเนอร์เผยคาดการณ์ 8 ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ แห่งปี 2567
๑๖:๓๖ KGI จัดพิธีทำบุญบริษัท เปิดสำนักงานแห่งใหม่ที่ One Bangkok ด้วยแนวคิดพื้นที่แห่งความยั่งยืน
๑๖:๓๕ LINE STICKERS เสิร์ฟฟีเจอร์ใหม่แกะกล่อง 'คอมบิเนชัน สติกเกอร์' ส่งสติกเกอร์หลายตัว ได้ในคราวเดียว เพิ่มความสนุกทวีคูณให้การแชท
๑๖:๕๔ 'จุฬาฯ' จับมือ 'ไอ ทู เอ็นเตอร์ไพรซ์' วิจัยและพัฒนาการจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำ
๑๖:๑๙ ประกาศ!! พร้อมจัดงาน PET Expo Thailand 2024
๑๖:๔๓ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัวซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารจัดการพลังงาน เพื่อความยั่งยืน ในงาน Future Energy
๑๖:๕๘ เตรียมสายจูงให้พร้อมแล้วพาน้องแมวน้องหมามาสนุกกันอีกครั้งกับ โรยัล คานิน ในงาน Pet Expo Thailand 2024
๑๕:๒๖ MAGURO หุ้นไอพีโอสุดฮอตจัดประชุมนักวิเคราะห์ ก่อนขาย IPO 34 ล้านหุ้นไตรมาสนี้