ผลการดำเนินธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 3

ศุกร์ ๒๘ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๖:๒๙
นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะแถลงว่า สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

(สบน.) ได้ดำเนินธุรกรรม Bond Switching ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 3 วงเงิน 10,000 ล้านบาท ผ่านผู้จัดจำหน่ายและจัดการการแลกเปลี่ยนพันธบัตรเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องของพันธบัตรส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้และความเสี่ยงของพอร์ตหนี้รัฐบาลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นรวมถึงเป็นการพัฒนารูปแบบในการดำเนินธุรกรรมBond Switching ให้ครอบคลุมเครื่องมือทางการเงินอย่างหลากหลายซึ่งมีนักลงทุนสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก อาทิ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานประกันสังคม ธนาคารพาณิชย์ กองทุนรวม และบริษัทประกัน รวมถึง นักลงทุนสถาบันจากต่างประเทศ โดยมีวงเงินเสนอแลกรวมสูงถึง33,539 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.35 เท่าของวงเงินที่ประกาศ (10,000 ล้านบาท) ทำให้ สบน. สามารถดำเนินการแลกเปลี่ยนพันธบัตรที่ใกล้ครบกำหนด (Source Bond) เป็นพันธบัตรเพื่อทดแทนรุ่นเดิม (Destination Bond) ที่มีอายุยาวขึ้นและเป็นการขยายฐานนักลงทุนสำหรับธุรกรรม Bond Switching โดยมีรายละเอียดของธุรกรรมดังนี้

1) พันธบัตรที่ใกล้ครบกำหนด

รุ่นพันธบัตร อายุคงเหลือ วงเงินการทำธุรกรรม

ILB217A 2 ปี 10,000 ล้านบาท

2)พันธบัตรเพื่อทดแทนรุ่นเดิม

รุ่นพันธบัตร อายุคงเหลือ วงเงินการทำธุรกรรม

1. LB22DA 3 ปี 5 เดือน 130 ล้านบาท

2. LB28DA 9 ปี 5 เดือน 1,500 ล้านบาท

3. LB316A 11 ปี 11 เดือน 2,370 ล้านบาท

4. LB326A 13 ปี 1,000 ล้านบาท

5. LB386A 18 ปี 11 เดือน 5,000 ล้านบาท

รวม 10,000 ล้านบาท

หมายเหตุ: ข้อมูล ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2562 (Settlement Date)

ผลการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตรในครั้งนี้สามารถจำแนกเป็น 4 มิติดังนี้

1) ด้านการบริหารความสมดุลของพอร์ตหนี้:

ลดการกระจุกตัวของหนี้พันธบัตรที่จะครบกำหนดภายในปี 2564 โดยสามารถกระจายเป็นพันธบัตรรุ่นระยะกลางจนถึงระยะยาวให้กับนักลงทุนทุกกลุ่มได้อย่างทั่วถึง

2) ด้านการบริหารความเสี่ยง: สามารถบริหารหนี้และความเสี่ยงของหนี้รัฐบาลและยืดอายุคงเหลือเฉลี่ยของSource

Bond จาก 2 ปี เป็นอายุเฉลี่ย15ปี1เดือน

3) ด้านการเพิ่มสภาพคล่อง: การทำธุรกรรม Bond Switching ได้สร้างสภาพคล่องของพันธบัตรในตลาดรอง

โดยเฉพาะพันธบัตรที่ใช้ในการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (On-the-run Benchmark Bond)จำนวน 3 รุ่น ได้แก่ รุ่นอายุ 10 15 และ 20 ปี

4) ด้านการพัฒนารูปแบบในการดำเนินธุรกรรม Bond Switching: การทำธุรกรรม Bond Switchingในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ใช้พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ(Inflation Linked Bond:ILB)เป็น Source Bondจึงนับเป็นการพัฒนารูปแบบในการดำเนินธุรกรรม

Bond Switching ให้ครอบคลุมเครื่องมือทางการเงินอย่างหลากหลายมากขึ้นรวมทั้งเป็นการขยายฐานนักลงทุนในธุรกรรมดังกล่าว

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง

ผู้จัดจำหน่ายและจัดการการแลกเปลี่ยนพันธบัตร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ขอขอบคุณนักลงทุนทุกท่านเป็นอย่างยิ่งที่มีส่วนช่วยสนับสนุนให้ธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตรในครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยดีและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการตอบรับและความร่วมมือจากท่านในการดำเนินธุรกรรม Bond Switching ต่อไปในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง