แนะสินค้าทางเลือก ทดแทนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเกษตรกรจังหวัดตราด

จันทร์ ๑๙ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๒๐
นายสุชัย กิตตินันทะศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสินค้าเกษตรสำคัญที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด (Top 4) ของจังหวัดตราด ตามแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri – Map) พบว่า ได้แก่ ยางพารา ทุเรียน เงาะ กุ้งขาวแวนนาไม โดยการปลูกยางพาราในพื้นที่มีความเหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง (S1/S2) เกษตรกร ได้ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) เฉลี่ย 1,166 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่มีความเหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N) เกษตรกร ได้ผลตอบแทนสุทธิ เฉลี่ย 194 บาท/ไร่ ทุเรียน พื้นที่ S1/S2 ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 48,267 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่ S3/N ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 46,352 บาท/ไร่ เงาะ พื้นที่ S1/S2 ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 19,768 บาท/ไร่ พื้นที่ S3/N ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 19,673 บาท/ไร่ และกุ้งขาวแวนนาไม ซึ่งไม่มีการจำแนกพื้นที่ความเหมาะสม มีผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 74,503 บาท/ไร่

หากมองถึงการปลูกข้าวในจังหวัดตราด พบว่า มีพื้นที่ S1/S2 ที่เหมาะสำหรับการปลูก 114,233 ไร่ เกษตรกร ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 607 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่ S3/N จำนวน 20,633 ไร่ เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 487 บาท/ไร่ ซึ่งพิจารณาสินค้าทางเลือกเพื่อให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตทดแทนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสม ตาม Agri – Map พบว่า มีสินค้าหลายชนิดที่สามารถพัฒนาให้มีคุณภาพและเพิ่มมูลค่า อาทิ

มะพร้าวน้ำหอม มีต้นทุนการผลิต 5,789 บาท/ไร่/ปี สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 40-60 วัน/รอบ เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ 22,352 บาท/ไร่/ปี (ประมาณ 6 รอบ) ซึ่งมีโครงการ Zoning ของภาครัฐ สนับสนุนต้นพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม และค่าปรับพื้นที่ในการเตรียมดิน ในการปรับเปลี่ยนการผลิตจากนาข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสมปรับเปลี่ยนเป็นยกร่องทำแปลงมะพร้าวน้ำหอม และราคาผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดีเป็นที่ต้องการของตลาดนักท่องเที่ยวที่มาจังหวัดตราด ฟักทอง มีต้นทุนการผลิต 6,860 บาท/ไร่/รุ่น ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 60 วัน/รุ่น ได้ผลตอบแทนสุทธิ 14,667 บาท/ไร่/รุ่น โดยจะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อในแหล่งผลิตต่อเนื่อง

มันเทศ มีต้นทุนการผลิต 10,651 บาท/ไร่/รุ่น ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 90 วัน/รุ่น ผลตอบแทนสุทธิ 13,724 บาท/ไร่/รุ่น พริก มีต้นทุนการผลิต 21,184 บาท/ไร่/รุ่น ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 90 วัน/รุ่น ผลตอบแทนสุทธิ 13,037 บาท/ไร่/รุ่น โดยมันเทศและพริกมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อในแหล่งผลิตและขายปลีกแก่ผู้บริโภคในท้องถิ่น

แตงกวา มีต้นทุนการผลิต 8,282 บาท/ไร่/รุ่น ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 40 วัน/รุ่น ผลตอบแทนสุทธิ 9,941 บาท/ไร่/รุ่น เป็นพืชหลังนาที่ใช้น้ำน้อย ปัจจุบันผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง มีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อในแหล่งผลิต นอกจากนี้ ยังมีการปลูกกาแฟ ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกร่วมในพื้นที่ไม่เหมาะสมของการปลูกยางพาราได้ มีต้นทุนการผลิต 15,818 บาท/ไร่/ปี ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 150 วัน โดยเกษตรกรเก็บเกี่ยวปีละ 1 ครั้ง ได้ผลตอบแทนสุทธิ 20,815 บาท/ไร่/ปี ทั้งนี้ การปลูกกาแฟ ดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก มีแมลงรบกวนน้อย ราคาผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดี ผลผลิตมีการสร้าง แบรนด์กาแฟเพื่อการค้าของดีจังหวัดตราดจึงมีความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง สำหรับท่านที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมข้อมูลพืชทางเลือกในพื้นที่ภาคตะวันออก สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 โทร. 038 351 261 หรืออีเมล [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud