ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุน แถลงข่าวเมื่อวันพุธที่ 11 กันยายน 2562

พุธ ๑๑ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๔:๓๖
"ดัชนีฯ เดือนกันยายน 2562 ลดลงมาอยู่ในโซนทรงตัวเป็นเดือนแรก จากความไม่แน่นอนของทิศทางนโยบายทางการค้าสหรัฐและจีน และภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุน ขณะที่นักลงทุนคาดหวังนโยบายทางการเงินสหรัฐ และนโยบายภาครัฐ"

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำเดือนกันยายน 2562 ว่า "ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงจากเกณฑ์ร้อนแรงมาอยู่ในเกณฑ์ทรงตัว (Neutral) โดยผลสำรวจพบว่าความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศเป็นปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ขณะที่นักลงทุนคาดหวังการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินของธนาคารสหรัฐ เป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นนักลงทุน"

ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำเดือนกันยายน 2562 ได้ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้

- ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (พฤศจิกายน 2562) อยู่ในเกณฑ์ "ทรงตัว" (Neutral) (ช่วงค่าดัชนี 80 - 119) โดยลดลง 21.70% มาอยู่ที่ระดับ 102.74

- ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ลดลงอยู่ใน Zone ทรงตัว (Neutral)

- ดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ใน Zone ร้อนแรง (Bullish)

- ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนรายบุคคลลดลงมาอยู่ใน Zone ซบเซา (Bearish)

- ดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศ ลดลงเล็กน้อยอยู่ใน Zone ทรงตัว (Neutral)

- หมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดพาณิชย์ (COMM)

- หมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (PETRO)

- ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ

- ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ

"ผลสำรวจ ณ เดือนสิงหาคม ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนลดลงค่อนข้างมากมาอยู่ในเกณฑ์ทรงตัว โดย กลุ่มบัญชีนักลงทุนรายบุคคลลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ซบเซา กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ลดลงมากมาอยู่ที่เกณฑ์ทรงตัว กลุ่มสถาบันในประเทศลดลงเล็กน้อยอยู่ที่เกณฑ์ทรงตัวเช่นเดิม ขณะที่กลุ่มนักลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่เกณฑ์ร้อนแรงเช่นเดิม

ในช่วงเดือนสิงหาคม ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับตัวเคลื่อนไหวลดลงค่อนข้างมากจากระดับสูงสุดช่วง 1700 จุดในต้นเดือนเคลื่อนไหวลดลงสลับกับการพักตัวมาอยู่ระดับต่ำสุดของเดือนที่ 1590 จุด ในช่วงกลางเดือน ก่อนฟื้นตัวและทยอยปรับเพิ่มขึ้นมาเคลื่อนไหวในระดับ 1640-1650 จุดในช่วงปลายเดือน โดยทิศทางการลงทุน ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุดคือนโยบายทางการเงินของธนาคารสหรัฐ จากการคาดหวังการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีกในปี 2562 และ 2563 รองลงมาคือนักลงทุนคาดหวังนโยบายภาครัฐ จากการทยอยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และติดตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ที่การประกาศตัวเลขการส่งออกที่ดีกว่าที่คาด อย่างไรก็ตามนักลงทุนมีความกังวลสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากการประกาศตอบโต้เพิ่มอัตราภาษีทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนเป็นปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด รองลงมาคือความกังวลผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน และภาวะเศรษฐกิจในประเทศจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เป็นปัจจัยที่นักลงทุนจับตามอง สำหรับปัจจัยทางเศรษฐกิจโลกที่ต้องติดตามได้แก่ นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ธนาคารกลางของกลุ่มประเทศอียู ที่มีแนวโน้มผ่อนคลายทางการเงินรวมถึงมาตรการ QE จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทิศทางการเจรจาทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ แนวโน้ม Brexit ที่มีกำหนดเส้นตายในวันที่ 31 ต.ค.62 เป็นปัจจัยที่นักลงทุนจับตามอง"

ดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Expectation Index) เดือนกันยายน 2562

"ผลจากดัชนีคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับ 1.50% ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี และอายุ 10 ปีมีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลงในอีก 9 สัปดาห์ข้างหน้านับจากวันที่ทำการสำรวจ (23 ส.ค. 62) เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน"

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Expectation Index) เดือนกันยายน 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

- ดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง. รอบเดือนกันยายนนี้ อยู่ที่ระดับ 44 ลดลงเล็กน้อยจากครั้งที่แล้ว แต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ "ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน (Unchanged)" สะท้อนมุมมองของตลาดที่ว่าการประชุม กนง. ในเดือนกันยายนนี้ จะยังคงดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.50 ต่อไป โดยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลง อัตราเงินเฟ้อที่ยังต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย และ Fund flow จากต่างชาติที่ลดลง เป็นปัจจัยกำหนดที่สำคัญ

- ดัชนีคาดการณ์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 5 ปีและ 10 ปี ในรอบการประชุม กนง. พฤศจิกายน 2562 (ประมาณ 9 สัปดาห์ข้างหน้า) อยู่ที่ระดับ 25 และ 22 ตามลำดับ ลดลงจากครั้งที่แล้ว แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ "ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน (Unchanged)" ซึ่ง Bond yield 5 ปีอยู่ที่ระดับ 1.48% และ Bond yield 10 ปีอยู่ที่ 1.54% ณ วันที่ทำการสำรวจ (23 ส.ค. 62) โดยปัจจัยหนุนสำคัญ ได้แก่ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลกที่มีแนวโน้มลดลง อุปสงค์อุปทานในตลาดตราสารหนี้ และ Fund flow จากต่างชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง