ไอซีดีแอล เผยผลสำรวจ UNESCO ระบุวุฒิบัตร ICDL ขึ้นแท่นเบอร์หนึ่ง ได้รับการยอมรับระดับสากล ใช้เป็นมาตรฐานวัดทักษะดิจิทัลแพร่หลาย 31 ประเทศ

พฤหัส ๒๖ กันยายน ๒๐๑๙ ๐๙:๓๖
ICDL Thailand เผยองค์กร UNESCO ระบุว่าวุฒิบัตรรับรองความสามารถด้านคอมพิวเตอร์สากล หรือ International Computer Drivers Licence (ICDL) เป็นวุฒิบัตรสำคัญและนิยมมากที่สุดที่ใช้วัดความรู้ความสามารถทางดิจิทัลของบุคลากรในกรอบมาตรฐานการทำงานขององค์กรใน 31 ประเทศทั่วโลก

จากรายงาน เรื่อง "กรอบมาตรฐานระดับโลกที่ใช้อ้างอิงด้านทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ตามตัวชี้วัด เฉพาะเรื่อง 4.4.2 (A Global Framework of Reference on Digital Literacy Skills for Indicator 4.4.2") ในปีพ.ศ.2561 ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือที่เรียกย่อๆว่า UNESCO (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization - UNESCO) ซึ่งได้ทำการสำรวจกรอบมาตรฐานการทำงานขององค์กรและตัวชี้วัดทักษะดิจิทัลที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) ทั้งนี้ มีประเทศจากทั่วโลกที่เข้าร่วมการสำรวจมากถึง 47 ประเทศ โดย UNESCO ระบุชัดเจนว่า ในปัจจุบันประเทศต่างๆได้ใช้ ICDL กันอย่างแพร่หลายมากที่เป็นสุดอันดับหนึ่งในจำนวน 31 ประเทศ หรือราวร้อยละ 66 ของประเทศที่ทำการสำรวจทั้งหมด

ดร. ฮิวจ์ส แพททริค โอคอนแนล กรรมการผู้จัดการ ICDL Thailand กล่าวว่า "ปัจจุบันหลักสูตร ICDL ได้รับความเชื่อถือและการยอมรับว่าเป็นผู้นำอันดับหนึ่งเรื่องมาตรฐานที่มีคุณภาพสูงด้านวุฒิบัตรวัดระดับความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ และยังได้รับการลงนามรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการของรัฐบาลไทย และได้รับการรับเลือกและรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ว่ามีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือประเมิน เนื่องจากครอบคลุมทุกสมรรถนะที่มาตรฐานของประเทศไทยกำหนดไว้ และมีระบบการทดสอบออนไลน์ที่มีคุณภาพสูง สามารถประเมินทักษะของแต่ละบุคคลได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ได้ผลทันที รวมทั้งผลที่ได้มีรายละเอียดที่สามารถนำไปวิเคราะห์สมรรถนะจำเป็นด้านต่างๆ ได้อีกด้วย นอกจากนี้ หลักสูตร ICDL ยังได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกสมาคมด้านคอมพิวเตอร์ระดับนานาชาติ และบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ทั่วโลก อีกด้วย"

ICDL Thailand ได้ร่วมเร่งผลักดันการพัฒนาและยกระดับทักษะดิจิทัลของนักเรียน นักศึกษา และบุคลากรไทยในสาขาต่างๆ รวมทั้งผู้ประกอบการในหลากหลายอาชีพ โดย ICDL ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านดิจิทัล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาทักษะในระดับความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) และระดับทักษะดิจิทัลขั้นสูง (Professional Skills) กับองค์กรภาครัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงาน และสมาคมต่างๆ มากมาย ได้แก่ สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย, สมาคมอีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย, สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์, สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย, สมาคมดิจิทัลไทย, สมาคมอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย และสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกาฬสิทธุ์ เป็นต้น

การพัฒนาองค์กรหรือประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำสมัยเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อความสำเร็จ จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรของประเทศอย่างจริงจังและต่อเนื่องให้ รู้จัก เข้าใจ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังต้องพัฒนาการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบจึงจะสามารถขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายไทยแลนด์ 4.0 และ ดิจิทัลไทยแลนด์ ที่มีความก้าวหน้า ประสบความสำเร็จ และส่งผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านดิจิทัลและเป็นศูนย์รวมของการพัฒนากำลังคนดิจิทัลในอาเซียนต่อไป

นางสาวกฤษฏิ์กัญญา กานต์จิรธันย์ กรรมการบริหาร ICDL กล่าวว่า "การยกระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัลของคนไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ อย่างเป็นรูปธรรมและทันท่วงทีนั้น นับเป็นพันธกิจสำคัญของ ICDL และจากความสำเร็จในการที่มาตรฐาน ICDL ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัลให้ประเทศต่างๆได้มีทักษะดิจิทัลในระดับมาตรฐานสากล จนหลายประเทศประสบความสำเร็จสามารถปรับเปลี่ยนก้าวสู่เป็นประเทศในระดับแนวหน้าของโลกในการพัฒนาดิจิทัล อาทิ ไอร์แลนด์ เอสโตเนีย สิงค์โปร์ และ เกาหลีใต้ เป็นต้น ICDL Thailand จึงมุ่งมั่นร่วมเร่งขับเคลื่อนประเทศไทยให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและให้เป็นประเทศชั้นนำด้านดิจิทัลในภูมิภาค"

หลักสูตรของ ICDL ได้มาตรฐานระดับสากล ครอบคลุมเนื้อหาความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ความสามารถการใช้คอมพิวเตอร์ในทุกระดับให้ได้มาตรฐานและคุณภาพที่เหมาะกับการปฏิบัติงาน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทักษะดิจิทัลระดับที่จำเป็นสำหรับกำลังคน (Workforce Digital Skills) และ กลุ่มทักษะดิจิทัลระดับสูง (Professional/Occupational Digital Skills) โดยกลุ่มทักษะดิจิทัลระดับที่จำเป็นสำหรับกำลังคน ประกอบด้วย 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรทักษะดิจิทัลพื้นฐาน หลักสูตรทักษะเพิ่มผลิตภาพในการทำงาน ซึ่งรวมถึงแอปลิเคชั่นต่างๆ เช่น Word Processing, Spreadsheet, Presentation และหลักสูตรเพื่อการปฏิบัติงานที่เหมาะสม

สำหรับกลุ่มทักษะดิจิทัลระดับสูง ประกอบด้วย 5 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรสำหรับสายงานการตลาดและการสื่อสาร หลักสูตรสำหรับสายงานการเงินและการบริหาร หลักสูตรสายงานการออกแบบ หลักสูตรสายงานด้านเทคนิค และ หลักสูตรสำหรับครู อาจารย์ และนักการศึกษา

ปัจจุบัน มีสถาบันการศึกษา วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สมาคม และหน่วยงานต่างๆที่ได้รับอนุมัติให้เป็นศูนย์ทดสอบทักษะดิจิทัลมาตรฐานสากล ICDL กว่า 20 แห่งทั่วประเทศ และได้เพิ่มจำนวนศูนย์ทดสอบมากขึ้นเป็นลำดับ เพื่อให้ทันต่อการพัฒนาและความต้องการกำลังคนดิจิทัลของประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๙ ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๑๗:๕๑ GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๑๗:๒๗ กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๑๗:๒๕ First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๑๗:๐๒ CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๐๓ พ.ค. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๐๓ พ.ค. รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๐๓ พ.ค. กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว