สมาคมประกันวินาศภัยไทยเป็นห่วงเรื่องความรุนแรงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

พุธ ๑๖ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๐:๑๒
มหันตภัยจากภัยพิบัติทางธรรมชาตินับวันจะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ล่าสุด ซูปเปอร์ไต้ฝุ่นฮากิบิส [Super Typhoon Hagibis] ซึ่งเป็น 'โครตพายุ' ไต้ฝุ่นกำลังแรงสุดๆได้เข้าถล่มประเทศญี่ปุ่นในวันเสาร์ที่ 12 ต.ค.62 อย่างสาหัสที่สุดในรอบ 60 ปี

ย้อนหลังไปเมื่อปี พ.ศ. 2511 พายุไต้ฝุ่น ไอดา (Typhoon Ida) หรือไต้ฝุ่นคาโนงาวะ เคยถล่มประเทศญี่ปุ่นจนทำให้กรุงโตเกียว เผชิญกับฝนตกหนัก วัดปริมาณน้ำฝนได้ถึง 371.9 มิลลิเมตรในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง เป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่มในหลายพื้นที่ คร่าชีวิตผู้ประสบภัยจำนวน 1,269 ราย โดยมีมูลค่าความเสียหายในเวลานั้น (เมื่อ 61 ปีที่แล้ว) กว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ

ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของหลายหน่วยงานของประเทศญี่ปุ่นในครั้งนี้ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่ได้วางแผนและเตรียมการ ป้องกันภัย เตือนภัย และอพยพพลเมืองกว่า 500,000 คนไปยังที่พักพิงที่ปลอดภัยในช่วงพายุใหญ่เข้าโจมตี มีการส่งข้อความเตือนภัยให้ประชาชนเฝ้าระวังผ่านมือถือสมาร์ทโฟนกว่า 10 ล้านเครื่อง เป็นการบริหารการจัดการความเสี่ยงที่นานาอารยะประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก จนถึงขณะนี้มีรายงานการสูญเสียชีวิตของประชาชนเพียง 2 รายเท่านั้น ในส่วนของทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายอย่างมากมาย ยังไม่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายได้ แต่เชื่อแน่ว่าค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัยในครั้งนี้จะมีจำนวนที่สูงมากเมื่อได้เห็นสภาพความรุ่นแรงของพายุที่เข้าทำลายอาคารบ้านเรือน รถยนต์ ตลอดจนทรัพย์สินอื่นๆ

นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า จากสถิติข้อมูลความเสียหายในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา ภัยพิบัติทางธรรมชาติมีจำนวนที่สูงเพิ่มขึ้นทุกๆปีโดยเฉพาะในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค

ในปลายปี 2554 ถึงต้นปี 2555 ประเทศไทยก็ประสบปัญหาอุทกภัยครั้งรุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมลฑล เกิดน้ำท่วมหนักในรอบ 70 ปี หากนับจากเหตุการณ์น้ำท่วมใน กทม. เมื่อปี 2485 อุทกภัยในครั้งนั้นสร้างความเสียหายทั้งภาคการเกษตร อุตสาหกรรม เศรษฐกิจและสังคมเป็นอันมาก มีผู้เสียชีวิต 815 ราย สูญหาย 3 ราย ราษฎรเดือนร้อนกว่า 4 ล้านครัวเรือน รวม 13.5 ล้านคน และพื้นที่การเกษตรกว่า 11.2 ล้านไร่ ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท

ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2556 พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน [Super Typhoon Haiyan] ได้เข้าโจมตีประเทศฟิลิปปินส์ ด้วยความเร็วลม 315 กม./ชม. (เฉลี่ยลมใน 1 นาที) ทำให้มีผู้เสียชีวิต 6,195 ราย สูญหาย 1,785 ราย ความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างน้อย 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้มีผลกระทบกับประชาชนกว่า 11 ล้านคนไร้ที่อยู่อาศัย

สำหรับในประเทศไทยนั้น ความแปรปรวนของสภาวะภูมิอากาศในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา ก่อให้เกิดพายุลูกใหญ่ๆในหลายจังหวัดของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นพายุไต้ฝุ่นเกย์ (Gay) พายุโซนร้อนนกเตน (Nock-Ten) พายุไต้ฝุ่นเซินกา (Sengka) พายุไซโคลนปาบึก (Pabuk) พายุโซนร้อนโพดุล (Podul) ซึ่งล้วนสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก เป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสนใจและใส่ใจมากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมและป้องกันภัย ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงภัยต่างๆที่ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่

"ปัจจุบันกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย กรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สิน กรมธรรม์ประกันรถยนต์และกรมธรรม์รูปแบบอื่นๆ ในประเทศไทยได้ให้ความคุ้มครองต่อภัยธรรมชาตินี้ไว้แล้ว ผู้เอาประกันภัยสามารถตรวจสอบกรมธรรม์ ด้วยการสอบถามตัวแทน นายหน้า หรือบริษัทประกันภัยได้ตลอดเวลา เพื่อให้มั่นใจในความคุ้มครองของกรมธรรม์ที่ได้ซื้อไว้ " นายกี่เดช กล่าวในที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๐๓ พ.ค. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๐๓ พ.ค. รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๐๓ พ.ค. กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว