แมนพาวเวอร์กรุ๊ป หนุนแรงงานสายผลิตเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง

อังคาร ๒๒ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๑:๐๒
จากการเปิดเผยถึงแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 2/2562 ที่ผ่านมาของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ระบุว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 100.07 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 8.89 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 ร้อยละ 2.64 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 65.58 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 71.26) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 (ร้อยละ 68.16) อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตยานยนต์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น

ทั้งนี้ ยังระบุอีกว่าแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2562 อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่า การผลิตปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะ อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะมีการผลิตและการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ลดลง ร้อยละ 3.1 และ 7.9 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการ HDD และความต้องการของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ชะลอตัว

ส่วนอุตสาหกรรมรถยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 จะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 520,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 45-50 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 50-55 รถจักรยานยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ประมาณ 480,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

สุธิดา กาญจนกันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย มีมุมมองและความคิดเห็นเกี่ยวกับการสำรวจดังกล่าวว่า แนวโน้มและทิศทางอุตสาหกรรมการผลิตมีอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงที่มีผลสืบเนื่องจากภาวะเศรฐกิจโลกซบเซา ทั้งนี้ จากรายงาน "โรงงานแห่งอนาคต" ของแมนพาวเวอร์

กรุ๊ปซึ่งวิเคราะห์ตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิต กล่าวถึง ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทุกอุตสาหกรรม ซึ่งทางด้านภาคการผลิตจะเป็นอุตสาหกรรมแรกของการเปลี่ยนแปลง ทั้งในแง่ของขนาดและความรวดเร็ว และการเพิ่มขีดความสามารถในแข่งขันทางธุรกิจ ตั้งแต่ผ่านยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมจากรุ่นหนึ่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ถึง 2005 เป็นยุคที่ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สมัยใหม่ได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบอัตโนมัติอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเราอยู่ในช่วงปลายของรุ่นที่สอง ที่มีการการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและมีการนำข้อมูลมาใช้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น และในปีหน้าภาคการผลิตจะเริ่มก้าวเข้าสู่รุ่นที่สามซึ่งเครื่องจักรจะสามารถทำงานด้วยตนเอง รวมถึงการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต

อย่างไรก็ตาม แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ในฐานะที่ปรึกษาตลาดแรงงานเชิงนวัตกรรม เห็นว่าแรงงานในกลุ่มนี้จะต้องมีการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการพัฒนาทักษะ การฝึกอบรมการทำงานซึ่งจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถรองรับกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ นอกจากนี้ บริษัทยังสามารถช่วยบรรเทาความกังวลของพนักงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ได้โดยการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ แม้เทคโนโลยีสมัยใหม่จะทำให้งานบางส่วนปรับลดไป แต่บุคลากรยังสามารถพัฒนาทักษะของตนเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่จากการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ได้

ทางด้านบริษัทและองค์กรต่าง ๆ อาจคิดว่าจะสามารถบริหารจัดการกับความเปลี่ยนแปลงด้วยการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ และกำลังเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล แต่รุ่นต่อไปล้ำหน้ากว่าระบบอัตโนมัติด้วยการใช้ระบบที่เรียนรู้ด้วยตนเองและคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เครื่องจักรไม่ได้ทำงานทางกายภาพเท่านั้นแต่ยังสามารถคิดเองได้โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือเทคโนฯ AI ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะส่งผลกระทบต่อกำลังคนหรือแรงงานอย่างชัดเจน ดังนั้น การฝึกอบรมจะช่วยเพิ่มพูนทักษะที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถทำงานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากรายงาน "มนุษย์ที่เป็นที่ต้องการ" ของแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ระบุว่า ขณะที่พนักงานทั้งหมดต้องเพิ่มพูนทักษะ สำหรับพนักงานร้อยละ 35 ของทั้งหมดจะเป็นการฝึกอบรมระยะสั้นไม่เกินหกเดือนสำหรับการพัฒนาศักยภาพให้เพิ่มสูงขึ้น และอีกร้อยละ 9 ต้องการการฝึกอบรมเป็นเวลา 6 ถึง 12 เดือน ในขณะที่อีกร้อยละ 10 ต้องใช้เวลากว่าหนึ่งปีในการเพิ่มพูนทักษะเพื่อก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงขึ้น พบข้อสรุปว่า การเพิ่มพูนทักษะในระยะสั้นและเน้นเฉพาะจุดเป็นระยะเวลา 6 เดือนหรือน้อยกว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

อย่างไรก็ตาม ระบบดิจิทัลไม่ได้ทำให้งานหมดไป แต่จะมีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อตำแหน่งงานส่วนใหญ่ แม้ว่าแนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรมการผลิตลดลง แต่แรงงานยังคงต้องพัฒนาทักษะต่อไป การเพิ่มพูนทักษะจึงเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่มีใครสามารถคาดเดาอนาคตได้ แต่หากมีทักษะที่เหมาะสม วัฒนธรรมการเรียนรู้ และการมุ่งเน้นช่วยเหลือบุคลากรให้พัฒนาอาชีพของตนสำหรับตำแหน่งงานที่เป็นที่ต้องการ เราจะพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง