เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย ชูศักยภาพ “แพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล” ดันภาคการผลิตชี้ 'ไทย’ ขึ้นแท่นขุมทรัพย์อุตฯ 'สิ่งพิมพ์ – แพคเกจจิ้ง’ ของเอเชีย

พฤหัส ๓๑ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๒๗
- ยอดเข้าชม "แพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล 2019" ทะลุ 19,000! ย้ำภาพเทรดแฟร์ระดับอินเตอร์ฯ ด้านบิ๊กเอกชนกว่า 350 แห่ง ขานรับอุตฯ 4.0 ลุยลงทุนนวัตกรรมส่ง "ผลผลิตไทย สู่ตลาดสากล"

เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย ชูศักยภาพ "แพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล" มหกรรมจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์ และการบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย ที่ช่วยส่งเสริมการขาย และเชื่อมต่อเครือข่ายความร่วมมือภาคธุรกิจ เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถให้กับภาคการผลิตไทย ผลักดันอุตสาหกรรมไทยตามนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ของภาครัฐ ยกระดับศักยภาพทรัพยากรแรงงานไทย สร้างข้อได้เปรียบให้กับผู้ประกอบการไทย ให้ก้าวเข้าสู่วงจรเศรษฐกิจดิจิทัล ตลอดจนบูรณาการทุกภาคส่วนในการผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตท่ามกลางการแข่งขันในตลาดโลก โดยงาน "แพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล 2019" ได้รับผลตอบรับที่ดีจากทั้งผู้เข้าชมในไทย และต่างประเทศ ด้วยสถิติผู้เข้าชมกว่า 19,000 คน จาก 62 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเพิ่มขึ้นราว 15% จากปี 2560 และมียอดผู้เข้าชมจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 30% โดยฐานผู้เข้าชมชาวต่างชาติ มาจาก 5 ประเทศหลัก ได้แก่ อินเดีย สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน และพม่า นอกจากนี้ ยังได้รับความสนใจจากบริษัทชั้นนำผู้จัดแสดงสินค้า ถึง 325 บริษัท จาก 30 ประเทศทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากเดิมราว 10% นำเอานวัตกรรม เทคโนโลยี และโซลูชั่นเพื่ออุตสาหกรรมจำนวนมาก มาจัดแสดงและเปิดตัวครั้งแรกภายในงาน ทั้งนี้ ปัจจุบัน มูลค่าอุตสาหกรรมการพิมพ์มีมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท มีแนวโน้มเติบโตราว 2% และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ 1.8 แสนล้านบาท มีแนวโน้มเติบโตราว 20% จากการเติบโตของธุรกิจอาหารแปรรูปที่มีแนวโน้มการส่งออกสูงถึง 1.79 ล้านล้านบาท ในปี 2580 โดยคาดว่าตลาดการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ทั่วโลก จะมีมูลค่าสูงถึง 8.87 ล้านล้านบาท ในปี 2563 ขณะที่ตลาดในภูมิภาคเอเชียเองมีจะมีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ขยายถึงราว 40% จากสัดส่วนทั่วโลก ในปี 2565 ซึ่งสะท้อนโอกาสก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมไทยที่ต้องเร่งพัฒนาศักยภาพการผลิต รองรับการเติบโตอย่างเท่าทัน

มร.เกอร์นอท ริงลิ่ง กรรมการผู้จัดการ เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย กล่าวว่า การขาย การส่งเสริมธุรกิจ และการเชื่อมต่อเครือข่ายความร่วมมือภาคธุรกิจเป็นหนึ่งในศักยภาพสำคัญของงาน "แพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล" มหกรรมจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์ และการบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย ซึ่งแพลตฟอร์มจัดแสดงดังกล่าว ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางระหว่างผู้จัดจำหน่าย และผู้ซื้อ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในสายงาน ไม่ว่าจะเป็นวิศวกร ช่างผู้เชี่ยวชาญ นักการตลาด นักออกแบบ ฯลฯ เพื่อส่งเสริมโอกาสด้านธุรกิจ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ซึ่งจะช่วยเสริมความสามารถให้กับภาคการผลิตไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดระดับภูมิภาค และสร้างความเชื่อมั่น และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่างมีคุณภาพ

งาน "แพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล 2019" ได้รับผลตอบรับที่ดีจากทั้งผู้เข้าชมในไทย และต่างประเทศ ด้วยสถิติผู้เข้าชมกว่า 19,000 คน จาก 62 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเพิ่มขึ้นราว 15% จากปี 2560 และมียอดผู้เข้าชมจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 30% โดยฐานผู้เข้าชมชาวต่างชาติ มาจาก 5 ประเทศหลัก ได้แก่ อินเดีย สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน และพม่า นอกจากนี้ ยังได้รับความสนใจจากบริษัทชั้นนำผู้จัดแสดงสินค้า ถึง 325 บริษัท จาก 30 ประเทศทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากเดิมราว 10% ตอกย้ำการเป็นมหกรรมชั้นนำของภูมิภาค ที่นำเอานวัตกรรม เทคโนโลยี และโซลูชั่นเพื่ออุตสาหกรรมจำนวนมากมาจัดแสดง พร้อมเปิดตัวครั้งแรกภายในงาน อาทิ เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ตครบวงจร เพื่อการพิมพ์เชิงพาณิชย์ การพิมพ์ฉลาก และบรรจุภัณฑ์ Speedmaster CX 75 ของไฮเดลเบิร์ก เครื่องพิมพ์กราฟิกหน้ากว้างที่สามารถพิมพ์ได้บนทุกวัสดุผิวเรียบ Oce Colorado 1650 ของแคนนอน โซลูชั่นการสั่งพิมพ์ผ่านเว็ปไซต์ เพื่อช่วยเพิ่มอิสระในการใช้งานให้กับภาคการผลิต และนวัตกรรมเครื่องพิมพ์แบบป้อนกระดาษด้วยระบบดิจิทัล HP Indigo ใหม่ล่าสุดจากเอชพี รวมถึงแบรนด์ชั้นนำด้านการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์อื่นๆ

นอกจากนี้ ตัวงานเองยังเปรียบเสมือนแพลตฟอร์มที่ช่วยพัฒนาบุคลากรไทยที่อยู่ในวงการการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมไทยตามนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ของภาครัฐ ยกระดับศักยภาพทรัพยากรแรงงานไทย สร้างข้อได้เปรียบให้กับผู้ประกอบการไทย ให้ก้าวเข้าสู่วงจรเศรษฐกิจดิจิทัล ตลอดจนบูรณาการทุกภาคส่วนในการผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตท่ามกลางการแข่งขันในตลาดโลก ผ่านงานสัมมนากว่า 50 งาน จาก 35 องค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม อาทิ งานประชุมด้านการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์อาเซียน สัมมนาด้านแพ็คเกจจิ้งรักษ์โลก สัมมนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม การประกวดงานพิมพ์แห่งเอเชีย รวมถึงเวิร์กช็อป และสัมมนาเทคนิคเฉพาะทางมากมาย ซึ่งมีจำนวนผู้เข้าร่วมจากหลากหลายสายงานกว่า 1,500 คน มร.เกอร์นอท กล่าวสรุป

ปัจจุบัน มูลค่าอุตสาหกรรมการพิมพ์มีมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท มีแนวโน้มเติบโตราว 2% และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ 1.8 แสนล้านบาท มีแนวโน้มเติบโตราว 20% จากการเติบโตของธุรกิจอาหารแปรรูปที่มีแนวโน้มการส่งออกสูงถึง 1.79 ล้านล้านบาท ในปี 2580 โดยคาดว่าตลาดการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ทั่วโลก จะมีมูลค่าสูงถึง 8.87 ล้านล้านบาท ในปี 2563 ขณะที่ตลาดในภูมิภาคเอเชียเองมีจะมีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ขยายถึงราว 40% จากสัดส่วนทั่วโลก ในปี 2565 ซึ่งสะท้อนโอกาสก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมไทยที่ต้องเร่งพัฒนาศักยภาพการผลิต รองรับการเติบโตอย่างเท่าทัน

ทั้งนี้ แพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล 2021 จะมีกำหนดจัดขึ้นอีกครั้ง ระหว่างวันที่ 22 – 25 กันยายน 2564 ณ ไบเทค บางนา ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pack-print.de และ เฟซบุ๊กแฟนเพจ PackPrintInternational

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน