นวัตกรรมระบบระบายน้ำที่ทำจาก Elastopave ของบีเอเอสเอฟได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติในประเทศไทย

จันทร์ ๐๔ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๗:๓๑
- ระบบระบายน้ำจดสิทธิบัตรจะนำไปทยอยติดตั้งในโครงการชายหาดทั้งหมดทั่วประเทศไทย

- Elastopave ซึ่งน้ำซึมผ่านได้และมีรูพรุนมากทำให้น้ำฝนระบายลงได้อย่างรวดเร็วและเติมน้ำบาดาล

- Elastopave ถูกใช้เพื่อป้องกันน้ำท่วมและปกป้องชายฝั่งเป็นครั้งแรกของทั่วโลก

นวัตกรรมระบบระบายน้ำสำหรับการปกป้องชายหาดซึ่งทำจาก Elastopave(R) Solutions โพลียูรีเทน (PU) ของบีเอเอสเอฟได้รับ "รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ" โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งประเทศไทย สำหรับการมีส่วนร่วมทางสังคม ระบบระบายน้ำที่ได้รับรางวัลนี้ได้ถูกพัฒนาและจดสิทธิบัตรโดย บริษัท ซี แอนด์ แลนด์ คอร์ปอเรชัน จำกัด ซึ่งใช้ Elastopave(R) เป็นครั้งแรกเพื่อป้องกันทรายถูกกัดเซาะเมื่อน้ำฝนตกชุกไหลล้นจากพื้นดินลงสู่ทะเล

ระบบระบายน้ำใหม่นี้ได้ถูกนำไปติดตั้งตามชายฝั่งของหาดพัทยาใต้แล้วในปีนี้ และในปี 2020 จะนำไปติดตั้งที่หาดจอมเทียน ตามด้วยหาดบางแสนในปี 2021 และนำไปทยอยติดตั้งในโครงการชายหาดทั้งหมดทั่วประเทศไทยโดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของประเทศไทย

"การที่ระดับน้ำในอ่าวไทยเพิ่มตัวขึ้นในอัตราสี่มิลลิเมตรต่อปีและมีน้ำท่วมในฤดูมรสุมที่รุนแรงขึ้นทำให้การปกป้องชายฝั่งกลายเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญอันดับแรกสำหรับหลายๆจังหวัดทั่วประเทศไทย" ศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ที่ปรึกษา บริษัทซี แอนด์ แลนด์ คอร์ปอเรชัน จำกัด ได้กล่าว "จากการวิจัยเชิงลึกพร้อมการสนับสนุนจากบีเอเอสเอฟและพันธมิตรฝ่ายเทคนิคของเราซึ่งคือสถาบันวิศวกรรมโยธาและเทคโนโลยีก่อสร้างแห่งเกาหลี (KICT) เราได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบระบายน้ำใหม่เพื่อลดการถูกกัดเซาะของดินและชายหาดตลอดชายฝั่งให้น้อยที่สุด"

ศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ที่ปรึกษา บริษัทซี แอนด์ แลนด์ คอร์ปอเรชัน จำกัด ถ่ายภาพกับนวัตกรรมระบบระบายน้ำสำหรับการปกป้องชายหาดซึ่งทำจาก Elastopave(R) Solutions โพลียูรีเทน (PU) ของบีเอเอสเอฟ

ระบบนี้ประกอบไปด้วยแท่งกรวดที่มีความยาวประมาณ 150 ซม. ซึ่งสอดในแนวตั้งลงใต้ดินยึดด้วย Elastopave(R) ซึ่งน้ำซึมผ่านได้และมีรูพรุนมาก จึงทำให้น้ำฝนที่ตกชุกสามารถซึมและระบายผ่านระบบได้อย่างรวดเร็วลงสู่ทะเล ซึ่งป้องกันน้ำท่วมและเติมน้ำบาดาลได้ในขณะเดียวกัน

"เมื่อเทียบกับระบบป้องกันน้ำท่วมแบบดั้งเดิม ระบบ Elastopave(R) ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นี้มีความง่ายในการใช้งานมากกว่าและประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งมากกว่าโดยใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่าย" คุณลาร์เซน โคลเบิร์ก หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการธุรกิจ อุตสาหกรรมการก่อสร้าง Performance Materials ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของบีเอเอสเอฟ ได้กล่าว "มวลรวมถูกเคลือบด้วยชั้น PU ซึ่งช่วยลดของเสียและการอุดตันของเศษตกค้างซึ่งลดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมและเพิ่มความปลอดภัยสำหรับกิจกรรมทางน้ำที่ชายหาด"

กว่า 50 โครงการทั่วทวีปเอเชียได้รับประโยชน์จาก Elastopave(R) Solutions ที่ทำจาก PU ของบีเอเอสเอฟ โดยได้นำไปใช้ในประเทศเกาหลีสำหรับการใช้งานทางถนนบนทางเท้าเพื่อการระบายน้ำและการดูดซับเสียงรบกวนที่ดียิ่งขึ้น

โดยปกติแล้วจะถูกใช้ในเขตทางเท้า ทางเท้า เลนจักรยาน ที่จอดรถและสนามกอล์ฟเพื่อลดการเกิดน้ำท่วม ภาวะเหิรน้ำและน้ำแข็งบนพื้นผิวจราจร ในเมืองเอิร์ฟสตาดท์ ประเทศเยอรมนี Elastopave(R) ได้ถูกนำไปติดตั้งเมื่อไม่นานมานี้บนทางรถจักรยานขนาด 750 ตารางเมตร ซึ่งทำให้ชาวเมืองได้ใช้รูปแบบการขนส่งที่ปลอดภัยและยั่งยืนมากขึ้น

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PU Solutions ที่น้ำซึมผ่านได้ของบีเอเอสเอฟสามารถหาข้อมูลได้ที่ https://products.basf.com/en/Elastopave.html

เกี่ยวกับแผนก Performance Materials ของ BASF

แผนก Performance Materials ของ BASF ครอบคลุมความรู้ด้านวัสดุทั้งหมดของ BASF ที่เกี่ยวกับนวัตกรรมพลาสติกที่ปรับแต่งได้ มีการใช้งานทั่วโลกในสี่ภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ – การขนส่ง การก่อสร้าง การใช้งานอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค - แผนกมีผลงานที่โดดเด่นในด้านผลิตภัณฑ์และบริการรวมกับความเข้าใจอย่างลึกซึ้งของการแก้ปัญหาระบบแอพลิเคชันที่มุ่งเน้นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญในการสร้างผลกำไรและการเติบโตคือการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าของเราและให้ความสำคัญกับโซลูชั่นอย่างชัดเจน ศักยภาพที่แข็งแกร่งในการวิจัยและพัฒนาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และแอพพลิเคชั่นที่เป็นนวัตกรรม ในปี 2018 แผนก Performance Materials มียอดขายทั่วโลกอยู่ที่ 7.65 พันล้านยูโร

ข้อมูลเพิ่มเติมออนไลน์: www.plastics.basf.com

เกี่ยวกับบีเอเอสเอฟในประเทศไทย

บีเอเอสเอฟดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี โดยมีพนักงานจำนวน 632 คน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2018 และนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ผลิตภัณฑ์โซลูชั่นส์การเกษตร เคมียานยนต์ เคมีเพื่อสุขภาพและโภชนาการ เคมีก่อสร้าง และ แพคเกจจิ้ง ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ และโรงงานผลิตในอีก 3 แห่งทั่วประเทศ ตลอดจนศูนย์ปฏิบัติการวิจัยสำหรับสีพ่นเคลือบและโพลียูรีเธนส์ที่จังหวัดสมุทรปราการ บีเอเอสเอฟมียอดขายในประเทศไทย 514 ล้านยูโรในปี 2018 ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบีเอเอสเอฟในประเทศไทยได้ที่เว็บไซต์ www.basf.com/th/

เกี่ยวกับบีเอเอสเอฟ

สำหรับบีเอเอสเอฟ เราสร้างเคมีเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน เราผสานความสำเร็จทางเศรษฐกิจ ร่วมกับการปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพนักงานจำนวนกว่า 122,000 คนของกลุ่มบริษัทบีเอเอสเอฟทุ่มเททำงานเพื่อความสำเร็จของลูกค้าในแทบทุกอุตสาหกรรมและเกือบทุกประเทศทั่วโลก กลุ่มธุรกิจของ บีเอเอสเอฟประกอบไปด้วย 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเคมีภัณฑ์ กลุ่มอินดัสเทรียลโซลูชั่นส์ กลุ่มเทคโนโลยีพื้นผิววัสดุ กลุ่มเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพและโภชนาการ และกลุ่มโซลูชั่นส์การเกษตร บีเอเอสเอฟมียอดขายมากกว่า 63 พันล้านยูโรในปี 2018 หุ้นของบีเอเอสเอฟได้มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่แฟรงก์เฟิร์ต (BAS) และ American Depositary Receipts หรือ ใบรับฝากหุ้นที่ออกโดยสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา (BASFY) ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบีเอเอสเอฟได้ที่เว็บไซต์ www.basf.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๙ ม.กรุงเทพ เห็นถึงคุณค่าพลังงานที่ยั่งยืนเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสร้างสกิลตรง
๑๖:๐๗ แอลจีเผยผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2024 ผลักดันธุรกิจด้วยนวัตกรรมพร้อมรักษาสมดุลระหว่างธุรกิจหลักและการเติบโตในอนาคตเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ
๑๖:๓๕ ฮั้วฟง รับเบอร์ฯ (HFT) จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.โหวตผ่านฉลุยทุกวาระ
๑๖:๕๒ ซีเอ็ด เปิดสาขาใหม่ที่ตราด! บริจาคหนังสือ 2 แสนบาท หนุนการอ่านในท้องถิ่น
๑๖:๕๙ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ทั้งปีที่อัตราหุ้นละ 0.52
๑๖:๕๙ ปรับการนอนหลับของคุณให้มีคุณภาพดีขึ้นด้วยฟีเจอร์ใน HUAWEI Band 9
๑๖:๓๔ ไฮเออร์ ประเทศไทย โชว์ศักยภาพแกร่ง พาเหรดทัพนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ร่วมจัดแสดงในงาน China Enterprise Product Resources
๑๖:๑๐ สถานทูตอิตาลี เปิดศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าแห่งใหม่ในกรุงเทพ
๑๖:๕๒ CHAYO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ไฟเขียวทุกวาระ
๑๖:๑๓ ผู้บริหารบางจากฯ แชร์แนวทางขับเคลื่อนการรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ 2 เวที